ภูมิภาค
เปิดแล้ว!"เทศกาลคณิตศาสตร์ มข."ครั้งที่ 2
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มข. ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู สำหรับอาเซียน มข. และศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มข. ร่วมกับประเทศรัสเซีย พัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับอนาคต และพัฒนาค่านิยมหลัก (Core Value) สำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ในกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนที่เลือกเข้ามาในกลุ่ม ม.1
เมื่อเวลา 09:00 น.วันที่ 19 ธ.ค.2563 ที่สถาบันวิจัยพัฒนาครูอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและการบริการวิชาการ มข. เป็นประธานเปิดกิจกรรม Mathematics Festival ครั้งที่ 2” (เทศกาลคณิตศาสตร์) โดยมี รศ.ดร.ประพันธ์ศักดิ์ ฉวีราช ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ,ผศ.ดร.ดารณี หอมดี รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ,ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, Assoc. Prof.Ivan Vysotskiy (Moscow Center for Continuous Mathematical EducationHigher School of Economics Math Department ประเทศรัสเซีย),ผู้บริหารสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา สมาคมคณิตศาสตรศึกษาแห่งประเทศไทย มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด,ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ผู้ปกครอง แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน และนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม
ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี ผอ.ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มข.กล่าวว่า ในนาม สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มข. “กิจกรรมMathematics Festival ครั้งที่ 2” ในวันนี้จากความร่วมมืออย่างต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 สำหรับกิจกรรม Mathematics Festivalประจำปี พ.ศ.2563 นี้ โดยกิจกรรม Mathematics Festival จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2562 ซึ่ง กิจกรรม Mathematics Festival ครั้งที่ 1 มีนักเรียนระดับชั้น ม.1 เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 300 คน นอกจากนี้จะยังมีนักศึกษาปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาสาขาคณิตศาสตรศึกษาจำนวน 140 รวม ผู้เข้าร่วมกว่า 440 คน
ผศ.ดร.นฤมล กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดงานนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในรูปแบบของ Mathematics Festival ที่จัด ณ กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย เป็นประจำอย่างต่อเนื่องมากว่า 40 ปี อีกทั้งยังมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับอนาคต และพัฒนาค่านิยมหลัก (Core Value) สำหรับนักศึกษาครูคณิตศาสตร์โดยความร่วมมือระหว่างประเทศไทยในครั้งนี้โดยมี ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู สำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับประเทศรัสเซีย Moscow Center for Continuous Mathematical Education, Higher School of Economics Math Department นำโดย Assoc. Prof.Ivan Vysotskiy พร้อมทั้งงบ สนับสนุนจากสถานทูตรัสเซีย และงบสนับสนุนการจัดกิจกรรมจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผศ.ดร.นฤมล กล่าวด้วยว่าซึ่งกิจกรรม Mathematics Festival ครั้งที่ 2 นี้ประกอบไปด้วย 1) กิจกรรม Math Feast Olympiad โดยใช้ชุดปัญหาที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาจาก ประเทศรัสเซีย ให้นักเรียนได้แก้ปัญหาจำนวน 7 ปัญหา2) กิจกรรมฐานเกมส์ทางคณิตศาสตร์ จำนวน 4 ฐาน และกิจกรรมกระโดดเชือกสามัคคี
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย แขกผู้มีเกียรติ ผู้บริหารและคณาจารย์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รับจำกัดภายใต้สถานการณ์ COVID-19) ,สตาฟผู้จัดกิจกรรมโดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาคณิต ศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 127 คน
ด้านรศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและการบริการวิชาการ มข. กล่าวว่า งานวันนี้เรียกว่า Mathematics Festival จุดสำคัญของการจัดงานคือ ทำให้คณิตศาสตร์มันไม่น่ากลัว โดยทำงานร่วมกับสถานทูตรัสเซีย ซึ่งทางรัฐบาลรัสเซีย ทำงานร่วมกัน ทำมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา สำหรับกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนที่เลือกเข้ามาในกลุ่ม ม.1 ปีที่แล้วมีเด็กเข้าร่วมประมาณ 300 กว่าคน ส่วนปีนี้มีโรคโควิด -19 ก็เลยลดลงมาหน่อย เหลือ 127 คน นี่คือกลุ่มเป้าหมาย
รศ.ดร.ไมตรี กล่าวต่อไปว่าซึ่งในปีนี้เราทำงานร่วมกับสำนักบริหารการศึกษาและพัฒนาวิชาการ โดยเรามองหากลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกันกับเรา ไม่ใช่ว่ามีเด็กจบแค่ ม.6 อันนี้ก็เป็นกลุ่มเป้าหมายอีกอย่างหนึ่ง ที่จะมาเข้าร่วมกิจกรรมMathematics Festival ส่วนอีกกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่ ศูนย์วิจัยครูคณิตศาสตร์ มข.ดึงเข้ามาทำงานร่วมกับสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ศึกษา ก็คือนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ศึกษา ที่ได้ฝึกให้มีการแก้ปัญหาตามสถานการณ์จริง ได้มาร่วมงานทำงานกับเด็กๆ เพราะเขา เมื่อจบจะออกไปเป็นครู ถามว่าเป้าหมายคืออะไร