ภูมิภาค
สืบสานมโนราห์ นักเรียนประถมโชว์การแสดงสวยสดงดงาม สร้างรายได้ สานต่อวัฒนธรรมปักษ์ใต้
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

เมื่อวันที่ 10 ต.ค.66 ที่โรงเรียนบ้านบางด้วน ต.บางด้วน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตรัง เขต 1 (สพป.) ได้จัดกิจกรรม “โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น” โดยมีนายอาคม บริสุทธิ์ ผอ.โรงเรียนฯ นายพิพัฒน์พงษ์ กาญจนาทิพย์ รองนายอบต.บางด้วน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยภายในกิจกรรม ได้มีการโชว์การแสดง “รำมโนราห์” ของนักเรียนระดับชั้น ป.5 ที่ได้รำการฝึกซ้อมมาอย่างชำนาญ
ซึ่งมีการสวมแต่งองค์ทรงเครื่อง เสื้อผ้า ชุด อย่างครบถ้วน เช่น เครื่องลูกปัด , เทริด และการแสดงโชว์ของนักเรียนระดับชั้น ป.2 และ ป.4 ที่อยู่ในระหว่างการฝึกซ้อมอยู่ ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติ ผู้นำชุน ชาวบ้าน และผู้ปกครอง เข้าร่วมชมการแสดงจำนวนมาก โดยมีคณะดนตรี ทับคู่ ฉิ่ง โหม่ง ปี่ชวา และกรับ จาก “ชมรมมโนราห์ โรงเรียนบ้านบางด้วน” ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านในด้านดนตรีมาร่วมวงแสดง ประกอบกับท่ารำอ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด
โครงการดังกล่าว เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ.2559 “มโนราห์บางด้วน” หรือ “มโนราห์โรงเรียนบ้านบางด้วน” ต.บางด้วน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง อบต.บางด้วน กับโรงเรียนบ้านบางด้วน ภายใต้ฟันเฟืองหลักคือ นายอาคม บริสุทธิ์ ผอ.โรงเรียนฯ จัดโครงการ “ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น”
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ “มโนราห์บางด้วน” ก้าวเข้าสู่ปีที่ 8 แล้ว จนกลายเป็นที่รู้จักในวงสังคม “คนตรัง” อย่างกว้างขวาง รวมทั้งเป็นการปลูกฝังเด็กและเยาวชนระดับชั้นประถมศึกษาให้มีทักษะในการรำมโนราห์ ซึ่งเป็นรากเหง้าวัฒนธรรมปักษ์ใต้ ติดตัวไปอย่างถาวรและการออกโชว์แสดงในงานต่างๆ มาแล้วกว่า 8 รุ่น
ทางโรงเรียนได้คัดเลือกนักเรียนจากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-4 เพื่อนำมาฝึกฝนกับ นางวรรณลี อินทองมาก ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ทางด้านการรำมโนราห์ โดยนักเรียนแต่ละรุ่นอยู่ในการเรียนการสอนประมาณ 50 คน การรำมโนราห์นั้นขั้นแรกจำเป็นจะต้องทำพิธีไหว้ครูมโนราห์ ก่อนจะมีพิธีการผูกข้อมือเพื่อรับตัวเป็นลูกศิษย์ และเริ่มทำการฝึกฝนตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เมื่อนักเรียนที่ฝึกฝนพื้นฐานทักษะการรำได้อย่างชำนาญแล้ว จะฝึกฝนขั้นสูงตามลำดับต่อไป
นายอาคม บริสุทธิ์ ผอ.โรงเรียนบ้านบางด้วน เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ในวันนี้ชื่อของ “มโนราห์บางด้วน” กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และที่น่ายินดีมากที่สุดคือนักเรียนที่จบการศึกษาออกไปแต่ละรุ่นได้มีวิชาความรู้ในการรำมโนราห์ติดตัว สามารถนำไปหาเลี้ยงชีพได้ในอนาคต ที่สำคัญนักเรียนได้สืบสานศิลปะการแสดงวัฒนธรรมพื้นเมืองของชาวใต้ไม่ให้สูญหาย เป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของคณะครูและชาวบ้าน ต.บางด้วน
สำหรับชุดเครื่องแต่งกายในการรำแสดง รวมทั้งเครื่องดนตรีได้รับการสนับสนุนมาจากผู้ใจบุญ หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นำมาพัฒนาโครงการดังกล่าว
