วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 22:32 น.

การเมือง » คอลัมน์

แยกรัชวิภา

บ้านเมืองออนไลน์ : วันพฤหัสบดี ที่ 02 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 19.57 น.

ผู้ว่า กทม. คนใหม่และความหวังของคนชาวกรุงฯ

ผู้ว่า กทม. คนใหม่และความหวังของคนชาวกรุงฯ

 

ศุภภัทรวริศรา  เกตุสุนทร

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์

เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติรับรองนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการหลังจากได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2565 ด้วยคะแนนเสียงกว่า 1.38 ล้านคะแนน ผู้เขียนขอแสดงความยินดีกับผู้ว่าราชการ กทม. คนใหม่ อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าจากผลเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นับครบ 100 % อย่างไม่เป็นทางการที่ปรากฎว่า หมายเลข 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์  สังกัดอิสระ คว้าชัยไปด้วยคะแนน 1,386,215 คะแนน”ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์และสร้างสถิติใหม่เป็นผู้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุดในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้กับนโยบาย 9 ด้าน กว่า 200 นโยบาย พัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็น “อุดมนิเวศมหาสถาน”มหานครเต็มไปด้วยความหวัง มีความสวยงาม มีสิ่งที่ดีขอให้พวกเราเดินไป เราเห็นต่างได้ แต่อย่าเกลียด โกรธกัน เชื่อว่าจะทำให้กทม. เป็นมหานครสวยงาม มีความสุข ทุกคนเดินไปพร้อมกัน และน่าอยู่สำหรับทุกคนจากคำกล่าวของ นายชัชชาติสิทธิพันธ์ ที่ได้รับสมญานามที่ประชาชนตั้งให้ว่า “บุรุษที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” ที่ขออาสาเข้ามารับหน้าที่เป็น “ผู้นำแห่งความหวัง” ให้ทุกคน “จะไม่ทำให้ผิดหวัง”

เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติรับรอง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อย่างเป็นทางการ “ที่มาพร้อมกับความคาดหวัง” เท่าที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์โลก แม้แต่ในที่ที่มืดมนที่สุด การมีความหวังก็ยังเป็นสิ่งสำคัญเสมอความคาดหวัง (Expectation Theory) เป็นความเชื่อหรือความคิดอย่างมีเหตุผลในแนวทางที่เป็นไปได้หรือเป็นความหวังที่คาดการณ์ว่าต้องการจะได้ในอนาคตของบุคคลความคาดหวังจึงเป็นสภาวะทางจิตที่บุคคลคาดคะเนล่วงหน้าบางสิ่งบางอย่างว่าควรจะมีควรจะเป็นหรือควรจะเกิดขึ้นตามความเหมาะสม ความหวังจะผูกติดอยู่กับตัวบุคคลแบบอิสระเพราะหากไม่ผูกติดกับตัวบุคคลก็จะทำให้กลายเป็นระบอบซึ่งไม่ค่อยมีใครได้ผลประโยชน์นัก จึงมีจำนวนมากกว่ามากเน้นบทบาทของตนในฐานะแบบอิสระมุ่งเน้นการทำงานให้กับแก่ประชาชนเป็นหลัก ผู้เขียนมองว่า สิ่งนี้เป็นการสร้างสิ่งใหม่ที่จะเอื้ออำนวยสุขให้แก่สังคมเมืองกรุงฯได้โดยตรง เพราะจากความหวังที่ถูกสร้างให้ประชาชนจะมีลักษณะสอดคล้องกับผลประโยชน์ที่ปัจเจกชนและขณะเดียวกันก็จะพยายามสร้างควาเชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม เพื่อที่จะทำให้ได้รับประโยชน์แต่ละกลุ่ม ตามที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กล่าวไว้ว่า หากได้เป็นผู้ว่าเมืองกรุงฯ 3 สิ่งแรกที่จะทำทันทีคือ การหารือกับข้าราชการ กทม. เพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายของตน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องแก้ไข ปัญหาปากท้องประชาชนและจะเริ่มลงพื้นที่ไปดูปัญหาทันที เช่น หากฝนตกจะไปดูจุดเสี่ยงน้ำท่วม เพราะเมื่อประชาชนสั่งมาแล้วให้ไปทำงานก็ต้องทำงานให้ดีโดยจะเริ่มด้วย 1.การทำให้ข้าราชการเดินไปด้วยกัน 2. คือจุดเสี่ยงอันตรายและ 3.เรื่องปากท้อง และความพร้อมในการเริ่มงานเป็น “ผู้ว่า กรุงเทพมหานคร”ทันที

