วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 01:37 น.

ภูมิภาค

จ.เลยโคตรเจ๋ง รับยาคนไข้จิตเวช ใกล้บ้านลดความแออัดให้ผู้ป่วย

วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563, 11.45 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดโครงการลดความแออัด ผู้ป่วยรับยาจิตเวชที่ร้านยาใกล้บ้าน มีนายแพทย์ นพรัตน์ พันธุเศรษฐ์ รองผู้อำนวยการ สปสช.เขต 8 อุดรธานี นายอาทิตย์ เล่าสุอังกูร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ ร่วมพิธีลงนาม

 

 

นายอาทิตย์ เล่าสุอังกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ กล่าวว่า โครงการลดความแออัด ผู้ป่วยรับยาจิตเวชที่ร้านยาใกล้บ้าน ภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อตอบสนองนโยบายกระทรวงสาธารณสุข เป็นการลดความแออัดของผู้มารับบริการในโรงพยาบาล ตลอดจนสามารถลดระยะเวลารอคอยรับยา ถือเป็นภารกิจที่โรงพยาบาลให้ความสำคัญเสมอมา
           

จากนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยรับยาของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลให้มารับยาที่ร้านยาแผนปัจจุบันประเภทที่ 1 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบ จึงได้ริเริ่มโครงการลดความแออัดของหน่วยการให้บริการ โครงการกระจายผู้ป่วยรับยาจิตเวชที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล ภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ โครงการนี้ถือเป็นสถานพยาบาลแห่งที่ 3 ในเขตสุขภาพที่ 8 ที่เริ่มให้บริการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน เบื้องต้น มีร้านยาสมัครร่วมโครงการ 5 ร้าน

 


           

พิธีลงนามการลดความแออัดของผู้รับบริการที่โรงพยาบาล โดยให้ไปรับยาที่ร้านยาได้ เพื่อเป็นการส่งต่อผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง ที่อาการดีไปรับยา ที่ร้านยา จากข้อมูลดำเนินการเราตั้งเป้าว่า กลุ่มคนไข้ที่จะไปรับยาที่ร้านยา  คนไข้โรคจิตเพศ  คนไข้โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคจิตที่เกิดจากสารเสพติด โรงพยาบาลจิตเวชเลย เดือนหนึ่งจะมีคนไข้ ผู้ป่วยนอกประมาณ 3,000 ราย หรือ ประมาณ 300-400 เป็นคนไข้ใหม่ อีกประมาณ 2,500 - 2,600 เป็นคนไข้เก่าทีเรานัดมา ซึ่งนัดมาดูอาการและรับยาซึ่งบางคนก็มาไกล จากต่างอำเภอหลายคนก็อาการดี ส่วนหนึ่งก็ไปรับยาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน อีกส่วนหนึ่งเขามีความต้องการจะมาพบจิตแพทย์ แล้วรับยาที่โรงพยาบาลจิตเวชจึงมีโครงการนี้ขึ้นมา


           

 

จากจำนวนดังกล่าวทำให้ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลนี้นาน เฉลี่ยประมาณ 97 นาที คนมารอก็จะเสียเวลานานมาก เนื่องจากว่าโรงพยาบาลจิตเวชมีอัตรากำลังแพทย์น้อย  คาดว่าถ้ามีการรับยาที่ร้านยาโดยมีการขยายอย่างเต็มพื้นที่ หรือเต็มจังหวัดอาจจะสามารถลดคนไข้มารับที่ OPD ซึ่งเป็นคนไข้เก่าได้ประมาณ 20 % ถ้ามีการบริการได้ดีรวมถึงรับยาที่โรงพยาบาลชุมชนอาจจะได้ถึง 30 % ที่จะสามารถลดคนไข้ที่ OPD ไป ทำให้สามารถไปรับยาที่ใกล้บ้านได้ ประโยชน์จะเกิด 3 อย่าง 1 คนไข้ไม่ต้องเดินทางมาไกล 2 ลดระยะเวลารอคอย 3 เกิดความพึงพอใจที่ได้รับยาที่ร้านยา และได้รับยาที่เหมือนกับที่โรงพยาบาลจิตเวช ในรายละเอียดเราจะเลือกคนไข้ที่อาการดีแล้วให้ไปรับยาที่ร้านยาทุก 1 เดือน โดยที่รับติดต่อกัน 6 ครั้ง 6 เดือน หลัง 6 เดือน ก็มาพบจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลอีกครั้งเพื่อประเมินถ้าอาการดีคงที่ก็สามารถไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านได้ต่ออีก 6 เดือน  ตรงนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยที่ใช้บัตรทอง เพราะได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. ซึ่งเป็นบริการบัตรทองอยู่แล้ว และร้านยาที่เข้าร่วมโครงการก็จะได้ช่วยเหลือเราด้วย ในกรณีใกล้บ้านใกล้ใจก็จะมีการช่วยให้คำแนะนำ ช่วยกำกับดูแล และในการประเมินเบื้องต้น หวังว่าโครงการนี้จะทำให้ประชาชนชาวจังหวัดเลย ได้รับบริการที่ดีขึ้นและใกล้บ้าน ใกล้ใจ และไม่ต้องเดินทางไกลประหยัดค่าเดินทางมีเวลาได้ประกอบอาชีพ

 


           

นายแพทย์ ปรีดา วรหาร นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัดเลย กล่าวว่า สำหรับจังหวัดเลย ได้ดำเนินการโครงการลดความแออัดผู้ป่วยรับยาจิตเวชที่ร้านยาใกล้บ้าน ที่โรงพยาบาลจิตเวชก่อน ซึ่งจะดำเนินการได้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ระยะต่อไปจะขยายที่โรงพยาบาลเลย โดยเฉพาะกลุ่มโรคเรื้อรังโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หอบหืดและผู้ป่วยจิตเวช เพราะจังหวัดเลยเป็นพื้นที่ ที่มีการเดินทางลำบาก เป็นภูเขาการเดินทางมารับยาอาจจะไม่สะดวก ถ้าเราขยายโครงการนี้ไปได้ทั้งหมดครอบคลุมคิดว่าน่าจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ
           

สำหรับผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ทั้งหมดประมาณ 40 % ของคนไข้ ถ้าเราจัดการกับ 40 % นี้ได้ จะทำให้โรงพยาบาลลดความแออัดลงไปได้เยอะภาระงานก็จะน้อยลงผู้รับบริการก็สะดวกมาต้องเดินทาง เพราะการเดินทางก็เสี่ยงต่ออุบัติเหตุมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
           
กลุ่มโรคที่เรานำร่องคือ กลุ่มผู้ป่วยโรคจิตเวชเรื้อรังที่จะต้องรับยาต่อเนื่อง อันนี้จะอำนวยความสะดวกได้เยอะและได้ประโยชน์อย่างมาก
 

 

หน้าแรก » ภูมิภาค