วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 22:47 น.

การเมือง » คอลัมน์

แยกรัชวิภา

บ้านเมืองออนไลน์ : วันศุกร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 17.20 น.

สภาล่ม ! แทคติกเกมส์การเมืองหรือขาดสำนึกรับผิดชอบนักการเมือง

สภาล่ม ! แทคติกเกมส์การเมืองหรือขาดสำนึกรับผิดชอบนักการเมือง

 

ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์

 

ทำไมหนอ!!  “สภาล่ม” จากกรณีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรล่มถึง 17 ครั้งจนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์บนโลกโซเชียลอย่างมากต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่บางกลุ่มมองว่าเป็นเกมหักเหลี่ยม หรือแทคติกทางการเมือง ในประเด็นวาระการประชุมในยติที่สำคัญสำหรับปากท้องประชาชน แต่ขณะเดียวกันอีกฝ่ายที่มาพร้อมกับโต้แย้งในประเด็นวาระการประชุมในยติในหัวข้อนั้นๆ ที่ไม่ใช่เป็นเอกสาร ชุดข้อมูลแนวคิด ที่นำมาหักล้างกันในประเด็นแต่เป็นพฤติกรรมใหม่ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเหตุผลที่น่าเชื่อถือของคนส่วนใหญ่ได้เช่นกันทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่สภาวะที่เรียกว่าภาวะหวาดระแวงด้านความมั่นคง (Security Dilemma) ตามแนวคิด HerbertButterfield John Herz และ Robert Jervis Security Dilemma นับเป็นสภาวการณ์หนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนที่เป็นผลมาจากความไม่เข้าใจระหว่างกันในแง่มุมที่ว่า รัฐเป็นตัวแสดงที่ไม่น่าไว้วางใจซึ่งต่างก็ระแวงแคลงใจในบทบาทและเป้าหมายของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผลมาจากพื้นฐานความคิดการพึ่งตัวเองเพื่อผลประโยชน์การเสริมสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองแต่กลับถูกมองว่าเป็นการสร้างภัยคุกคามให้ระบบการเมืองไทยและสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติ สร้างความไม่ปลอดภัย สร้างความไม่มั่นใจในการทำหน้าที่ในฐานะเป็น “ตัวแทนประชาชน” ในการแก้ปัญหาเพื่อปากท้องให้ประชาชนอยู่ดีมีความสุข แต่การเกิด “สภาล่ม” หลายครั้งต่อเนื่องกันจึงมองว่าเอาความทุกยากของประชาชนและใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือต่อรองในการแสวงหาผลประโยชน์และต่างฝ่ายใช้อำนาจหน้าที่ทางการเมืองถ่วงดุลอำนาจ (Balance of Power) เพื่อป้องกันการสูญเสียอำนาจและต้องการรักษาเพิ่มพูนอำนาจที่เท่ากัน (Matching Power) เพราะการถ่วงดุลอำนาจสามารถป้องกันการขยายอำนาจไม่ให้มีอำนาจเหนือกว่าในการครอบงำ เมื่อหากไม่พอใจในวาระการประชุมในยติใดและเมื่อไหร่ ก็พากันต้องลุกฮือ..และมีเฮกันตลอดเวลาเมื่อฝ่ายตนได้รับชัยชนะและยิ่งเวลานับจำนวนตัวแทนประชาชนโดยเฉพาะกับการประชุมร่วมระหว่าง 2 สภา ที่ต้องมีทั้งสมาชิกจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเข้าร่วมประชุม หืดขึ้นคอแทบทุกครั้ง...ต้องลุ้นกันว่าเมื่อประธานนับองค์ประชุมในเวลานั้นว่าที่ประชุมจะครบองค์ประชุมหรือไม่?

