วันเสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 10:47 น.

ภูมิภาค

รายงานพิเศษ “เกาะรังนกพังงา” ผู้ว่าฯสำรวจสภาพเกาะนกอีแอ่นปกป้องสมบัติชาติ

วันศุกร์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567, 21.29 น.

จังหวัดพังงา ถือเป็นอีกหนึ่ง ใน11 จังหวัด ของประเทศไทย ที่เหล่งที่อยู่อาศัยของนกอีแอ่นชนิดกินรัง และสร้างรายได้เข้าจังหวัด ควบคู่กับการท่องเที่ยว ปีหลายร้อยล้านบาท แต่จากสภาพปัจจุบัน เกาะรังนก ที่ตั้งอยู่ในท้องทะเล ตรงพื้นที่ อ.เกาะยาว ของจังหวัดพังงา กลับไม่มีผู้เข้ารับสัมปทานจัดเก็บรังนก ทำให้ภาษีที่ได้จากรังนก นำมาพัฒนาท้องถิ่นได้หายไป

 

 
ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ไร้ผู้ประมูลหรือรับสัมปทาน รายได้เงินภาษีนับ 100 ล้านบาท ได้หายไป ทำให้การพัฒนาท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ เกาะยาวเล็กและตำบลพรุใน ที่มีพื้นที่เกาะรังอยู่ ไม่สามารถนำภาษีที่ได้จากธรรมชาติกลับมาพัฒนาท้องถิ่นได้

 
ขณะตลอด 3 ปี ที่ว่างแว้นสัมปทาน เนื่องจากการตั้งราคาของคณะกรรมการจัดเก็บอากรภาษีรังนกอีแอ่นสูง จนไร้ผู้ยื่นเข้าประมูลและสัมปทาน เพราะผู้สัมปทานเกรงหากเข้าสัมปทานจะไม่คุ้มทุน ที่มีการตั้ง ราคากลางไว้ถึง 140 กว่าล้านบาท จากเกาะที่อยู่ในบัญชีสัมปทานรังนกอีแอ่น ประกอบด้วย เกาะสะยาตาลิง หรือเกาะซากา เกาะยะลาฮูตัง หรือเกาะยากาฮูตัง เกาะสะยา หรือ กายา เกาะบูโหล้ใหญ่ เกาะปะไหล้น้อย เกาะดอกไม้ เกาะนอกน้อย เกาะสิมิลัน หรือเกาะสิบิลั่น หรือเกาะแก้ว เกาะสุรินทร์ เกาะหาดกาหยาน้อย หรือเกาะยาวกาหยาน้อย เกาะหนาบน้ำ หรือเกาะหยาบน้ำ เกาะชาวเล เกาะสองพี่น้อง หรือเกาะเขตสองพี่น้อง เกาะนมสาวนุ้ย หรือเกาะนมสาวน้อย

 

 
เกาะนมสาวใหญ่ เกาะเขาแดง เกาะโต๊ะหนับ เกาะหนังนกคุ่ม เกาะตั้งเลน เกาะบัว เกาะโร้ย หรือเกาะเหลาโร้ย เกาะปะไหล้ หรือเกาะปาไหล้ใหญ่ เกาะติเหราะ หรือเกาะติเหละใหญ่ เกาะเหลาบาตง หรือเกาะเหลาบ้าตัง เกาะกุดูน้อย เกาะกูดูใหญ่ เกาะลิเป้ใหญ่ เกาะลิเป้น้อย เกาะจาบัง หรือเกาะเหลาจาบัง เกาะตีหมุ หรือเกาะหูกระต่าย เกาะกาหลาดใหญ่ เกาะกาหลาดน้อย และ เกาะบูโหล้น้อยและจากจำนวน 34 เกาะ ที่เป็นเหล่งทำรังและที่อยู่อาศัยของนกอีแอ่น ปัจจุบัน ทางคณะกรรมการจัดเก็บอากรภาษีรังนกอีแอ่นจังหวัดพังงา เปิดให้ประมูลสัมปทานได้เพียง 4 เกาะเท่านั้น คือเกาะกาหลาดใหญ่ เกาะกาหลาดน้อย เกาะลิเป้ใหญ่ เกาะลิเป้น้อย  ส่วนที่เหลือเป็นเขตพื้นที่รับผิดชอบของเขตอุทยานฯทำให้ไม่สามารถนำเกาะเหล่านั้นมาเปิดสัมปทานได้

 


ขณะที่ในจำนวน 4 เกาะ ที่เปิดให้สัมปทาน พบว่าหลังว่างแว้นการสัมปทาน ตลอดระยะเวลา 3 ปี หลังจากการลงสำรวจของผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พบว่ามีร่องรอยการแอบเข้าไปขโมยรังนก มาต่อเนื่อง ทำให้ระบบนิเวศน์นกอีแอ่นลดน้อยลงมา และอาจจะสูนหายไปจากท้องทะเลจังหวัดพังงาในอนาคตอันใกล้
 
