วันเสาร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 18:31 น.

ภูมิภาค

หนุ่มระโนดทิ้งนา 300 ไร่ ให้นกเป็ดหงส์ใช้เป็นที่อยู่อาศัย (คลิป)

วันอาทิตย์ ที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 20.25 น.

 

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า  บนพื้นที่นากว่า 300 ไร่ ที่บ้านพังยาง ต.พังยาง อ.ระโนด จ.สงขลา  นาย นายไวศักดิ์ พลูสวัส อายุ45 ปี บ้านพังยาง. ต.พังยาง.อ.ระโนด  ที่เคยทำนาปลูกข้าวในพื้นที่ของตัวเองมาหลายสิบปี ช่วงระยะหลัง จากนาที่เคยทำได้ปกติ ก็ต้องหยุดทำ เนื่องจาก ทุ่งนาที่ปลูกข้าว ขณะที่กำลังเตรียมแปลงนาเพื่อการเพาะปลูก พบมีฝูงนกเป็ดหงส์ เข้ามาทำรังวางไข่   และมีชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงเข้ามาล่าเพื่อเป็นอาหาร ด้วยความห่วงว่า นกเป็ดหงส์จะหายสูนย์พันธุ์ จึงได้ขึ้นป้ายรอบพื้นที่นาตัวเอง ห้ามล่านก ล่าสัตว์ในพื้นที่  กันเป็นพื้นที่ อนุรักษ์ เป็นที่อยู่อาศัย ของนกเป็ดหงส์และนกน้ำนาชนิด

 


 

โดยนายไวศักดิ์ พลูสวัส อายุ 45 ปี  หนุ่มผู้มีใจอนุรัก์ บอกว่า ตลอดเวลาหลายสิบปี ที่เห็นนกเป็ดหงส์ซึ่งเป็นนกหายาก และมีการถูกล่าเป็นอาหาร จึงได้กันพื้นที่ตัวเอง 300 ไร่  ออกเป็นส่วน แบ่งให้นกเป็ดหงส์ ส่วนหนึ่ง และทำนาส่วนหนึ่ง  แม้รายได้จากการทำนา จะลดไป แต่ด้วยใจอนุรักษ์  และความผูกพันธุ์พับนกเป็ดหงส์ ที่อยู่ด้วยกัน ทุกวันตื่นมาเห็นนกเป็ดหงส์ ออกมาหากินนั่งนับจำนวน จากเดิมมีไม่กี่ตัว ตอนนี้เกือบ3 ตัว ที่ออกมา เห็นนกมีที่อยู่ เห็นนกไม่ถูกล่า ทำให้รู้สึกดีใจ เพราอยากให้นกเป็นหงส์ อยู่คู่ อำเภอระโนด จ.สงขลาตลอดไป

 

 
สำหรับนกเป็ดหงส์ จัดว่าเป็นเป็ดป่าขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีลำตัวประมาณ 76 เซนติเมตร มีจะงอยปากสีดำแถบบนปีกสีบรอนซ์สะดุดตา ตัวผู้มีส่วนหลังสีดำเหลือบสีเขียวแกมฟ้าและสีม่วง ส่วนหัวและลำคอสีขาว มีจุดประสีดำ แถบสีดำรอบด้านหลังคอพาดลงไปถึงด้านข้างของส่วนอก และอีกแถบหนึ่งพาดลงไปด้านข้างของส่วนหาง ขณะบินจะสังเกตเห็นแผ่นหลังส่วนล่างสีออกเทาชัดเจน ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปุ่มเนื้อที่โคนจะงอยปากด้านบนขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมมาก จนเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและลำตัวสีทึมกว่า และไม่มีแถบสีดำสองแถบบนส่วนคอและที่ใกล้หาง ลูกอ่อนที่อายุน้อยลำตัวไม่ค่อยมีสีเหลือบและบริเวณแถบขาวมีสีคล้ำ

 

 
มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ตั้งแต่ ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ ไปทางทิศตะวันออกผ่านแคว้นอัสสัม, พม่า ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้อีกด้วย

 


 

อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ซึ่งเป็นครอบครัวประมาณ 4-10 ตัว หากินโดยการไซ้กินหัวและยอดอ่อน ตลอดจนเมล็ดของพืชน้ำ เมล็ดข้าว แมลงน้ำ และอาจกินสัตว์น้ำอย่างกบ, เขียด และปลาได้ด้วย มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในราวเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนกันยายน ในประเทศอินเดียมีรายงานว่าพบทำรังในรังเก่าของนกแร้ง และในรูบนกำแพงป้อมเก่าๆ และบนหน้าผาดิน วางไข่สีครีมจางๆ จำนวน 7-15 ฟอง

 

 

 

ในประเทศไทย ถือเป็นนกที่หาได้ยากมาก และใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

หน้าแรก » ภูมิภาค