การเมือง » คอลัมน์
แยกรัชวิภา
บ้านเมืองออนไลน์ : วันพุธ ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565, 12.45 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

ดัชนีแนวโน้มความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมในสังคมไทย
ดัชนีแนวโน้มความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมในสังคมไทย
โดย...ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร สถาบันรัชต์ภาคย์
ความเหลื่อมล้ำ(inequality)หรือความไม่เท่าเทียมกันเกิดขึ้นในสังคมไทยจากการกระจายทรัพยากรและผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมจากผู้มีอำนาจความเหลื่อมล้ำทางสังคมมีความเชื่อมโยงกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน เช่น การบริการสาธารณะ ระบบการศึกษาระบบสวัสดิการแห่งรัฐ ระบบตุลาการระบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่การให้ความสำคัญของเงินและวัตถุนิยมมากกว่าคุณธรรม จริยธรรม การแสวงหาผลประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนการคอร์รัปชั่น ระดับชาติและระดับท้องถิ่นส่งผลให้สังคม ประเทศชาติเสียหายและเสียโอกาสนานัปการ
ความเหลื่อมล้ำ (inequality)และความเป็นธรรมในสังคมไทยแบ่งเป็น 2 ด้านด้านแรกความเหลื่อมล้ำ (inequality) ด้านเงื่อนไขเช่น ด้านสิทธิประโยชน์ รัฐสวัสดิการ โครงการแห่งรัฐผู้มีอำนาจเหนือกว่าใช้อำนาจกดทับผู้มีอำนาจน้อยกว่า ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันด้านคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมด้านที่สองความเหลื่อมล้ำ (inequality)ด้านโอกาสเช่นด้านการศึกษา ด้านการประกอบสัมมาชีพ การเติบโตและก้าวหน้าในอาชีพที่เกิดจากการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในสังคมไทย
ตามแนวทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory)ความไม่เท่าเทียมเกิดจากกลุ่มผู้ที่มีอำนาจมากกว่าครอบงำกลุ่มที่มีอำนาจน้อยกว่า หากมีความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นมากเท่าไร ส่งผลทำให้สังคมเสื่อมและถดถอยลงมากเท่านั้นเพราะผู้ที่มีอำนาจต้องการใช้อำนาจเพื่อรักษาอำนาจของตนการหลุดพ้นจากการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจต้องอาศัยพลังของอุดมการณ์ ความคิด ค่านิยมและโลกทัศน์ใหม่ทำให้บรรทัดฐานเดิมหายไปและเกิดเป็นกระบวนทัศน์ใหม่(new paradigm)เรียกว่า อำนาจทางวัฒนธรรม (Cultural hegemony) หรือพลังทางสังคม หากตั้งคำถามไว้ว่าเมื่ออำนาจทางวัฒนธรรม(Cultural hegemony)ใหม่และกระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) แทนที่ความเหลื่อมล้ำจะหมดไปจากสังคมหรือไม่? หรือ ความเหลื่อมล้ำเป็นเพียงอุดมคติแห่งความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่เคียงคู่ไปตลอดชีวิตตามที่นักประชาธิปไตยในสังคมเสรีนิยมในศตวรรษที่ 20 เชื่อว่าความไม่เท่าเทียมจะยังคงดำรงอยู่แม้ในสังคมที่เปี่ยมด้วยอุดมการณ์แรงกล้า หากยึดเอาความเท่าเทียมเป็นสรณะ ซึ่งหมายความว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียม “ในความเป็นมนุษย์” เหตุอันใดจึงเกิดความไม่เท่าเทียมเฉกเช่นนี้
รากเหง้าความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมในสังคมไทยที่เกิดจากใช้อำนาจแบบผูกขาดไม่มีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงจึงทำให้ขาดความเป็นธรรมในสังคมเช่น ความเหลื่อมล้ำทางชาติพันธุ์ ทางเพศสภาพ ถิ่นที่อยู่อาศัย สังคม โอกาส รวมถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (การดูถูกหรือการด้อยค่า) และการคอรัปชั่น โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เอื้อประโยชน์ต่อกันที่ถูกฝั่งรากลึกมาเป็นเวลายาวนาน หากปัจจัยดังกล่าวยิ่งมีมากเท่าไรความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยยิ่งมีความทวีคูณมากยิ่งขึ้น
