วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 22:21 น.

การเมือง » คอลัมน์

แยกรัชวิภา

บ้านเมืองออนไลน์ : วันพุธ ที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2565, 20.21 น.

สงครามรัสเซีย-ยูเครน “พลเมืองโลกจะได้รับผลกระทบอย่างไร”

สงครามรัสเซีย-ยูเครน “พลเมืองโลกจะได้รับผลกระทบอย่างไร”

 

ศุภภัทรวริศรา  เกตุสุนทร

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์

สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อสินค้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ สินแร่โลหะและสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงมาตรการคว่ำบาตรใหม่ๆ ในการทำครามครั้งนี้ และจะยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงหากสงครมยืดเยื้อประชาการโลกอาจต้องเผชิญกับภาวะการเลือกข้างระหว่างรัสเซียหรือตะวันตก ในเกมขับเคี่ยวการทำยุทธศาสตร์ทางสงครามวินาทีนี้คงไม่มีใครที่จะไม่ลุ้นสถานการณ์อันร้อนระอุการสู้รบโจมตีกันทั้งสะเทื้อนบกสะเทื้อนน้ำ แบบโลกสั่นสะเทือนว่าจะทำสงครามไปในทิศทางใด ถ้าหากสงครามเย็นถูกนำไปเป็นยุทธศาสตร์การทำสงครามร้อนในฐานะพลเมืองโลกจะได้รับผลกระทบอย่างไร ในเมื่อจุดเกิดเหตุสงครามอยู่ห่างออกเพียงแค่เส้นกั้นกลางระหว่างครึ่งโลก ซึ่งแน่นอนที่สุดคงจะหนีไม่พ้นการอพยพถิ่นฐาน การหนีเอาชีวิตรอด และเศรษฐกิจโลกที่โยงใยและเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลกแบบ Global World เมื่อเกิดสงครามขึ้นถึงแม้จะอยู่กันคนละมุมโลกแต่ผลกระทบก็วิ่งเข้าหากันได้ ลองคิดตามประเทศหนึ่งเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติเป็น 1 ใน 3 ของโลกและอีกประเทศเป็นแหล่งผลิตอาหารรายใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งสองประเทศถือเป็นห่วงโซ่ปัจจัยสี่ที่พลเมืองโลกจำเป็นต้องใช้ดำรงชีพย้อนดูประวัติประเทศรัสเซียและยูเครนกันพอหอมปากหอมคอได้ว่าประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของยุโรป มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลกเมื่อใช้มาตรวัด GDP เป็นอันดับที่ 6 ของโลกเมื่อวัดด้วย PPPพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมเทือกเขาอูราล ป่าไซบีเรีย แคว้นตะวันออกไกล ที่อุดมไปด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล สินแร่และป่าไม้ ทำให้เป็นผู้ครอบครอง 30% ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดในโลกจึงได้ขนานนามว่า อภิมหาอำนาจพลังงานของโลกโดยครอบครองแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้ครอบครองแหล่งสำรองน้ำมันอันดับ 8 ของโลก เป็นผู้ครอบครองแหล่งสำรองหินน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของยุโรป เป็นผู้ส่งก๊าซธรรมชาติรายใหญ่เป็นอันดับ 1 ผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับ 2 ของโลกตัวอย่างมูลค่าการส่งออกของน้ำมันดิบอยู่ที่ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และก๊าซธรรมชาติ 5.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นผู้ครอบครองแหล่งสำรองถ่านหินรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก รวมไปถึงสินแร่ต่างๆ เช่น ผู้เป็นผู้ส่งออกแพลทินัม วาเนเดียม และโคบอลต์ อันดับ 2 ของโลก เป็นผู้ส่งออกทองคำ นิกเกิล และกำมะถัน เป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นผู้ส่งออกเงินและฟอสเฟตเป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นผู้ส่งออกแร่เหล็กเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยตัวอย่างมูลค่าการส่งออกคือ ถ่านหิน 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ, แร่เหล็ก 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศรัสเซียและประเทศยูเครนต่างเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกด้วยกันทั้งคู่ รัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในหลายพื้นที่มีพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูก อยู่ใน 1 ใน 3 ของโลก ส่วนยูเครนอยู่ที่อันดับ 9 ที่มีพื้นที่เพาะปลูกเป็นดินดำที่มีความอุดมสมบูรณ์มากเป็นพิเศษ ยูเครนมีฉายาว่าเป็นตะกร้าขนมปังแห่งยุโรป รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรวมไปถึงผู้ผลิตข้าวบาร์เลย์ บัควีต และข้าวไรย์ อันดับ 1 ของโลก และยังเป็นผู้ผลิตเมล็ดทานตะวันอันดับ 2 ของโลก ในขณะที่ยูเครนเป็นผู้ผลิตเมล็ดทานตะวันเป็นอันดับ 1 ของโลก เป็นผู้ผลิตบัควีต มันฝรั่ง ฟักทอง เป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นผู้ผลิตข้าวโพดและกะหล่ำปลีเป็นอันดับ 5 ของโลก เป็นผู้ผลิตข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ชูการ์บีต และเรปซีด เป็นอันดับ 7 ของโลก เป็นผู้ผลิตข้าวสาลีเป็นอันดับ 8 ของโลก รัสเซียเป็น Spplier รายใหญ่ของโลกด้านพลังงานธรรมชาติ สินแร่ ถ่านหินและเป็น Supplier รายใหญ่ร่วมกับยูเครนด้านสินค้าโภคภัณฑ์ เมื่อเกิดสงครามขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเชื้อเพลิงพุ่งสูงขึ้นจากรัสเซียอาจใช้มาตรการงดส่งออก นอกจากสินค้าดังกล่าวเป็นปัจจัยสี่ต่อประชากรในยุโรปแล้วยังเป็นยุทธปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนสงครามที่นำมาต่อกรกับรัสเซีย ขณะเดียวกันราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเป็นผลดีกับทางฝั่งรัสเซียสถานะเงินรูเบิลขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันหากย้อนกลับไปก่อนและระหว่างเกิดสงคราม ประชากรในประเทศเริ่มถ่ายโอนทรัพย์สินให้มีความมั่นคง ปลอดภัย ยอมรับทั่วโลกอย่างดอลลาร์และทองคำ จะเห็นได้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นและทองคำมีราคาสูงขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่จากสงครามครั้งนี้การใช้อาวุธยุทโธปกรณ์กำลังทหาร ที่ต่างใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียให้ถอยออกจากสมรภูมิรบ สหรัฐฯ ฐานะผู้คุมเกมการเงินโลกขัดขวางไม่ให้มีธุรกรรมการเงินในประเทศกับรัสเซีย รวมถึงประเทศไทยที่มีมูลค่าการค้ากับรัสเซียค่อนข้างสูงหากเกิดการบล็อกเส้นทางการเงินเข้าสู่รัสเซียจะเกิดความเสียหายต่อการค้าระหว่างการเมืองระหว่างประเทศถูกบีบให้เลือกข้างประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีทั้งสองฝ่ายแบบ Siamese Talk แต่ด้วยสภาวการณ์ที่มีความแหลมคมในลักษณะนี้อาจจะทำได้ไม่นานนัก คงจะต้องเป็นการบ้านที่กระทรวงการต่างประเทศต้องชั่งน้ำหนักที่อาจต้องเลือกเพื่อธำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติและประชาชนให้มากที่สุด

