การเมือง » คอลัมน์
แยกรัชวิภา
บ้านเมืองออนไลน์ : วันเสาร์ ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565, 21.35 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

อนาคตสุขภาพคนไทย กับระบบธรรมนูญสาธารณสุขแห่งชาติ
อนาคตสุขภาพคนไทย กับระบบธรรมนูญสาธารณสุขแห่งชาติ
ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์
ทุกวันนี้มีประเด็นข่าวสารบนโลกโซเชียลมากมายไม่เว้นแต่ละวันล้วนเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหวกระทบกระเทือนจิตใจคนในสังคมได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่อการเข้าไปอยู่ในสังคมเสมือนจริงกับเรื่องที่สื่อสารพูดคุยเป็นเรื่องที่มีความสนใจเหมือนกัน โดยจากแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น อารมณ์ความรู้สึกโดยไม่ถูกจำกัดด้วยขอบเขตเวลาและสถานที่ (Rheingold 1449) เช่น สถานการณ์ทางการเมือง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจสถานการณ์ทางสังคมสถานการณ์ทางเกษตรและอาหารสถานการณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสถานการณ์ข่าวสารและเทคโนโลยีสถานการณ์สงครามระหว่างประเทศ ภาวะวิกฤติโรคระบาด สถานการณ์การศึกษา เป็นต้น เห็นได้ว่าสถานการณ์ดังกล่าว ล้วนมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ สุขภาพทั้งในด้านบวกและด้านลบ ที่พร้อมผลักดันให้เกิดสุขภาวะถดถอยเสี่ยงต่อการเกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า เสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายสูงสุดหากการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอาจเป็นเกราะป้องกันทำให้เกิดความเข้มแข็งปลอดภัยจากผลกระทบทั้งปวงและผ่านพ้นภาวะวิกฤตทางด้านจิตใจได้ดีที่สุดด้วยการเสริมสร้างสุขภาวะการเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
ทำความรู้จัก สุขภาวะหรือ Well-being
สุขภาวะหรือWell-beingมีการเรียกใช้คำที่แตกต่างกัน เช่น ความอยู่ดีมีสุข ความผาสุก Wellness หรือการมีสุขภาพที่ดีซึ่งทางองค์การอนามัยโลก(World Health Organization, WHO) ได้นิยาม สุขภาพ หมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิตใจ สังคม ปัญญาเชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล Well-being ไม่มีคำนิยามที่เป็นสากลแต่เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวกในการดำเนินชีวิตในสังคมใหม่ ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ ไม่ใช่คำทางการแพทย์ แต่เป็นเรื่องของสังคมหรืออีกนัยหนึ่งคือ ความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับความพยายามปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยที่มีการใช้คำว่า สุขภาวะ สื่อสารแทนคำว่าสุขภาพดี ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นคำนี้ช่วยทำให้เข้าใจความหมายกว้างขึ้นว่า สุขภาพดี ต้องเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับสุขภาพ กาย จิตใจ สังคม และปัญญา ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องสุขภาพทางกายหรือไม่เกิดการเจ็บป่วยเท่านั้น
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวว่า สุขภาวะ คือ ภาวะที่เป็นสุข มีความสมบูรณ์ทางกาย จิตใจ อารมณ์ ปัญญา สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ร่างกายแข็งแรง มีสติ มีสังคมที่สันติ มีปัญญารอบรู้เท่าทัน ซึ่งมนุษย์จะมีสุขภาวะทางปัญญา มนุษย์ต้องมีศักยภาพเติบโตงอกงามจากการพัฒนาภายในจิตใจอย่างลึกซึ้ง กระทั้งเกิดการเข้าใจธรรมชาติของชีวิตอันนำไปสู่ชีวิตที่ดีงามและสมบูรณ์ หากกล่าวในภาพกว้างเชิงปฏิบัติ สุขภาวะทางปัญญาเป็นปัจจัยที่เชื่อมโยงกับสุขภาวะในมิติอื่นแบบองค์รวมโดยแยกขาดจากกันไม่ได้ขยายคำอธิบายความลึกซึ้งและซับซ้อนของสุขภาวะ ว่าใกล้กับ ความเป็นอิสระหรือหลุดพ้นจากความบีบคั้นสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Spiritual well-being)คือ การรู้ผิดชอบชั่วดี การไม่ยึดถือตัวตนอัตตา การเข้าใจและเท่าทันความรู้สึกนึกคิดของตัวเองมิตินี้ทำให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์สุขภาวะประกอบด้วย สุขภาวะทางกาย(Physical Wellbeing) การมีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค มีพลานามัยดีไม่เจ็บป่วย มีปัจจัยสี่พอเพียงในการดำเนินชีวิตมีสวัสดิภาพในชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สุขภาวะทางสังคม(Social Wellbeing) การอยู่ร่วมกันด้วยดี มีสัมพันธภาพดีกับคนรอบข้าง มีครอบครัวอบอุ่น สังคมมีความยุติธรรม มีความเสมอภาค มีภารดรภาพ ได้รับความเคารพและความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ปลอดพ้นจากการข่มเหง เอารัดเอาเปรียบ ดูหมิ่นเหยียดหยามและอยู่ในสังคมที่ดีงาม สุขภาวะทางจิต(Mental Wellbeing) การไม่เครียด การไม่วิตกกังวล ไม่ฟุ้งซ่าน มีความพึงพอใจในชีวิต มีจิตปลอดพ้นจากความทุกข์ ความโลภ มีความสุขใจ สงบเย็น จิตมีคุณภาพเป็นบวก มีเมตตากรุณา สติและสมาธิ สุขภาวะทางปัญญา (Intellectual well-being) การมีทักษะชีวิต เรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนโลกทรรศน์ที่ถูกต้อง มีความรู้ความเข้าใจชีวิต สามารถวางจิต วางใจคิดดี คิดเป็น รู้ผิด รู้ถูก ช่วยให้ดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขสามารถแก้ปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิตช่วยให้จิตเป็นอิสระท่ามกลางความผันผวนปรวนแปรสุขภาวะยังเกิดขึ้นจากการเห็นคุณค่าของความสมดุลชีวิตด้วยการกินอาหารที่ดีมีประโยชน์คำพูดของฮิพโพเครติส (Hippocrates) แพทย์ชาวกรีกบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์กล่าวไว้ว่าLet Food Be Thy Medicine & Medicine Be Thy Food แปลว่า ให้อาหารเป็นยาและยาคืออาหาร หมายถึง การให้นำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ของอาหารนานาชนิดมาเป็นยาอายุวัฒนะและเสริมสร้างให้สุขภาพดีแข็งแรงทั้งนี้ ดร.ราชวิกรม อาทิตย เจริญรัชต์ภาคย์ อธิการบดี สถาบันรัชภาคย์ได้ให้ทัศนะไว้ว่า การกินอาหารที่ดีและถูกต้องทำให้อายุยืนและแข็งแรงเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางกาย มีพลานามัยดี โดยการกินอาหารที่มีประโยชน์และเลือกกินอาหารให้มีความเหมาะสมเพื่อสร้างความสมดุลให้กับร่างกายควบคุมน้ำหนัก โดยกะประมาณพอให้มีพลังงานใช้บางทีกินไขมันที่เป็นคอเลสเตอรอล(Cholesterol) ที่ดีเข้าไปแต่ร่างกายกลับเปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลที่เลว (LDL cholesterol) ทำให้เกิดภาวะไขมันอุดตันก็เป็นได้อาหารที่กินเป็นหลักทุกวันนี้จัดได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มเนื้อสัตว์ ซึ่งกลุ่มคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์อาจขาดสารอาหารบางชนิดได้ทำให้เกิดอาการผมร่วง แต่เมื่ออายุมากขึ้นให้กินปลามากขึ้น เช่นปลาแซลมอน (Wild Salmon) เป็นต้น กลุ่มผักผลไม้ควรกินในปริมาณเท่ากัน หากลดเนื้อสัตว์ลงเหลือ 1 ใน 3 ผักและผลไม้จะเหลือประมาณ 30% พลังงานลดเหลือ 30% จากที่รับประทานหรือประมาณ 1,200-1,500 แคลอรี่ให้กินผักหลากสี เช่น มะเขือเทศ ฟักทอง แครอท ผักกาดสีม่วง และให้เลือกกินผลไม้ที่มีรสชาติไม่หวานสำหรับคนสูงอายุ ขนมปังเค้ก คุกกี้ อาหารทานเล่นควรลดลงหรือหลีกเลี่ยง ให้กินโปรตีนจากถั่วอบแห้งแทนการมีสุขภาวะทางกายดีทำให้ระบบของร่างกายทำงานสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมเมื่อสุขภาวะกายดีย่อมทำให้สุขภาวะจิตดี มีจิตใจเป็นสุข สามารถปรับตัวแก้ปัญหา สร้างสรรค์ผลงาน มีความรู้สึกดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ดี อยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้โดยมีสุขภาวะทางปัญญาเป็นตัวชี้นำ
สังคมควรตระหนักหรือไม่? กับการเสริมสร้างสุขภาวะควรเริ่มตระหนักเพราะสุขภาวะ เป็นเรื่องสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตามที่กล่าวมาข้างต้น และทำได้ไม่ยากโดยเริ่มจากการจัดการตนเองออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลือกกินอาหารมีประโยชน์ จัดการอารมณ์ตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานนำไปสู่ การเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ต่อไป
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง » คอลัมน์
คอลัมน์ล่าสุด ![]()
...คำถามประจำวันเด็ก...
ใต้ถุนสภา- ปรากฏการณ์ "ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน" 21:25 น.
- “หนี้นอกระบบ” 05:33 น.