วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 22:49 น.

การเมือง » คอลัมน์

แยกรัชวิภา

บ้านเมืองออนไลน์ : วันจันทร์ ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565, 18.31 น.

Zoom in นโยบายผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพฯปี 65

Zoom in นโยบายผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพฯปี 65

ศุภภัทรวริศรา  เกตุสุนทร

คณะรัฐศาสน์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์

นับถอยหลังเหลืออีกไม่กี่วันจะถึงวันเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในรอบ 9 ปีในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ปีนี้มีผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพฯ ถึง 31 คน นับว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯเมื่อพูดถึงการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ และสิ่งที่ต้องมาพร้อมกับผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ คือ “นโยบาย”ที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ ที่นำมาพัฒนาและมัดใจคนเมืองกรุงฯถึงแม้ว่าบางนโยบายถูกมองว่าเป็นนโยบายเดิมเพียงแต่ที่ถูกนำมาปรังปรุง แก้ไข เพิ่มเติมและพัฒนาต่อยอดหากแต่นโนบายเดิมที่เกิดจากแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ย่อมดีกว่า แต่หากเป็นเพียงแนวคิดใหม่แต่วิธีการเดิมก็อาจไม่แตกต่างกับที่ผ่านมาเพราะการพัฒนาเมืองกรุงฯมีความซับซ้อนเกินกว่าและถูกกำกับทิศทางด้วยแผนพัฒนากรุงเทพมหานครรวมทั้งกฎหมายจากรัฐบาลกลางที่กำหนดแนวทางบริหารเมืองฯและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร

การสื่อสารนโยบายถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ ใช้ไขประตูเข้าไปนั่งเก้าอี้ตำแหน่งผู้ว่าฯการสื่อสารนโยบายผ่านFacebook Live บนโซเชียลชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) นอกเหนือจากขบวนรถหาเสียง ป้ายหาเสียง แม้แต่การลงพื้นที่สามารถถ่ายทอดเกาะติดสถานการณ์เรียกคะแนนเสียงกันอย่างคึกคัก ทั้งนี้อาจไม่เป็นเพียงแต่การพรรณนาหาเสียงเพื่อช่วงชิงความโดดเด่น แต่จะส่งถึงผลงานการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ท้ายทายผ่านการควบคุมด้วยวาระการดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯจากอดีตที่ผ่านมามีหรือไม่ที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ ได้รับตำแหน่งผู้ว่าฯแล้วแต่ไม่สามารถทำตามนโยบายที่หาเสียงได้ด้วยเหตุประการใดก็ตามแต่หลายคนคงยกมือตอบทันทีว่า“ยังคงมีอยู่”  ซึ่งผู้เขียนมีมุมมองใหม่ว่า หากนำและละนโยบายผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ บวกวาระการดำรงตำแหน่ง (4ปี) บวก คุณลักษณะเฉพาะของผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯและทีม จะเท่ากับการมองเห็นนโยบายที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ จะจบลงพร้อมกับวาระด้วยการทำในสิ่งที่ดีขึ้นหรือไม่ภายใต้โลกแห่งความจริงและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

จากนโยบายให้กลายเป็นคะแนนเสียง ไม่เพียงแต่ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ ชาวกรุงฯ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปต่างก็ลุ้นและเชียรกันสุดพลังว่าใครจะเป็นผู้ว่าฯ คนต่อไปผู้เขียนขอส่งกำลังใจให้ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ ทุกเบอร์ตัวเต็งผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯในรอบ 9 ปี กับนโยบายที่ใช้เรียกคะแนนเสียงมัดใจคนกรุงฯ และประชาชนทั้งประเทศเป็นอย่างไรกันบ้างมาดูกันค่ะ

เบอร์ 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมัครในนามพรรคก้าวไกล

สโลแกน  “เมืองที่คนเท่ากัน”

นำเสนอนโยบายสำคัญ:13 ด้านได้แก่ (1)บริหารโปร่งใสไร้คอร์รัปชั่น(2)ปรับปรุงทางเท้าให้ดี(3)ปรับพื้นที่รกร้างเป็นสวนสาธารณะ(4)ลอกท่อทั่วเมืองลองคลองทั่วกรุง(5)ปรับปรุงการศึกษาให้เป็นไปตามฝันของทุกคน(6)ปรับปรุงศูนย์เด็กเล็กให้มีคุณภาพมาตรฐาน(7)ขึ้นค่าเก็บขยะห้างใหญ่เอาไปปรับปรุงการเก็บขยะครัวเรือน(8)ปรับค่าเดินทางเพื่อลดค่าครองชีพ(9)ค้านต่อสัมปทานรถไฟฟ้า (10)สร้างที่อยู่อาศัยที่ดีมีราคาถูก 1 หมื่นยูนิต(11)จัดสรรงบประมาณตามเสียงของประชาชน(12)จัดบริการฉีดวัคซีนให้ฟรี(13)เพิ่มเงินสวัสดิการผู้สูงอายุ 1,000 บาท/เดือน เด็ก/คนพิการ 1,200 บาท/เดือน

เบอร์ 3 นายสกลธี ภัททิยกุล สมัครในนามอิสระ

สโลแกน“กทม.ดีกว่านี้ได้“

นโยบายสำคัญ: 6 ด้าน(1) พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้รถส่วนตัว (2) พัฒนางานด้านสาธารณสุขให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น (3) พัฒนางานด้านการศึกษา ยกระดับคุณภาพให้มีความเท่าเทียมกัน (4) พัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ระบายน้ำและผังเมือง (5) วางระบบบริหารจัดการที่มีความโปร่งใส (6) พัฒนาเศรษฐกิจสังคมและท่องเที่ยว

