วันศุกร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 12:15 น.

ภูมิภาค

"สถาบันฯครูสำหรับอาเซียน มข."ติวเข้ม! ผู้บริหารสถานศึกษา-ศึกษานิเทศก์ และครูที่ใช้นวัตกรรมทั่วภูมิภาคของไทย

วันอาทิตย์ ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566, 10.25 น.

9 ปีต่อเนื่อง สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ร่วมกับมูลนิธิพุทธรักษาศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์และมูลนิธิศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด สร้างเครือข่ายความร่วมมือ สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมมือพัฒนาโรงเรียน รวมทั้งพัฒนาโรงเรียน ในโครงการให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาวิชาชีพครู โดยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด(TLSOA)
     

 

เมื่อเวลา 08.30 นวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ที่ห้องประชุม 2301 สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนอาคาร 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนร่วมกับมูลนิธิพุทธรักษา ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ และมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดจัดงานสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาและอบรมเชิงปฏิบัติการศึกษานิเทศก์ ภายใต้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีแบบเปิด (Thailand Lesson study incorporated with Open Approach: TLSOA) โดยพิธีเริ่มในเวลา 08:45 น. รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ กล่าวรายงานและได้รับเกียรติจากศ.ดร.มนค์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดี มข.(ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา)เป็นประธานกล่าวเปิดงานรวมถึงได้ให้เกียรติกล่าวว่า ปาฐกถา พิเศษเรื่องนวัตกรรมทางการศึกษาของสถาบันกับ societal Contributions ให้กับผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูที่ใช้นวัตกรรมทั่วภูมิภาคของไทยที่เดินทางมาร่วมการสัมนา ที่ อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูอาเซียน และผู้เข้าร่วมงานทางออนไลน์จำนวนกว่า 400  คน
   

 

ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการบรรยายพิเศษและการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการต่อการใช้นวัตกรรมและความร่วมมือการพัฒนาวิชาชีพครูการสร้างเครือข่ายและการพัฒนาโรงเรียนในมิติต่างๆจากผู้สู่คุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ในหัวข้อต่างๆอาทิการบรรยายพิเศษเรื่อง 20 ปีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นโดย รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากรรมการสถาบันพระบรมราชชนก และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจนบรรยายพิเศษเรื่องนวัตกรรมชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิดโดยรศ.ดรไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นต้น
   


รศ.ดรไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า วันนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ,ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดี มข.(ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา)เป็นประธานกล่าวเปิดแทนท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และผู้แทนจากช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟุกุอิ ประเทศญี่ปุ่น ที่มาศึกษาดูงาน วิจัยเชิงนวัตกรรมเชิงการศึกษาที่เราทำมา 20 ปี ไปพร้อมกันสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ ซึ่งมีมายาวนาน
   

 

รศ.ดรไมตรี กล่าวอีกว่า ตอนที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดสรรงบประมาณ จากสำนักงบประมาณ ในช่วงปีงบประมาณ 2557 ถึงปี พ.ศ. 2561 แล้วได้มีโครงการที่เรียกว่าโครงการคิดชั้นสูง คณิตศาสตร์เพื่อ ลดความเหลื่อมล้ำ จะได้เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการประมาณร้อยกว่าโรงเรียน ก็เลยมีแนวคิดว่าถ้าโครงการหมดไป จะทำอย่างไหรให้มีความยั่งยืน ถ้าเป็นกระทรวงสั่งแล้วจะไม่ยั่งยืน ถ้าอย่างนั้นคุณคิดว่าชวนท้าทายดูบ้าง ให้ผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ที่ทำงานร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียน อย่างเช่นศึกษานิเทศก์ รวมตัวกันตั้งชมรม คิดว่าถ้าเขาทำด้วยใจของเขาเอง อันนี้จะยั่งยืน  จึงเป็นที่มาของการสัมมนา อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ต้องเป็นการสัมมนาที่แบบพูดคุยกัน กับผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งมีผู้หลักผู้ใหญ่ใน กระทรวง ที่จะมางานมุทิตาจิตในตอนเย็น แล้วก็มีการแชร์ประสบการณ์ในการทำงานด้วย ในภาคปฏิบัติ และก็เป็นการสัมมนาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ก็ประมาณ 10 กว่าปีแล้ว
   

 

รศ.ดรไมตรี กล่าวทิ้งท้ายว่า ซึ่งในตอนนี้ผู้บริหาร สถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ที่มาร่วมพร้อมทั้งเครือข่ายที่ควบคุมทั่วทั้งประเทศ น่าจะเป็นความยั่งยืน ทำให้งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ที่ลงมือทำโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งตอนนี้ก็ขยายผลไปในเขตอาเซียนแล้ว เพื่อให้ยั่งยืนและให้เป็นประโยชน์ และเป็นการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งอาจารย์ Prof. Yutaka Ohara จากสถาบันยุทธศาตร์แห่งชาติประเทศญี่ปุ่น ก็ได้มีโอกาสมาติดตาม ดูงานหรืองานวิจัย ของเราที่ทำมา 20 กว่าปีนี้ จะสามารถร่วมพัฒนากับประเทศญี่ปุ่น เพื่อที่จะเผยแพร่ ไปยังประเทศอื่นได้หรือไม่ เลยได้เชิญอาจารย์มาร่วมงานในวันนี้.

หน้าแรก » ภูมิภาค