การเมือง » คอลัมน์
แยกรัชวิภา
บ้านเมืองออนไลน์ : วันเสาร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2565, 13.13 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

“ทางม้าลาย”หัวใจความปลอดภัยของคนเดินเท้าจริงหรือ ??
“ทางม้าลาย”หัวใจความปลอดภัยของคนเดินเท้าจริงหรือ ??
ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร
สถาบันรัชต์ภาคย์
จากเหตุการณ์สุดเศร้าที่ต้องสูญเสียประชากรที่มีคุณค่าและบุคลากรในวงการจักษุแพทย์ที่สังคมให้ความสำคัญและถูกจับตามองในกรณีการจากไปของ “คุณหมอกระต่าย” หรือ “แพทย์หญิงวราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล” ถูกรถจักรยานยนต์บิ๊กไบก์พุ่งชนเสียชีวิตขณะเดินข้ามทางม้าลายเราจะต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นต้นทุนที่สมบูรณ์และดีที่สุดของชาติไปอีกนานแค่ไหนไม่มีใครล่วงรู้ได้ เรื่องนี้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันเป็นวงกว้างในประเด็น ขณะเดินข้ามทางม้าลายและคนเดินเท้าเมื่อย้อนกลับไปจากรายงานพิเศษโครงการส่งเสริมการเข้าถึงระบบคมนาคมที่เป็นธรรมและปลอดภัยที่ได้เปิดมุมมองสะท้อนความจริงของกลุ่มเปราะบางบนถนน (VRUs)เผยแพร่เมื่อปี 2562 ซึ่งแน่นอนว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์กับคนเดินเท้าที่ขณะกำลังเดินข้ามทางม้าลายที่หลายคนพากันเพกเฉยรู้สึกว่าเรื่องที่เกิดไม่ใช่เรื่องแปลกเป็นเรื่องเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนคุ้นชินกลายเป็นเรื่องปกติที่หลายคนลืมไปว่าการสร้างทางม้าลายขึ้นมาแท้จริงมีจุดประสงค์เช่นไร
ตอกย้ำบาดแผลให้เจ็บลึกลงไปว่า "คนเดินเท้า" เป็นกลุ่มเปราะบางที่มีตั้งแต่ เด็กเล็ก นักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน คนชรา ทุกเพศ ทุกวัย ที่ต้องได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยมากที่สุดในสังคมไทยที่ต้องเดินเท้าสัญจรไปมาในระยะทางสั้นๆ ที่ทำได้ง่ายใช้พลังงานมีต้นทุน (ค่าใช้จ่าย)น้อย เช่น การเดินทางพื้นที่สาธารณะในแหล่งชุมชนใจกลางเมืองเศรษฐกิจหรือพบเห็นโดยทั่วไปในชีวิตประจำวันในสังคมเมืองที่มีลักษณะการใช้ประโยชน์ทางกายภาพแบบผสมผสานระหว่างถนนที่เต็มไปด้วยยวดยานพาหนะสัญจรไปมาและสัญญาณไฟจราจรและทางม้าลายที่ใช้สาธารณะประโยชน์ร่วมกัน “ทางม้าลาย” ถือเป็น“หัวใจสำคัญ”ของประชาชนในสังคมไทยและทุกประเทศทั่วโลกเพราะทางม้าลายถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมีไว้ให้คนเดินเท้าได้เดิน“ข้ามทาง”บริเวณพื้นที่ทำไว้ให้คนเดินเท้าข้ามสัญจรไปมาโดยมีเครื่องหมายหรือทำสัญญาลักษณ์ไว้บนพื้นหรือตอกหมุดไว้ให้คนเดินเท้าข้ามไม่ว่าในระดับใต้หรือเหนือพื้นดินและเป็น “เขตปลอดภัย” ที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ชัดเจนให้คนเดินเท้าข้ามทางหยุดรอหรือให้คนขึ้นหรือลงรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางม้าลายเกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองสโลฟ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 1951 ด้วยลวดลายที่เป็นเส้นสีขาวลายทางขวางสีดำเรียกกันว่า zebra crossing ซึ่งประเทศไทยแปลตามตัวว่า ทางม้าลายใช้ควบคุมการจราจรให้คนเดินเท้าข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย “ทางม้าลาย” จึงเป็นนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยให้กับประชาชนคนเดินเท้าซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากลและทั่วโลกทางม้าลายใช้อำนวยความสะดวกและความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้คนเดินเท้า ทางม้าลาย เป็นเกราะป้องกันสร้างความปลอดภัยจึงเป็น “หัวใจสำคัญ” ของคนเดินเท้า แต่ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ขาดวินัยและไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรบนท้องถนน ขนาดจิตสำนึก ไม่มีน้ำใจที่จะยอมชลอความเร็วหรือหยุดรถตรงทางม้าลายให้คนเดินเท้าได้เดินข้ามหรือแม้กระทั่งจอดรถกีดขวางพื้นทางม้าลายภาพเช่นนี้เราเห็นทุกวันเป็นเรื่องปกติ แม้เกิดอุบัติเหตุรถชนคนเดินเท้าข้ามทางม้าลายบ่อยครั้งหากสังคมไม่ตระหนักละเลยไม่ได้ใส่ใจและไม่ให้ความสำคัญเกิดโคกนาฏกรรมเฉกเช่นนี้อีกซ้ำแล้วซ้ำอีกจึงมีคำถามทางสังคมมากมายว่า ทางม้าลาย คือหัวใจ