สิ่งนี้แหละที่ฟ้องสายตาประชาชนได้เป็นอย่างดีว่า เป็นแทคติกทางการเมือง หรือสำนึกรับผิดชอบของผู้แทนประชาชน ทำเพื่อประชาชน หรือ เพื่อประโยชน์ของพวกพ้องจากสถิติในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เสียงเฮเงียบหายไป กลับมีเสียงโห่อื้ออึง เพราะการประชุมร่วมรัฐสภา ต้องล่มลงถึงครั้ง 17 นับว่าเป็นหนึ่งในสถิติ ”สภาล่ม” มากครั้งที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยทำให้ความสำคัญของผู้แทนประชาชนที่ต่างได้รับการยอมรับจากประชาชนเข้าร่วมเป็นองค์ประชุมในระบบการบริหารและพัฒนาประเทศเหือดหายไปนักรัฐศาสตร์อย่างเช่น Michael Savardเสนอสิ่งที่เรียกว่า Co-optive Politics ไว้อย่างน่าสนใจระบบการเมืองต้องมีกระบวนการที่แท้จริงและเป็นทางการพร้อมรับผิดชอบ (Accountable) ต่อการตัดสินใจหรือไม่ตัดสินใจดำเนินนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งในกระบวนการ “สภาล่ม” ครั้งนี้สะท้อนเจตจำนงที่แท้จริงว่าเข้าไปทำเพื่อประชาชนชาติบ้านเมืองหรือไม่ ที่ไม่ว่าจะมาจากกลไกการเลือกตั้งที่บิดเบี้ยว การแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบการเมืองที่เกี่ยวพันกับความต่อเนื่องของกระบวนการประชาธิปไตยด้วยรับผิดรับชอบเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประชาธิปไตย  Philippe C. Schmitterเสนอไว้ว่า ความพร้อมรับผิดทางการเมือง (political accountability) เป็นสิ่งสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีอยู่จริง “สภาล่ม” จึงอาจเป็นเรื่องของการสมคบคิดทั้งสองฝ่ายให้เกิดการปรากฏการณ์และต้องออกมายอมรับผิดที่เกิดจากการประสบหายนะด้วยกันหากหยิบยกประเทศที่มีการจัดการ “สภาล่ม”นำมาถอดบทเรียนเปรียบเทียบเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นวิธีการแก้ไข กำหนดบทลงโทษไว้เป็นที่น่าสนใจเช่น ประเทศญี่ปุ่นที่มีระบบสำนึกรับผิดรับชอบเป็น “ประมวลจริยธรรมสำหรับพนักงานระดับชาติของรัฐ” ซึ่งมีผลบังคับใช้แก่เจ้าหน้าที่รัฐอย่างกว้างขวาง รวมทั้งสมาชิกรัฐสภาด้วย ประมวลจริยธรรมได้กำหนดแนวปฏิบัติมาตรฐานด้านความประพฤติทางจริยธรรม คือเจ้าหน้าที่รัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนและปฏิบัติต่อสาธารณชนโดยปราศจากการเลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออย่างมีอคตินักการเมืองต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแท้จริง องค์กรตรวจสอบมาจากประชาชน ข้อมูลมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ สื่อมวลชนสามารถตีแผ่เปิดโปงความไม่ชอบได้ มีการรับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ประมวลจริยธรรมของประเทศญี่ปุ่นจึงไม่ได้เพียง “เขียนเสือไว้ให้วัวกลัว” เท่านั้น

หากว่าไปแล้ว “ผู้แทนของประชาชน” ผ่านการพิสูจน์เรื่องของคุณสมบัติส่วนบุคคลและความสามารถด้านผลงานแต่เมื่อมีอาการความง่อยเปลี้ยของระบบความคิดของ “ผู้แทนประชาชน” ที่มุ่งเป้าเพื่อเล่มเกมส์การเมืองที่แสวงหาแทคติกทางการเมืองเพื่อหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงกันไปมาทำให้เกิด “สภาล่ม” จนลืมบทบาทหน้าที่สำคัญไปว่าหน้าที่ของ “ผู้แทนประชาชน” มีหน้าที่ทำอะไร มีความสำคัญอย่างไร หรือความเสถียรภาพของระบบการเมืองมีไม่มากพอ ที่ทำให้ผู้แทนประชาชนเข้าไปทำบทบาทหน้าที่ใน “ที่ประชุม” ได้ไม่เต็มศักยภาพ ที่ต่างต้องผิดหวังกันอย่างสะบักสะบอมที่สภาล่มซ้ำซาก ส่งผลให้ไม่กล้าเสนอกฎหมาย หรือญัตติให้สภาพิจารณา อาจถูกคว่ำกฎหมาย สภาล่มความเสียหายไม่ได้เกิดกับระบบการบริหารเพียงอย่างเดียวแต่เกิดกับประชาชน และภาพลักษณ์ของสภา จึงมีมุมมองที่ว่า “ตัวแทนประชาชน” เล่นเกมการเมืองกันมากเกินไปจนไม่สนใจผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติตามที่อ้างไว้ตอนหาเสียงขอคะแนนว่าจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุด คำนึงถือผลประโยชน์ของประชาชนและชาติบ้านเมืองเป็นหลักหากทว่าการประชุมสภาฯ ประชาชนได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของคณะรัฐมนตรี ด้วยชุดข้อมูลที่หักล้างกันด้วยเหตุผลเพื่อให้เกิดความสง่างามในระบอบประชาธิปไตย ให้ความเคารพประธานสภาฯ มีกฎที่ชัดเจนว่า จะให้ใครพูดอย่างไร เมื่อใด เพื่อลดความเห็นแย้งระหว่างสมาชิกทุกฝ่าย และเห็นว่าทุกฝ่ายควรที่จะเจรจากัน โดยมีประธานสภาฯ เป็นแม่เหล็กและเชิญทั้ง 2 ฝ่ายมาระดมความคิดเพื่อหักล้างข้อเสียสร้างข้อดีให้ประชาชนและชาติได้รับประโยชน์ประเด็นหรือยติ“สภาล่ม”หากมองถึงข้อดีก็คงจะเป็นอีกมุมของการจดจำได้อีกว่าหากจะเลือก ผู้แทนประชาชน ในครั้งต่อไปประชาชนอย่างเราๆ ต้องใช้ดุลยพินิจใช้สิทธิ์ลงคะแนนให้ไปว่าจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนอย่างดีเยี่ยมสมกับที่ไว้วางใจ เชื่อใจ และมั่นใจและไม่ทำให้สภาล่มหรือหวังเพื่อเข้าไปเล่มเกมส์การเมืองที่เอาคะแนนที่ประชาชนให้ไปเป็นเครื่องต่อรองทางการเมืองในอนาคต