การเมือง
สามประสาน “ไทย -อินโด- มาเลย์ ”จับเข่าคุย IMT-GT ครั้งที่ 16 จับมือร่วมกันพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามประเทศ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

สามประสาน “ไทย -อินโด- มาเลย์ ”จับเข่าคุย IMT-GT ครั้งที่ 16 จับมือร่วมกันพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามประเทศ ขณะที่นายกรัฐมนตรี ย้ำไทยเสนอ 3 แนวทางหลักจับมือกันพัฒนาภาคเกษตร นวัตกรรมและการวิจัยฯ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและดิจิทัลแบบไร้รอยต่อ เพื่อก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนและเชื่อมโยง ระหว่างประชาชนของทั้งสามประเทศกว่า 370 ล้านคน
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2568 เวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งตรงกับเวลา 16.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย ณ ห้อง Conference Hall 1 ชั้น 3 ศูนย์ประชุม Kuala Lumpur Convention Center (KLCC) ประเทศมาเลเซีย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย – ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) ครั้งที่ 16 ร่วมกับดาโตะ เซอรี อันวาร์ อิบราฮิม (Dato’ Seri Anwar Ibrahim) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญของถ้อยแถลง ที่นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อที่ประชุมฯ ดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณรัฐบาลมาเลเซียในฐานะเจ้าภาพ และขอบคุณเลขาธิการอาเซียน และธนาคารพัฒนาเอเชีย ที่ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง และเน้นย้ำว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นโอกาสอันเหมาะสมในการยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันของทั้งสามประเทศต่อ “IMT-GT Vision 2036” ที่มุ่งสร้างอนุภูมิภาค ที่มีการบูรณาการ นวัตกรรม ที่ครอบคลุมอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือที่ดำเนินมากว่า 30 ปี นั้นได้ก่อให้เกิดพัฒนาการที่สำคัญด้านความเชื่อมโยง การบูรณาการทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาค
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความยินดีต่อการลงนามกรอบความร่วมมือด้านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันโรค ซึ่งนับเป็นหมุดหมายสำคัญของการพัฒนาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นของทั้งสามประเทศ และแม้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวหลังจากวิกฤตโรคระบาด แต่ภูมิภาคยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิอากาศ และการชะลอตัวของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือภายใต้กรอบ IMT-GT ที่ต้องแข็งแกร่งและเป็นหนึ่งเดียวมากยิ่งขึ้นโดยประเทศไทย ได้เสนอแนวทางความร่วมมือ 3 ประการ
ประการแรก ความร่วมมือในภาคเกษตร โดยเฉพาะสินค้าที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ต่อทั้งสามประเทศ ได้แก่ ยางพาราและปาล์มน้ำมัน ซึ่งไม่เพียงเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของ 3 ประเทศ แต่ยังเกี่ยวโยงในห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาค และระดับโลก ทั้งนี้ขอเสนอให้ประเทศสมาชิกเร่งยกระดับการแปรรูปสินค้าเกษตร ใช้มาตรฐานความยั่งยืนสากลและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ นำไปสู่การเสริมสร้างภาพลักษณ์ของ IMT-GT ในฐานะผู้นำด้านเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทของแต่ละประเทศ