สิ่งที่น่าคิดต่อไปว่า หากสงครามยืดเยื้อมีมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอย่างต่อเนื่องรัสเซียถูกปิดกั้นจากระบบการเงินโลก ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนสุดก็คงจะหนีไม่พ้นราคาน้ำมันสูงอย่างฉุดรั้งไว้ไม่อยู่ราคาหุ้นและคริปโทเคอร์เรนซีที่ลดลงอย่างน่าใจหาย ราคาทองคำโลกพุ่งสูงชนเพดานเศรษฐกิจโลกรวมถึงประเทศไทยได้รับผลกระทบหนัก พลเมืองโลกอาจได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าและพลังงานที่สูงขึ้น ราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินที่มีความผันผวน หากสงครามยืดเยื้อผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะยุโรปที่ได้รับผลกระทบการคว่ำบาตรรัสเซีย สัดส่วนนักท่องเที่ยวรัสเซียส่งผลการฟื้นตัวการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ไม่ว่าสถานการณ์ก้าวไปในจุดใดทุกบทเรียนสะท้อนให้เห็นว่า “อย่าประเมินอะไรที่ต่ำเกินไป” นั่นคือทางรอดที่ดีสุด ขณะที่สงครามรัสเซียกับยูเครยังไม่จบลงรัฐบาลต้องเร่งกำหนดมาตรการรับมือประคับประคองเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชากรไทยให้ทันท่วงทีบนพื้นฐานที่ไม่ประมาททั้งนี้ผลกระทบในระยะสั้นเห็นผลชัดเจนและรวดเร็วเพราะระบบห่วงโซ่การผลิตของโลกหรือ Global supply chains ที่เชื่อมโยงถึงกันนี้เป็นเพียงมุมมองส่วนหนึ่งจากการเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่พลเมืองโลกจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สิ่งนี้เป็นเพียงแนวทางรับมือผู้เขียนเอง ได้แต่ภาวนาและหวังว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่ยืดเยื้อและจบลงด้วยสันติภาพ