 
โดยนายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้นำคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดพังงา ลงสำรวจเกาะที่เป็นแหล่งอาศัยของนกอีแอ่น เพื่อสำรวจดูสภาพพื้นที่ของเกาะและปริมาณการอยู่อาศัยที่แท้จริงของนก พร้อมวางมาตรการการดูแลความปลอดภัยรอบๆ เกาะ ป้องกันไม่ให้เกิดการลักขโมยรังนก รวมทั้งดูแลสภาพพื้นที่ไม่ให้บริเวณของถ้ำที่นกอาศัยอยู่เกิดการเสื่อมสภาพ ปกป้องและอนุรักษ์ประชากรนกไม่ให้ลดจำนวนลง

 


นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า จากการลงสำรวจของคณะกรรมการจัดเก็บอากรภาษีรังนกอีแอ่น จังหวัดพังงา ในวันนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา จะได้ประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดรูปแบบวิธีการในการสำรวจเพื่อกำหนดราคารวมถึงมาตรการต่างๆ อย่างเป็นระบบและเป็นไปตามระเบียบกฎหมายอีกครั้ง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการรักษาผลประโยชน์ของชาติสูงสุด พร้อมทั้งเร่งหาทางออกเพื่อการฟื้นฟูเกาะรังนกใหม่พังงา หากเจ้าหน้าที่รัฐดูแลค่อนข้างที่จะลำบาก เงินกองทุนดูแลรังนกค่อนข้างที่ร่อยหรอ เนื่องจากใช้ดูแลมายาวนานกว่า 3 ปี

 


ด้านนายยงยุทธ เอ็มยุเด็น นายกเทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา กล่าวว่า ตำบลเกาะยาวรายได้หลักคือเงินภาษีจากการจัดเก็บรังนกอีแอ่น ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวนั้นถือว่าน้อยมาก เงินอุดหนุนจากส่วนกลางที่นำมาพัฒนา ปีหนึ่งเหลือแค่ 1 ล้านบาท ที่สามารถนำมาพัฒนาท้องถิ่นได้ รายได้จากเงินภาษีที่เคยได้ ปีละ 10 ล้านบาท ตลอด 3 ปีไม่มีผู้ประมูลหรือสัมปทาน ทำให้ขาดรายได้ส่วนนี้ไป การพัฒนาท้องถิ่นหลายกิจกรรมต้องหยุกชะงักลง ซึ่งตนอยากวอนให้คณะกรรมการจัดเก็บรังนกเร่งพิจารณาหาผู้สัมปทานโดยเร็ว เพราะในการดูแลเฝ้าเกาะรังนก ทางเทศบาลต้องหาเงินมาจ้างคนเฝ้าดูแลเดือน หนึ่งตกอยู่ ที่ 70,000 บาท โดยยังคงเป็นภาระให้กับท้องถิ่นโดยตรง

 


ด้านนายมโณ หรือบังหมาน ถิ่นเกาะยาว อายุ 60 ปี คนรับจ้างแทงรังนก กล่าวว่า ครอบครัวของคนอาชีพรับจ้างเก็บรังนก 15 ครอบครัว ที่ยึดอาชีพนี้มาอย่างช้านาน มีรายได้ ปีละ 1 แสนบาท ตลอดระยะเวลา3 ปีไม่มีรายได้จากการรับจ้างเก็บรังนก และอีกอย่างอาชีพรับจ้างแทงรังนกต้องฝึกคนรุ่นใหม่เข้ามาเสริม หากไม่มีการสัมปทานในพื้นที่ เชื่อว่าอีกไม่นานก็จะหาผู้สืบทอดยากขึ้น
 
 
ส่วนตัวแทนสมาคมอนุรักษ์นกอีแอ่นในธรรมชาติภาคใต้แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจพร้อมคณะกรรมการ ในวันนี้ พบว่า ตามถ้ำต่างบนเกาะกาหลาดใหญ่ มีปริมาณรังนกและนกอีแอ่นอาศัยอยู่น้อย เมื่อเทียบกับ ช่วงที่มีการสัมปทานก่อนหน้านี้ โดยเชื่อว่าหากมีการสัมปทานเกิดขึ้น ผู้สัมปทานต้องใช้เวลา อย่างน้อยไม่ตำกว่า 5 ปี ในการฟื้นฟูให้นกอีแอ่นกลับเข้ามาสู่ปกติภายในถ้ำ การสัมปทานช่วงแรกๆ ต้องสัมปทานในเชิงอนุรักษ์มากกว่า การจัดเก็บ
 

 

จากการเฝ้าสังเกต วิถีการใช้ชีวิตของนกอีแอ่นตลอดทั้งปี เฝ้าดูจดบันทึก พบว่าการทำรังของนกในปีแรก และปีถัดไปจะมีปริมาณนกที่เพิ่มขึ้น การทำรังทำช้ำที่เดิม หรือใกล้เคียงกัน โดยนกอีแอ่นแต่ละตัวมีอายุประมาณ 7 ปี นก 1 คู่ ภายใน 7 ปี ทำรังได้ถึง 381 รัง น้ำหนักรัง อยู่ที่ 80 กรัม ต่อรัง หากช่างน้ำหนัก 120 รัง ต่อ 1 กิโลกรัม คิดเป็นเงินกว่า 1ล้านบาท ต่อนก1คู่เลยทีเดียว แต่หากไม่มีการอนุรักษ์นกอย่างแท้จริงเชื่อว่าทองคำขาวในท้องทะเลไทยที่ธรรมชาติสรรรสร้างมาให้ อาจจะหายไปกลายเป็นตำนาน

หน้าแรก » ภูมิภาค