เมื่อพูดถึง “ความคาดหวัง” ตรรกะของความหวังก็คือ “ศัตรู” ของความหวังที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่จะขัดขวางไม่ให้ได้รับผลประโยชน์ที่กำลังได้หรือกำลังจะได้ แต่ตรรกะความหวังก็จะเป็นแรงขับที่เน้นบทบาทให้โดดเด่นขึ้นเป็นการสร้างภาพแบบเปรียบเทียบระหว่างอนาคตที่กำลังจะมองเห็นภาพกับอดีตที่ถูกกดทับทำให้เกิดภาวะไร้โอกาสที่สังคมชาวกรุงฯ มองว่าแทบจะเป็นเรื่องปรกติไปแล้วของสังคมมนุษย์ที่กำลังต้องการความเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อสังคมต้องการเปลี่ยนแปลงความ“คาดหวัง” ย่อมต้องการปรับระบบความสัมพันธ์ใหม่ทุกมิติ บางครั้งตามกระแสข่าวบนโลกโซเซียลยังมีบางกลุ่มพยายามยื้อยึดและฉุดรั้งความสัมพันธ์เดิมเอาไว้ ไม่ต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากนักเพราะหากเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเมื่อใดย่อมเกิดความคาดหวังใหม่ทันที ความหวังเดิมถูกกัดกร่อน ลดลงและหมดความคาดหวังจึงเป็นหน้าต่างแห่งโอกาสให้ผู้ที่เข้ามาสร้างความหวังใหม่แบบ Boomerang Effect ว่าถ้าอยากให้ใครทำอะไร ให้เชิญชวนมาร่วมกระทำสิ่งนั้นเหล่านี้น่าจะเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดวิวัฒนาการขึ้นในยุคสมัยนี้อาจเป็นได้

หลังจากผลการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ครั้งที่ 9 สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พร้อมกับการส่งมอบโอกาสและความคาดหวังให้กับผู้ว่ากทม. คนใหม่ เป็นที่พึ่งแห่งความหวังของชาวกรุงฯ ที่เทคะแนนเสียงให้สามารถคว้าชัยในสนามแข่งขันครั้งนี้ เมื่อการสร้างฐานความหวังใหม่ย่อมเกิดแรงเสียดทาน ยิ่งเกิดแรงเสียดทานมากเท่าไร ย่อมเกิดแรงโต้กลับทันทีแบบ Social Effectที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงและทำให้มองอนาคตได้ชัดเจนขึ้นโลกยุคใหม่เฉกเช่นปัจจุบันอะไรที่มองไม่ชัดหรือเห็นได้ไม่ชัดเจนก็จะกระตุ้นต่อมความหวังให้ขยับขยายให้เกิดความโปร่งใสโชติช่วงกระจ่างมากขึ้น ซึ่งทำให้กลุ่มผู้ที่ไม่เห็นความหวังออกมาคัดค้านทันที  แต่ไม่ว่าการคัดค้านนั้นจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม บรรยากาศการเมืองเช่นนี้อาจปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ว่า กทม. คนใหม่ต้องนำความหวังมาเปิดโอกาสให้โต้เถียงแสดงความคิดเห็นและหาแนวทางร่วมกันในการสร้าง“ความสมหวัง” ให้เกิดขึ้นแบบกว้างและสร้างสรรค์และเมื่อหาก “ความสมหวัง”เกิดจาก'ทำงาน ทำงาน ทำงาน' ที่ถูกสกรีนอยู่บนเสื้อยืดสบายๆ ของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ถูกลงมือทำอย่างจริงจัง พลังแห่งความสมหวังจะนำความสุข อยู่ดีกินดี ทุกคนเดินไปพร้อมกันและเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน มาสู่ชาวกรุงฯ และประชาชนบนโลกสมัยใหม่ที่เรียกว่า“VUCA World”ที่โลกมีแต่ความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครือหากผู้ว่ากทม.คนใหม่พร้อมด้วยชาวกรุงฯและประชาชนทั่วไปร่วมกันสร้าง “ความสมหวัง”นำพากรุงเทพมหานครเป็นมหานครชั้นนำของโลกผู้เขียนมั่นใจว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นความสมหวังแบบมวลรวมที่จะส่งไม้ต่อไปถึงอนาคตต่อไป