การเมือง
"วราวุธ" เผย พม. ชูนโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร หนุนคนพิการเข้าถึงสิทธิอย่างแท้จริง
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

"วราวุธ" เผย พม. ชู นโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร หนุนคนพิการเข้าถึงสิทธิอย่างแท้จริง หวังพัฒนาศักยภาพ-เพิ่มโอกาสมีงานทำ-มีคุณภาพชีวิตที่ดี-ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี-เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท รังสิต นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “นโยบายการส่งเสริมสิทธิที่เป็นจริงของคนพิการด้านสวัสดิการสังคม การศึกษา สุขภาพ อาชีพ และสิ่งอำนวยความสะดวก” ในพิธีเปิดงานประชุมสัมมนาสาขาประจำจังหวัดและเครือข่ายสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ตอนหนึ่ง ว่า สิทธิที่เป็นจริงของคนพิการ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และการเข้าถึงสิทธิคนพิการ ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญ ครอบคลุมถึงเรื่องการเรียนรู้ตลอดช่วงวัย ที่จะต้องไม่ถูกจำกัดและเลือกปฏิบัติ การรักษาพยาบาล การทำงานเพื่อการเลี้ยงชีพ และการดูแลครอบครัวอย่างมีศักดิ์ศรี และการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ใช้ได้จริง ดังนั้น “สิทธิของคนพิการ” ไม่ควรเป็นเพียงข้อความในกฎหมาย แต่ต้องเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ปี 2567 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปี ที่เด็กไทยเกิดไม่ถึง 5 แสนคน สวนทางกับผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงคนพิการที่เพิ่มสูงขึ้นปีละ 100,000 คน ซึ่งปัจจุบันมีคนพิการกว่า 2.2 ล้านคนทั่วประเทศ หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.39 ของประชากรไทย จากสถานการณ์ดังกล่าว กระทรวง พม. ได้บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ จัดทำ “นโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากร" ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก และ 5 มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ 1) เสริมพลังวัยทำงาน 2) เพิ่มคุณภาพและผลิตภาพของเด็กและเยาวชน 3) สร้างพลังผู้สูงอายุ 4) เพิ่มโอกาสและเสริมสร้างคุณค่าคนพิการ และ 5) สร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความมั่นคงของครอบครัว
ในยุทธศาสตร์การเพิ่มโอกาสและเสริมสร้างคุณค่าคนพิการ นั้น คือหัวใจสำคัญที่ตอบโจทย์เรื่องสิทธิที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็น โอกาสทางการศึกษา และการเพิ่มการจ้างงาน โดยส่งเสริมศักยภาพคนพิการและตลาดแรงงาน พร้อมสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะ , การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ สร้างทัศนคติที่เหมาะสม และสร้างแรงจูงใจ , การป้องกันความพิการทุกช่วงวัย รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพ , การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระ ด้วยการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) , การพัฒนาฐานข้อมูล และ แอปพลิเคชัน (Application)
กระทรวง พม. ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวผ่านโมเดลการฝึกอบรม - การฝึกงานระหว่างกระทรวง พม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และมหาวิทยาลัยเครือข่าย 5 แห่ง เพื่อปลดล็อกศักยภาพและการพัฒนาทักษะอาชีพคนพิการให้ตรงกับความต้องการของตลาด จากเป้าหมาย 300 คน ขณะนี้ มีงานทำแล้ว 252 คน และได้ขยายเครือข่ายความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้คนพิการสามารถเข้าถึงการฝึกอาชีพ ด้วยเป้าหมายรวมกว่า 10,000 คนทั่วประเทศ อีกทั้งได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพคนพิการและผู้ดูแลคนพิการสู่ความยั่งยืน โดยกระทรวง พม. ร่วมกับกระทรวงแรงงาน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพคนพิการและผู้ดูแลอย่างเป็นระบบ ด้วยเป้าหมาย 4,328 คน , การผลิตล่ามภาษามือชุมชน ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ 200 คน , โครงการ Top 10 ผู้นำคนพิการที่สร้างแรงบันดาลใจ , การประกาศอัตราค่าตอบแทนผู้ช่วยคนพิการจากชั่วโมงละ 50 บาท เป็น 60 บาท ซึ่งปัจจุบันมีผู้ช่วยจดแจ้งแล้วกว่า 2,000 คน และให้บริการคนพิการกว่า 8,000 คนทั่วประเทศ , โครงการจัดหากายอุปกรณ์ สำหรับช่วยเหลือคนพิการ 72,000 ชุด เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และ โครงการพัฒนาเท้าเทียมไดนามิก ‘เอสเพส’ (sPace)
กระทรวง พม. ได้มีการจัดตั้งศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ซึ่งได้ช่วยเหลือคนพิการไปแล้วกว่า 30,000 กรณี และศูนย์บริหารการดูแลกลุ่มเปราะบางจากภัยพิบัติ (ศบปภ.) และจัดทำแผนที่ระบุพิกัดของกลุ่มเปราะบางทั้งเด็กเล็ก คนพิการ และผู้สูงอายุ เพื่อการช่วยศึกษาาเหลือดู แลอย่างเหมาะสมและทันท่วงที เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ สำหรับปี 2568 กระทรวง พม. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเครือข่ายคนพิการ ดำเนินการศึกษาและจัดทำมาตรฐานการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมตรวจสอบจริงในพื้นที่โดยผู้ใช้จริง ซึ่งมีการสำรวจแล้ว 2,423 แห่ง ทั่วประเทศ และมีการเชื่อมโยงข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาล กับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้คนพิการที่ถือบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถเปลี่ยนสิทธิการรักษาพยาบาลจากระบบทั่วไปหรือบัตรทอง 30 บาท มาเป็นสิทธิคนพิการ (ท.74) ได้ โดยอัตโนมัติ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น คือสิ่งที่กระทรวง พม. พยายามทำให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิอย่างแท้จริง และจะสามารถช่วยให้คนพิการทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนสังคมไทยของเราอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง
Top 5 ข่าวการเมือง ![]()
- เลขาอารีฯ มอบเครื่องมือทำกิน สร้างทักษะ เพิ่มโอกาส สร้างรายได้ให้แรงงานอิสระที่นครศรีฯ 24 พ.ค. 2568
- "ดร.สุวิทย์" ชี้ "Thailand 4.0" ติดกับดักโครงสร้างเก่า คำถามใหญ่ของการเปลี่ยนผ่านที่ยังไม่เคยถูกถาม 24 พ.ค. 2568
- “ธีรรัตน์” เปิดนิทรรศการ “ศิลปวัฒนธรรมเสริมสร้าง Soft Power ไทยอย่างยั่งยืน” 24 พ.ค. 2568
- "วราวุธ" กำชับ พม.ลพบุรีดูแลยายวัย 80 ปี ช็อก-จำอะไรไม่ได้ หลังลูกสาวเสียชีวิต อยู่คนเดียวบ้านถูกตัดไฟ 24 พ.ค. 2568
- กมธ.ไอซีที วุฒิสภา ชี้ช่อง อสมท.หนีตายก่อนโทรทัศน์ดิจิทัลหมดสัญญาปี 2572 24 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดการเมือง ![]()
นายกฯ เข้าเฝ้าเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แห่งราชรัฐโมนาโก ร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน 20:34 น.
- ‘ประเสริฐ’ คุมเข้มแผนรับมือฝน 4 จังหวัดอีสานตอนล่าง สั่งทุกหน่วยงานบริหารจัดการน้ำรับมือภัยแล้ง-น้ำท่วม ลดความเดือดร้อนประชาชน 19:16 น.
- “ประมวล” เกาะติดปัญหานำเข้า “เนื้อทุเรียนแช่แข็ง” เตรียมประชุม กมธ.พาณิชย์ หาทางชี้แหล่งกำเนิดก่อนถูกสวมสิทธิ์เป็นของไทย 19:13 น.
- "วันนอร์"เตรียมถกอาเซียน ดันแก้กำแพงภาษีสหรัฐฯ – ลุยแก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์-ยาเสพติด 19:00 น.
- "อนุทิน" เปิดประชุมแม่บ้านมหาดไทยสัญจรภาคเหนือ พร้อมขอบคุณแม่บ้านมหาดไทย ผู้เป็น "ลมใต้ปีก" 17:20 น.