วันอาทิตย์ ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 11:14 น.

ภูมิภาค

"จุรินทร์" ลงตรวจพื้นที่สร้างสนามบินพังงา

วันเสาร์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 13.45 น.
วันที่ 25  ตุลาคม 2562 นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฎ์  รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่ จ.พังงา เพื่อลงพื้นที่กำกับ และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามสั่งการของนายกรัฐมนตรี  เรื่องการจัดหาสถานที่ก่อสร้างสนามบินภูเก็ตแห่งที่ 2ในพื้นที่ จ.พังงา
 
นายจุรินทร์ฯ และคณะเดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติ จ.ภูเก็ต  โดยมี นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผวจ.ภูเก็ต นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธารา ผวจ.พังงา ร.อ.ต.ธานี ชูช่วง ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต, นางกัตวรรณ  ตันเถียร ส.ส. จ.พังงา, นายบำรุง ปิยนามวานิณย์ นายก อบจ.จ.พังงา ให้การต้อนรับ จากนั้นรับฟังบรรยายสรุปโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานพังงา  ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ที่ห้องประชุมท่าอากาศยานภูเก็ต สรุปเนื้อหาดังนี้ 
จ.พังงา โดย ผวจ.พังงา ได้มีการตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนฯ โครงการก่อสร้างสนามบินจังหวัดพังงา ซึ่งที่ผ่านมาท่าอากาศยานมีหนังสือถึง ผวจ.พังงา เรื่องให้ศึกษาพื้นที่ก่อสร้างสนามบินภูเก็ตแห่งที่ 2 ตามสั่งการของนายกรัฐมนตรี 
 
โดยทาง นางลัชธิดา อาภาพันธุ์ ฝ่ายกลยุทธองค์กรท่าอากาศยานไทย ได้ชี้แจ้งในที่ประชุมว่า ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตในปี 2561 มีจำนวนผู้โดยสาร 18,221,525 คน มีเที่ยวบิน จำนวน 118,280 เที่ยวบิน แต่สนามบินสามารถรองรับนักท่องท่องเที่ยวได้เพียง 12,000,000 คน และในอนาคตมีการคาดการณ์ขีดความสามารถของ ทภก.(ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต) สูงขึ้นตามลำดับ ทำให้มีการศึกษา ขอให้มีการขยายท่าอากาศแห่งในจังหวัดพังงา ซึ่งทางสนามบินภูเก็ตไม่สามารถขยายสนามบิน ทั้งรันเวย์ และส่วนประกอบของท่าอากาศยานฯ จึงได้เลือกพื้นที่ อำเภอโคกกลอย จังหวัดพังงาซึ่งเหมาะสมต่อการดำเนินการของอาศยานฯ นอกจากนี้ยังต้องมีการศึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องอีกหลายด้านเพื่อให้ครอบคลุมปัญหาด้านต่างๆ ซึ่งในโครงการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่จะมีรันเวย์ 2รันเวย์ สามารถรองรับจำนวนเที่ยวบินได้มาก และพื้นที่ที่สามารถขยายความยาวรันเวย์ให้รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้  มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารในเฟสแรกจำนวนประมาณ 22.5 ล้านคนต่อปี งบประมาณ 79,518.12  ล้านบาท  ส่วนเฟส 2 ขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร 25 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณ    1,071.07   ล้านบาท 
 
    นายสมัย  โชติสกุล ผู้ตรวจการกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงเรื่องพื้นที่ ที่ทาง ทอท.เตรียมเสนอ ครม. เพื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนในการดำเนินการ ใช้พื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ จนถึง 7,300ไร่ จำนวน 2 รันเวย์ ระยะห่างของรันเวย์ทั้ง 2 รันเวย์ 1,500 เมตร กว้าง 2,000เมตร ยาว 4,000เมตร รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ มีเที่ยวบินหลายไฟล์ที่ต้องลงสนามบินกระบี่ทั้งที่ผู้โดยสารต้องการเข้าพักอาศัยและท่องเที่ยวที่จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต โดยพื้นที่ก่อสร้างฯ อยู่ที่ หมู่ที่ 11 บ.ท่าปากแหว่ง ต.โคกกลอย จำนวน 5,386ยาวไปถึงบ้านในหยง ต.หล่อยูง จำนวน 2,079 ไร่ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา  นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุม แสดงความเห็นเรื่อง การก่อสร้างให้รถไฟรางเบาจากสนามบินถึงสถานนี ต.ท่าอยู่ ปละรถไฟรางคู่จาก ต.พุนพิน ถึงสถานี ต.ท่าอยู่  ให้สามารถเชื่อมโยงได้อย่างสะดวกต่อนักท่องเที่ยว
 
ซึ่งทางบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน)ได้กล่าวว่าในส่วนของ ทอท. ได้ทำแผนพร้อมเสนอหากรัฐบาลให้เป็นผู้ดำเนินการจะใช้เวลา 2 ปีในการศึกษา 3 ปีในการทำประชาพิจารณ์ 3 ปีในการจัดหาและและเวนคืนที่ดิน (ซึ่ง ทอท.ไม่สามารถเวรคืนเองได้) และ 3-4ปีในการก่อสร้าง และจะสร้างเสร็จในปี 2576
 
ต่อมา นายจุรินทร์ สอบถามในที่ประชุมว่า ใครเป็นผู้ดำเนินการระหว่าง ทอท. หรือ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งปัจจุบันยังไม่แน่ชัดว่าหน่วยไหนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการที่ ซึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับ ครม.จะเห็นชอบอนุมัติให้ ทอท. หรือ ทย. เป็นผู้ดำเนินการ จากนั้น นายถาวร เสนเนียมฯ ได้แจ้งให้ ทอท.ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม เสนอ นายถาวร ฯ เป็นผู้ดำเนินการทำหนังสือสอบถามความชัดเจน
 
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธารา ผวจ.พังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงาหากมีสนามบินก็จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาในด้าน คมนาคม เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ซึ่งการพิจารณาอยู่ในดุลยพินิจ ของคณะทำงาน สำหรับจังหวัดพังงาในด้านคมนาคม มีโครงข่ายการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล
 
เวลา16.30 นายจุรินทร์ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน หมู่ที่ 11 บ้านท่าปากแหว่ง ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา โดยมี นายอำเภอตะกั่วทุ่ง ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ขนส่ง ทางหลวงชนบท แขวงทางหลวง และที่ดินจังหวัดพังงา และประชาชนให้การต้อนรับประมาณ 200 คน
 
จากนั้น นายจุรินทร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ทางกระทรวงคมนาคมต้องพิจรณาหาผู้ดำเนินการระหว่าง ทอท. และ ทย. ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาแตกต่างกันทั้งงบประมาณและระยะเวลาการดำเนินการ หากสนามบินพังงาแล้วเสร็จจะเป็นสนามบินขนาดใหญ่รองรับผู้โดยสารได้มากกว่าท่าอากาศยานภูเก็ตกว่า 1 เท่าตัว

หน้าแรก » ภูมิภาค