ประการที่สอง การส่งเสริมนวัตกรรมและการวิจัยพัฒนา (R&D) ประเทศไทยเห็นว่า “นวัตกรรม” จะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ในอนาคต ซึ่งต้องเร่งปรับตัวต่อความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรลงทุนในเทคโนโลยีที่รับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะในภาคเกษตร ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจระยะยาวให้กับอนุภูมิภาคได้
ประการที่สาม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและดิจิทัลไร้รอยต่อ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงทั้งทางบก ทางทะเล ทางอากาศ และเครือข่ายดิจิทัลนั้น นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการเติบโต ดึงดูดการลงทุน และบูรณาการความร่วมมือในอนุภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น โดยโครงการภายใต้ IMT-GT ควรสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ 2036 ที่เน้นความครอบคลุม ความยืดหยุ่น และความยั่งยืน
ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า จุดแข็งของ IMT-GT อยู่ที่ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในเป้าหมายร่วมกัน ของทั้งสามประเทศ ความร่วมมือนี้ไม่เพียงแต่เป็นกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นเวทีเพื่อ “สันติภาพ ความมั่งคั่ง และความเป็นหุ้นส่วน” และขอเชิญชวนให้ทุกประเทศเดินหน้าร่วมกันเพื่ออนาคตที่เชื่อมโยงบูรณาการระหว่างกัน มีนวัตกรรม ครอบคลุม และมีความยั่งยืนของประชาชนในอนุภูมิภาค IMT-GT สามประเทศ
นายจิรายุ กล่าวต่อไป อีกว่า ในที่ประชุมฯ สามประเทศ ยังได้รับรองแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 16 แผนงาน IMT-GT (Joint Statement of the 16th IMT-GT Summit) ซึ่งยืนยันในความมุ่งมั่นต่อวิสัยทัศน์ IMT-GT พ.ศ. 2579 (IMT-GT Vision 2036) พร้อมส่งเสริมเศรษฐกิจยั่งยืนผ่านแนวทางเศรษฐกิจ สีเขียว สีน้ำเงิน( เศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรทางทะเลฯ) และเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งการขับเคลื่อนการเติบโตด้วยนวัตกรรมดิจิทัล และการรับมือความท้าทายระดับโลก
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ร่วมยินดีต่อการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันโรคระหว่างกัน อีกด้วย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง
Top 5 ข่าวการเมือง ![]()
- "เผ่าภูมิ" บุกระยองสกัด "ลักลอบน้ำมันเขียว" สั่งสรรพสามิตขันน็อต 5 มาตรการ ใช้ระบบ RTS-AIS คุมเข้ม 28 พ.ค. 2568
- “ชัชวาล ไทยสร้างไทย” อัดรัฐบาลจัดงบฯ 69 เมินคนจน เทงบกระตุ้นเศรษฐกิจจากยอดพีระมิด 28 พ.ค. 2568
- "ภูมิธรรม" ชี้ทหารไทย-กัมพูชา ไม่ได้ตั้งใจรบกัน ขอรอแม่ทัพภาค 2 ประชุม ก่อนสรุปเหตุ 28 พ.ค. 2568
- "พระร่วง มหาศึกสุโขทัย" เปิดตัวสุดอลังการ!! ย้อนรอยประวัติศาสตร์การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย 28 พ.ค. 2568
- นายกฯเสนอร่างพรบ.งบฯปี2569 ที่ประชุมสภาฯพิจารณา 28 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดการเมือง ![]()
นายกฯ เข้าเฝ้าเจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 แห่งราชรัฐโมนาโก ร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน 20:34 น.
- ‘ประเสริฐ’ คุมเข้มแผนรับมือฝน 4 จังหวัดอีสานตอนล่าง สั่งทุกหน่วยงานบริหารจัดการน้ำรับมือภัยแล้ง-น้ำท่วม ลดความเดือดร้อนประชาชน 19:16 น.
- “ประมวล” เกาะติดปัญหานำเข้า “เนื้อทุเรียนแช่แข็ง” เตรียมประชุม กมธ.พาณิชย์ หาทางชี้แหล่งกำเนิดก่อนถูกสวมสิทธิ์เป็นของไทย 19:13 น.
- "วันนอร์"เตรียมถกอาเซียน ดันแก้กำแพงภาษีสหรัฐฯ – ลุยแก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์-ยาเสพติด 19:00 น.
- "อนุทิน" เปิดประชุมแม่บ้านมหาดไทยสัญจรภาคเหนือ พร้อมขอบคุณแม่บ้านมหาดไทย ผู้เป็น "ลมใต้ปีก" 17:20 น.