ที่ผ่านมาได้นำนักเรียนไปร่วมแสดงตามคำเชิญของหน่วยงานต่างๆ เช่น อบต.บางด้วน ลานวัฒนธรรมเทศบาลนครตรัง โรงเรียนในเครือข่าย ในเทศกาลต่างๆ เช่น งานวันขึ้นบ้านใหม่ งานเทศกาลถือศีลกินเจ รวมทั้งงานบุญครบรอบการจากไปของ แม่ถ้วน หลีกภัย มารดาของ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ที่บ้านวิเศษกุล ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง
อย่างไรก็ตาม ทางโรงเรียนได้มองเห็นว่า ในพื้นที่ ต.บางด้วน มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมการรำมโนราห์ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการสืบทอด จึงเป็นที่มาของโครงการดังกล่าว เพราะใน จ.ตรัง ยังมีบรมครูมโนราห์จริงๆ มิใช่มโนราห์ในตำนาน จนไม่อยากให้คำกล่าวขานที่มีมาตั้งแต่อดีตว่า “มาแต่ตรัง ไม่หนังก็โนราห์” สูญหาย หรือดับสิ้นไปจนเด็กรุ่นหลังมองไม่เห็นความสำคัญ
ขณะที่ ด.ญ.เนตชนก กังแฮ อายุ 11 ปี นักเรียนระดับชั้น ป.5 เป็นหนึ่งในนักเรียนที่รำมโนราห์ กล่าวความรู้สึกว่า ภูมิใจ และ ดีใจที่ได้เข้าร่วมในการรำมโนราห์ เรากลับได้ความสามารถจากการฝึกฝนการรำมโนราห์ติดตัว รู้สึกโชคดีที่ได้ไปรำแสดงในงานต่างๆ กิจกรรมต่างๆ เช่น งานวัด รำตามโรงเรียน แต่เดิมหนูพอจะมีความรู้พื้นฐานในการรำมโนราห์มาจากที่บ้านบ้าง แต่เมื่อมาได้ “ป้าวรรณลี อินทองมาก” ปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นคุณครูสอนก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้น ความเก่งมากขึ้น โดยหนูเริ่มเข้ารับการฝึกสอนกับทางโรงเรียนมามาเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้ว ตั้งแต่ ป.2 ในคาบวิชา “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ก็อยากจะสืบสานมโนราห์ต่อไปอย่างนี้เรื่อยๆ จึงอยากให้เพื่อนมาฝึกฝนการรำมโนราห์กันเยอะๆ ซึ่งไม่อยาก หากใช้ความตั้งใจและอดทนฝึกฝน
สำหรับ ท่านใดที่สนใจจะติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม จะสนับสนุน หรือนำนักเรียนไปแสดงในงานพิธีต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 093-256-5987 นายอาคม บริสุทธิ์ ผอ.โรงเรียนฯ เบื้องต้นค่าใช้จ่ายในการรับไปแสดง หากใช้ดนตรีสดประกอบการรำแสดงอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาท หากใช้เพียงแผ่นเสียงประกอบจะอยู่ที่ 3,000 บาท แต่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง ซึ่งรายได้ที่ได้รับมาหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วจะมีการแบ่งเป็นค่าตัวให้กับเด็กนักเรียนที่รำมโนราห์ทุกคน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับนักเรียนอีกทางหนึ่งด้วย
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » ภูมิภาค
Top 5 ข่าวภูมิภาค
![]()
- ไม่ประมาท! ปภ.ภูเก็ตสั่งเฝ้าระวังและเฝ้าติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวตลอด 24 ชั่วโมง 4 ก.ค. 2568
- รอง ผบ.ทสส.ติดตามผลการปฏิบัติงาน ความคืบหน้าโครงการขุดลอกแม่น้ำกก แม่น้ำสาย 4 ก.ค. 2568
- เปิดตลาดด่านสิงขรคึกคัก ชาวไทย-เมียนมา นำสินค้ามาวางขายกระตุ้นเศรษฐกิจชายแดน 2 ประเทศ 4 ก.ค. 2568
- ตามหาญาติหนุ่มใหญ่เสียชีวิตปริศนาคารถเก๋งในปั๊มน้ำมันที่อุดร 4 ก.ค. 2568
- รวบครูหนุ่ม! ขโมยกางเกงในพยาบาล อ้างดมแล้วฟิน 4 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดภูมิภาค
![]()
ร้อยเอ็ด…เดินขบวน Pride Month แสดงพลังความหลากหลาย เพื่อความเสมอภาคทางเพศ 21:06 น.
- ปราจีนฯ สร้างบ้านใหม่ให้ผู้ป่วยติดเตียง รางวัลคนไม่ข้องเกี่ยวยาเสพติด 20:59 น.
- รักร้าว-เหล้าพาเดือด! แฟนสาวแทงหนุ่ม 38 ดับอารมณ์โมโห 20:47 น.
- เชียงราย-พคบ.รุ่นที่ 3 ศึกษาดูงานสถานการณ์ พื้นที่ชายแดน 20:28 น.
- นครพนมสมโภชพระธาตุท่าอุเทนยิ่งใหญ่ แม่ทัพ 2 ร่วมงาน-ฝนโปรยดั่งน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ 20:13 น.