วิถีการพัฒนามนุษย์(Human Development Approach) ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความยากจนเป็น “การลิดรอนสมรรถภาพ” ของมนุษย์การเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้เป็นเพียงเครื่องมือ ที่นำไปสู่เป้าหมาย ไม่ใช่เป้าหมายในตัวมันเอง แต่แนวคิดเสรีนิยมใหม่มองว่า ความเป็นอยู่ที่ดี(well-being) คือ การบรรลุอรรถประโยชน์สูงสุด (maximum utility) และอรรถประโยชน์สูงสุดจะบรรลุได้เมื่อคนมีรายได้และความมั่งคั่งสูงสุด ดังนั้นเป้าหมายการพัฒนามนุษย์ คือ “อิสรภาพ”ที่มนุษย์ควรมีได้แก่ (1) อิสรภาพทางการเมือง (2) อิสรภาพทางเศรษฐกิจ (3) โอกาสทางสังคม (4) หลักประกันว่าภาครัฐจะมีความโปร่งใส (5) การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเมื่อสมรรถภาพถูกลิดรอนข้อใดข้อหนึ่งไปจะทำขาดอิสรภาพ
ความเสมอภาคทางสังคมเป็นมโนทัศน์พื้นฐานไม่ว่าในมิติใดการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากันหลักการของความเสมอภาคไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ต้องเหมือนกันเพราะมนุษย์แตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านแต่เสมอภาคกันหมายความว่า มนุษย์เท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ตามกฎหมายแห่งรัฐ ดังวลีที่ว่า“EqualityBefore the Law”หมายความว่าบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรมหรือความเสมอภาคกัน
ความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมในสังคมล้วนส่งผลและมีความสัมพันธ์กันเสมอ เช่น คนที่อาศัยอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรมเกิดอาชญากรรมสูง ทำให้ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเมื่อเทียบกับคนที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่ปลอดภัย ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษา ทำให้ขาดโอกาสทางสังคม และโอกาสการประกอบสัมมาชีพขาดอิสรภาพทางความคิดเห็นขาดการมีส่วนร่วมทางการเมือง เกิดการแสวงหาผลประโยชน์และคอร์รัปชั่นการปฏิสัมพันธ์อันซับซ้อนย่อมส่งผลให้การไม่ได้รับความเป็นธรรมในสังคมหากเกิดความเหลื่อมล้ำมาก ย่อมส่งผลให้สังคมขาดความเป็นธรรม เพราะความเหลื่อมล้ำด้านหนึ่งจะตอกลิ่มความเหลื่อมล้ำให้อีกด้านอื่นหนึ่งไปพร้อมกันเสมอ หากการกระจายการใช้อำนาจสู่ฐานรากอย่างแท้จริง เช่น ระบบศึกษาระบบภาษีระบบสวัสดิการ ระบบการคุ้มครองทางสังคม (social protection) ระบบการแย่งชิงส่วนเกินที่ก่อดอกก่อผล(unproductive rent seeking) ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระะบอบประชาธิปไตยขาดหลักประกันที่เกิดจากคนรวยกับคนชั้นกลางร่วมมือกันกีดกันคนจนแม้เปิดโอกาสทุกด้านมากขึ้นแต่มิได้ทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงการคอร์รัปชั่นที่ก่อตัวทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำการพัฒนาทุนมนุษย์ขั้นพื้นฐานบนความไม่เท่าเทียมและขาดความเป็นธรรม
การนำหลักนิติธรรมเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคมหลักนิติธรรม หรือ ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย “ความไม่สามารถเข้าถึงความยุติกรรมไม่ว่าด้วยช่องทางใดหรือด้วยตัวอำนาจบังคับที่ติดขัดถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความยากจนด้วยตัวของมันเอง”ข้อความนี้สะท้อนให้เห็นว่าการขาดหลักนิติธรรมเชิงโครงสร้างถือเป็นส่วนหนึ่งของความยากจนในประเทศ หาก (1) การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีความเสมอภาคย่อมเห็นได้ชัดซึ่งความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคมไทย (2) การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข้งและเสมอภาคย่อมนำพามาซึ่งโอกาสในการทุจริตได้น้อยลดความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรและการกระจายทรัพยากรได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (3) การเชื่อมั่นในหลักนิติธรรมย่อมเสริมแรงให้พลเมืองเกิดความตระหนักในการทุจริตเพราะกฎหมายบังคับใช้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง » คอลัมน์
คอลัมน์ล่าสุด ![]()
...คำถามประจำวันเด็ก...
ใต้ถุนสภา- ปรากฏการณ์ "ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน" 21:25 น.
- “หนี้นอกระบบ” 05:33 น.