วันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 22:38 น.

ภูมิภาค

สถาบันฯสิ่งทอ ผนึก 5 สถาบันการศึกษาลงนาม MOU ยกระดับสิ่งทอแฟชั่นสู่สากล

วันอังคาร ที่ 03 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 17.28 น.
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 3 ธ.ค.62 สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม ร่วมกับ 5 สถาบันการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี จัดพิธีลงนาม MOU ภายใต้ CTE กระชับความร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ เผชิญความท้าทายรองรับการปรับเปลี่ยนในยุคดิจิทัล โดยมี นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นประธาน ในพิธีลงนามความร่วมมือ
 
โดย นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า สถานการณ์ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยสะสม 10 เดือน พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.7 ผลิตภัณฑ์กลุ่มสิ่งทอการส่งออกมี มูลค่า 3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.7 ขณะที่กลุ่มเครื่องนุ่งห่มการส่งออกมีมูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากการยายตัวของตลาดหลก้อย่างสหรัฐฯที่ร้อยละ 8.7 หรือ มีมูลค่ำ 796.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าที่มีการยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ Brassieres,สูท (ของบุรุษหรือเด็กชาย) ,Sweaters และ T-Shirt ตามลำดับ ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล มูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่สถานการณ์สหรัฐฯ ประกาศระงับสิทธิ GSP สำหรับสินค้านำเข้าจากไทยจำนวน 573 รายการ มูลค่า ประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯนั้น เมื่อพิจารณาผลกระทบที่ได้รับโดยพิจารณาจากสถานการณ์ สินค้าส่งออกหลักและแต้มต่อทางภาษี คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มจะได้รับผลกระทบจาก การประกาศระงับสิทธิ GSP ในครั้งนี้เพียงเล็กน้อย
 
ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่หมุนเร็วภายใต้ยุคดิจิทัล ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องฝ่าด่านความท้าทายและต้องเร่งปรับตัว คณะกรรมการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนา มูลนิธิ หน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้หารือเพื่อหาแนวทางพัฒนาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสิ่งทอ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายและสถาบันการศึกษา โดยจัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอและแฟชั่น (Center of Textile & Fashion Excellence : CTE) ภายใต้งบประมาณกองทุนสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พร้อมลงนามความร่วมมือกับ 5 สถาบันการศึกษา ประกอบไปด้วย ศูนย์นวัตกรรมแฟชั่น ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะคหกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ ในทุกมิติให้ สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
 
ด้าน นายชาญชัย สิริเกษมลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า สำหรับศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านสิ่งทอและแฟชั่น หรือ CTE ถือเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ หรือ Co-operative center เพื่อทำงานร่วมกันระหว่าง สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันการศึกษาทั้ง 5 หน่วย มุ่งเน้นพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) วิจัยพัฒนา(R&D) และการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ภายใต้กรอบความร่วมมือ คือ ร่วมกันพัฒนางานวิจัยเพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นไทยร่วมกันจัดกิจกรรม อบรม สัมมนา ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดประสบการณ์ และกระจายความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมสิ่งทอและแนวโน้มการพัฒนาสิ่งทอในอนาคต ร่วมจัดประชุมวิชาการเฉพาะทางด้านสิ่งทอและแฟชั่น ในระดับประเทศและต่างประเทศ พร้อมยกระดับการนำงานวิจัยทางด้านสิ่งทอและแฟชั่นสู่สากล ร่วมกันจัดวารสารทางวิชาการนานาชาติที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น เพื่อเป็นโอกาสให้นิสิตและนักศึกษาทำการตีพิมพ์และ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการสู่สากล และความร่วมมือในการวิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ

หน้าแรก » ภูมิภาค