วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 22:00 น.

ภูมิภาค

เปิดชะตากรรมชาวปากพนังสู้ชีวิต จมน้ำยาวนานกว่า 30 ปี-กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

วันอังคาร ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564, 17.58 น.

วันนี้ (12 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าประชาชนในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช และพื้นที่นอกเขตเทศบาล ฯบางส่วนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องได้รับผลกระทบน้ำทะเลหนุ่นค่อนข้างรุนแรงกว่าทุกปี บางจุดมีระดับน้ำเฉลี่ยสูงกว่า 1 เมตรจนรถทุกชนิดไม่สามารถผ่านไปมาได้ อาคารร้านค้า บ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง ข้าวของได้รับความเสียหายบางส่วน ในขณะที่การประกอบอาชีพค้าขายต้องทำกันในน้ำ
 

ชาวบ้านในตลาดปากพนัง กล่าวว่านับวันสถานการณ์น้ำทะเลหนุนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนชาวบ้านที่ในเขตเทศบาลเมืองปากพนัง และรอบนอกบางส่วนสุดที่จะสู่ทนได้อีกต่อไป  ซึ่งตามปกติน้ำทะเลหนุนทุกปีแต่ในช่วงกว่า 20-30  ปีที่ผ่านมามีปัญหาเรื่องการบริการจัดการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง โดยเฉพาะในช่วงหน้ามรสุมที่มีการปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์น้ำเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำทะเลหนุนรุกเข้าไปในพื้นที่น้ำจืด ทำให้น้ำทะลักเอ่อล้นแม่น้ำปากพนังไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่เขตเทศบาลอย่างหนักโดยมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี

 

“สำหรับน้ำท่วมสูงจะเริ่มส่งผลกระทบในช่วงตั้งแต่แรม 12 ค่ำไปจนถึงขึ้น 5 ค่ำ ในวันนี้แรม 13 ค่ำท่วมสูงขนาดนี้ในวันต่อ ๆ ไปจะท่วมหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ  15 ค่ำ และหากฝนตกหนักจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ชาวปากพนังไม่รู้จะอดทนกับสถานการณ์เช่นนี้ได้อีกสักเท่าไหร่  ตามปกติประตูระบายน้ำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังมี 5 ประตู ประตูหลักคือประตูระบายน้ำอุทุกวิภาชขประสิทธิ์ กั้นแม่น้ำปากพนัง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก ส่วนอีก 4 ประตูเรียกว่า “ปะรตูฉุกเฉิน” กั้นแม่น้ำสายรองตั้งแต่คลองชะอวด-แพรกเมือง ,บ้านหน้าโกศ ,คลองเสือหึง และคลองท่าพญา  โดยการเปิดประตูระบายน้ำจืดออกสู่ทะเลจะระบายออกทางประตูอุทกวิภาชประสิทธิ์ ซึ่งเป็นประตูหลัก จะระบายออกทาง 4 ประตูในช่วงฉุกเฉินจริง ๆ ที่ระบายทางประตูหลักไม่ทันเท่านั้น แต่ในปัจจุบันจะระบายน้ำจืดออกทาง 4 ประตูฉุกเฉินไปเรื่อย  ๆ เมื่อถึงจุดที่ต้องเปิดประตูหลักแรงดันน้ำออกสู่ทะเลจะแรงไม่พอที่จะดันน้ำและตะกอนออกไปในทะเล โดยตามปกติน้ำจืดและตะกอนจะดันไปไกลถึงหัวแหลมตะลุมพุก น้ำจืดจะอยู่ในพื้นที่เต็มอ่าวปากพนัง เมื่อถึงช่วงน้ำทะเลหนุนเปิดประตูหลักน้ำที่รุกเข้าไปเป็นน้ำจืดจะไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ทำการเกษตร”

 

แต่ในปัจจุบันเมื่อเปิดน้ำจืดระบายออกทางประตูฉุกเฉิน 4 ประตู เมื่อจำเป็นต้องเปิดระบายน้ำทางประตูหลัก ความแรงของน้ำไม่เพียงพอน้ำจืดจะถูกดันไปอยู่แค่ในแม่น้ำปากพนังหรือไปถึงแค่ปากอ่าวทำให้น้ำจืดไม่เพียงพอ และตะกอนสะสมทับถมบริเวณปากอ่าวจนตื้นเขินและน้ำทะเลเข้าแทนที่ เมื่อเปิดประตูหลักแทนจะจะดันน้ำจืดเข้ามากลับเป็นเค็มน้ำทะเลรุกเจ้าไปในพื้นที่น้ำจืดเป็นระยะทางยาวกว่า 20 กม. ส่งผลกระทบกับประชาชนที่ประกอบอาชีพทำการเกษตรอย่างมาก และหากปิดประตูหลักน้ำจะเอ่อล้นตลิ่งแม่น้ำปากพนังไหลบ่าท่วมในพื้นที่เขตเทศบาล ฯรวมทั้งรอบนอกอย่างหนัก  กลายเป็นปัญหาทั้งสองด้านจะปิดก็ท่อมจะเปิดน้ำทะเลก็รุกเข้าพื้นที่น้ำจืด เป็นความขัดแย้งรอบใหม่ที่ก่อตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และนับวันใกล้ถึงจุดแตกหัก  

 

ชาวบ้านกล่าวอีกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องปกปิดข้อมูลมาตลอด ทำให้ไม่ได้มีการวางแผนในการบริการจัดการ แก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ กลายเป็นปัญหาที่หมักหมมทับถมหนักมากขึ้นทุกปี จนยากจะแก้ไข คณะกรรมการบริหารการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังในส่วนของข้าราชการทั้งตัวแทนจากกรมชลประทาน จากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง ที่ว่าการอำเภอปากพนัง เขาอ้างหลักทางวิชาการ ในขณะที่เทศบาลเมืองปากพนังและตัวแทนภาคประชาชนใช้ประสบการณ์จริงและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมกันมาหบายชั่วอายุคน  คณะกรรมการทั้ง 2 ส่วนจึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาที่ขัดแย้งกัน การบริการจัดการแก้ปัญหาการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำทั้ง 5 แห่งจึงไม่มีประสิทธิภาพ หากปล่อยสถานการณ์เป็นอยู่อย่างนี้ ตนไม่แน่ใจว่าชาวปากพนังที่ต้องสู้ทนจมน้ำหนักทุกปีทั้งในช่วงหน้ามรสุมที่น้ำท่วมทุกปีอยู่แล้ว และในช่วงน้ำทะเลหนุน รวมแล้วชาวปากพนังต้องสู้ชะตากรรมจมน้ำปีละ 3-4 เดือน และคงจะสุดทนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านและเรียกร้องความช่วยเหลือครั้งใหญ่ในอีกไม่นานนี้อย่างแน่นอน.

หน้าแรก » ภูมิภาค