ความปลอดภัยของคนเดินเท้าจริงหรือ ?? เพราะทุกวันนี้ “ทางม้าลาย” ของคนเดินเท้ามีแนวโน้มสุ่มเสี่ยงอุบัติเหตุได้ทุกเวลาขณะเดินข้ามทางม้าลาย หากคิดทบทวนแล้วอาจยกมือถามหาความเป็นธรรมของคนเดินเท้าที่ต้องใช้ทางม้าลายสัญจรไปมาและผูกชีวิตไว้กับสัญญาณไฟจราจร ป้ายจราจร สร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมวินัยผู้ใช้รถใช้ถนนมากกว่าสร้างความปลอดภัยให้กับคนเดินเท้าข้ามทางม้าลายที่ชีวิตต้องเสี่ยงท่ามกลางความหวาดระแวงต้องถูกแขวนบนเส้นตายบนพื้นขาวดำเรียกว่า ทางม้าลายที่เป็นหัวใจของคนเดินเท้าหากผู้ร่วมสัญจรบนเส้นทางขาดจิตสำนึกความปลอดภัย ไม่มีน้ำใจและไม่เคารพกฎจราจร หรือมองข้ามความประมาทบนชีวิตของเพื่อนมนุษย์ที่เดินบนเส้นทางเท้าข้ามทางม้าลายที่ไม่ได้ช่วยความปลอดภัยในชีวิตเพราะจุดประสงค์ดั้งเดิมทางม้าลายคือให้คนเดินเท้าสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัยแต่ในความเป็นจริงแล้วแม้มีทางม้าลายคุณภาพชีวิตของคนเดินเท้าก็ไม่ได้ดีขึ้นมากนักหลายครั้งยังเห็นข่าวอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดบนทางม้าลายอยู่หลายครั้งแต่กลับไม่ได้รับความใส่ใจแก้ปัญหาอย่างจริงจังถึงเวลาหรือยังต้องปัดฝุ่นจัดระเบียบทางสังคมไทยควบคู่กับการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดกฎจราจรที่เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุเริ่มจากสร้างวินัยในตนที่ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนร่วมกันสร้างระเบียบสังคมวินัยการสัญจรบนถนนช่วยกันดูแลคนเดินเท้าที่มีทุกเพศ ทุกวัย
“คนเดินเท้า” กับ “ทางม้าลาย” หากเทียบสถานการณ์ดังกล่าวกับทฤษฎีระบบปลอดภัย (Safe system)ที่เป็น “หัวใจ” หลักยังไม่พบความเข้มแข็งด้านมาตรการในแง่มุมที่มุ่งเน้นให้เกิดการปกป้องคนเดินเท้าข้ามทางม้าลายกับความปลอดภัยด้านความเร็ว(Safe speed) บนถนนที่ปลอดภัย (Safe Road) ภาระความปลอดภัยจึงตกไปอยู่กับคนเดินเท้าข้ามทางม้าลาย(Safe Road users) ด้วยตนเองรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดพฤติกรรมที่มีวินัย ตระหนักถึงความปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎจราจร ตามบริบทด้านคมนาคมและสถานการณ์เชิงสังคมความเป็นอยู่สิ่งนี้จึงน่าจะนำไปสู่ทางเลือกการแก้ไขในระยะเร่งด่วน เริ่มจากการใส่ใจความปลอดภัยบนท้องถนน ระดมคิดวางแผนด้านกายภาพที่ส่งผลความปลอดภัยของคนเดินเท้าข้ามทางม้าลายให้มากขึ้น นำเทคโนโลยีหรือ AI มาใช้ผลักดันกระบวนการลงโทษปรับเปลี่ยนแนวคิดประชาชนให้เห็นความสำคัญกับวินัยจราจรและมีน้ำใจคนเดินเท้าข้ามทางม้าลาย ออกแบบทางข้ามสัญจรไปมาเหมาะสมยกระดับความปลอดภัยบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเข้มงวดสร้างจิตสำนึกขั้นพื้นฐานให้เกิดความตระหนักและเคารพกฎจราจรพัฒนาแนวทางการใช้งานทางม้าลายแบบอัจฉริยะเพื่อสร้างความมั่นใจให้คนเดินเท้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความฝันของคนเดินเท้าที่ฝากชีวิตไว้กับ “ทางม้าลาย” ที่คาดหวังไว้ว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยได้รับการป้องกันอันตรายบนท้องถนนได้ดีที่สุด
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง » คอลัมน์
คอลัมน์ล่าสุด ![]()
...คำถามประจำวันเด็ก...
ใต้ถุนสภา- ปรากฏการณ์ "ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน" 21:25 น.
- “หนี้นอกระบบ” 05:33 น.