เบอร์ 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์

สโลแกน“เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้”

นโยบายสำคัญ : 5 ด้าน ได้แก่  (1) แก้ปัญหาพื้นฐาน ฝนตก น้ำท่วม รถติด ตึกถล่ม (2) ปรับปรุงการศึกษาให้ได้มาตรฐาน (3) ปรับปรุงงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ (4) แก้ปัญหาด้านคุณภาพอากาศ (5) แก้ปัญหากรุงเทพฯ จมบาดาลจากสถานการณ์โลกร้อน

เบอร์ 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง สมัครในนามอิสระ

สโลแกน  “กรุงเทพฯ ต้องไปต่อ”

นำเสนอนโยบายสำคัญ:8 ด้าน ได้แก่ (1) ผลักดันโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมต่อเนื่อง (2) สร้างความสะดวกในทุกการเดินทางด้วยล้อ-ราง-เรือ (3) ส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับคนเมืองหลวงและระบบการรักษาที่มีคุณภาพมากขึ้น (4) สร้างสิ่งแวดล้อมและเมืองที่ดี จะเดินหน้าปลูกต้นไม้ ลดภาวะโลกร้อน เพิ่มพื้นที่สีเขียวทำกรุงเทพฯ (5) กทม.ให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ(6) เติมเต็มความปลอดภัยในเมืองเปลี่ยนกล้อง CCTV (7) ปรับปรุงทางม้าลายเชื่อมกรุงเทพฯ สู่เมืองดิจิทัล เพื่อยกระดับการบริการให้เกิดความเท่าเทียมด้วยดิจิทัล (8) ดูแลคนทุกกลุ่มทุกวัย ทำให้ประชาชนเข้าถึงภาครัฐ ไปโรงพยาบาลติดต่อสำนักงานเขตด้วยความกระชับรวดเร็ว

เบอร์ 7 น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมัครในนามอิสระ

สโลแกน “หากหยุดโกง กรุงเทพฯ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง”

นำเสนอ นโยบายสำคัญได้แก่(1) บำนาญประชาชน 3,000 บาท(2)ไม่ต่อสัมปทานบีทีเอส ลดค่าตั๋วเหลือ 20 บาทตลอดสาย (3) อยู่กับโควิด-19 ให้ได้ด้วยฟ้าทะลายโจรและยาไทย (4) ไม่ทำโปรเจกต์ใหญ่(5)สนับสนุนขุดลอกคูคลองทั่วกรุงเทพฯ 1,600 สาย เพื่อเพิ่มการจ้างงานเกิดการท่องเที่ยวแบบตะวันออก(6)ตั้งกองทุนติดโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของประชาชนเดือนละ 500 บาท(7)ติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มเติมร่วมกับเอกชนกว่า 5 แสนตัวเพื่อให้มีความปลอดภัย

เบอร์ 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ สมัครในนามอิสระ

สโลแกน “มาช่วยกันทำกรุงเทพฯให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน”

นำเสนอนโยบายสำคัญพัฒนา 9 ด้าน 9 ดีได้แก่ (1) ปลอดภัยดี คือการรับเรื่องร้องเรียนจุดเสี่ยงถ้ามีแก้ไขทันที (2) สุขภาพดี ยกระดับศูนย์สาธารณสุข คลินิกโรคคนเมือง (3) สิ่งแวดล้อมดี เช่น การปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น ประกาศสงครามกับฝุ่น เปลี่ยนขยะเป็นรายได้ (4) เรียนดี คืนครูให้กับโรงเรียน เปิดโรงเรียนเป็นพื้นที่ให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์วันเสาร์-อาทิตย์ (5) บริหารจัดการดี (6) เดินทางดี กทม.ต้องเป็นศูนย์กลางดำเนินการควบคุมไฟจราจรดูเส้นทางรถเมล์ (7) โครงสร้างดี แก้ไขผังเมือง ทำโครงสร้างตามผังเมืองให้ทัน (8) เศรษฐกิจดีเป็นเรื่องใหญ่กระตุ้นเศรษฐกิจทำตัวเป็น “ผู้ว่าฯ เที่ยงคืน” (9) สร้างสรรค์ดี เปิดพื้นที่ให้เด็กรุ่นใหม่ทำงาน สร้างธุรกิจใหม่ๆ

เบอร์ 11 นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี สมัครในนาม พรรคไทยสร้างไทย

สโลแกน  “ผมจะทำสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม.ไม่เคยทำ”

นโยบายสำคัญสร้างเมืองหลวงด้วย3P โดย Pแรก คือ PEOPLE ที่แปลว่า ผู้คน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาและลงทุนมากที่สุด โดยเฉพาะคุณภาพการศึกษา ที่จะทำให้ผู้ปกครองสามารถเข้าถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐานที่อยู่ใกล้บ้านได้Pที่สอง คือ PROFIT การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยการปลดล็อกอุปสรรคต่างๆ ในการทำมาหากินของประชาชน โดยใช้ระบบ Blockchain มาทำให้กรุงเทพฯ มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และPสุดท้าย PLANET ที่จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครของโลก หรือ Global City