วันศุกร์ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 10:33 น.

การเมือง » คอลัมน์

แยกรัชวิภา

บ้านเมืองออนไลน์ : วันพุธ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565, 12.29 น.

ซอฟเพาเวอร์ชุมชนด้านวัฒนธรรม

ซอฟเพาเวอร์ชุมชนด้านวัฒนธรรม

ดร.วิสูตร ดารากัย
วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

เมื่อกล่าวถึงพลังอันบริสุทธิ์ของชุมชนด้านวัฒนธรรมจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 1.พลังอันบริสุทธิ์ 2.ชุมชน 3.วัฒนธรรม

พลังอันบริสุทธิ์เป็นพลังของเยาวชนที่พร้อมจะเสียสละเพื่อจะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าโดยไม่มีสิ่งใดแอบแฝงแล้วอะไรคือสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในความบริสุทธิ์ของเยาวชนการแสดงพลังของกลุ่มชนเยาวชนหากไม่มีกลุ่มที่ค่อยหาผลประโยชน์ก็จะทำให้เป้าหมายของแสดงออกนั้นเป็นไปในทิศทางที่สมเหตุสมผลและสามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานได้อย่างบริสุทธิ์แน่นอนตราบใดที่มีกลุ่มคนแอบแฝงเข้ามาเพื่อหาประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งก็จะสร้างปัญหาต่อข้อเรียกร้องและจะไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสิ่งเหล่านี้ก็จะทำลายความตั้งใจของชุมชนที่ต้องการแสดงออกถึงความตั้งใจของพวกเขาเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

ดังนั้นซอฟเพาเวอร์จึงเป็นแนวทางที่ดีหากมีความตั้งใจในการแสดงออกเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชนให้ทันกับโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและนับว่าเป็นความตั้งใจที่จะผลักดันโครงการต่างต่างที่ชุมชนได้นำเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ไขเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อันจะทำให้ทุกคนในชุมชนได้รับผลประโยชน์ร่วมกันโดยปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลภายนอกหรือกลุ่มที่พยายามเข้ามามีบทบาทเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ด้านการเมือง

2.ชุมชนหมายถึงชุมชนใดชุมชนหนึ่งที่แสดงพลังเพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงกิจกรรมที่แสดงออกอันไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่ง

3.วัฒนธรรม (Az-zaqafah) หมายถึงวัฒนธรรม โดยทั่วไปวัฒนธรรมจะได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานานและเป็นประโยชน์สังคมนั้นๆ ซอฟเพาเวอร์จึงเป็นการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ซึ่งจะทำให้ชุมชนเกิดความสามัคคีและไม่ทำลายความมั่นคงของรัฐ

ซอฟเพาเวอร์ชุมชนด้านวัฒนธรรมจึงเป็นที่ต้องการของทุกคนเพราะไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองและจะมุ่งเน้นให้ทุกคนทุกศาสนาเกิดความเข้าใจซึ่งและกันอันจะนำไปสู่ความสงบสุขของคนภายในประเทศซึ่งจะเป็นภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับทุกคนการนำเอาวัฒนธรรมด้านศาสนาที่จะก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับศาสนาอิสลามการใช้ซอฟเพาเวอร์มีอยู่ในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การละหมาด การถือศีลอดในเดือนรอมะฎอน การประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นต้น เหล่านี้เป็นพิธีกรรมที่มีบทบัญญัติมาจากอัลลอฮ์

ในการนี้จะขอกล่าวถึงรูปแบบการประกอบพิธีฮัจญ์ซึ่งสร้างความสามัคคีในหมู่ประชาชาติอิสลามแม้ว่าพวกเขาจะมาจากประเทศต่างต่างและมาจากกลุ่มชาติพันธ์ต่างต่าง โดยตามหลักการศาสนาอิสลามการประกอบพิธีฮัจญ์นับว่าเป็นบัญญัติศาสนาอันสุดท้ายซึ่งเป็นข้อบังคับที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติเมื่อเขามีความสามารถและเป็นการบังคับเพียงครั้งเดียวในชีวิตโดยบุคคลที่จำเป็นในการเดินทางไปประกอบ พิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบียจะต้องครบเงื่อนได้ดังนี้ 1.มีความสามารถทางด้านร่างกาย 2.มีความสามารถทางด้านทรัพย์สิน 3.ไม่เป็นอุปสรรคในการเดินทาง 4.ไม่บังคับสำหรับบุคคลที่วิกลจริตหรืออื่นๆ

อนึ่งรูปแบบการประกอบพิธีฮัจญ์ตามหลักการอิสลามในหนึ่งปีมีครั้งเดียวและต้องเดินทางไปในสถานเดียวเท่านั้นเป็นเดือนเดียวและเป็นเวลาเดียวกันซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 6 วันจะมีรายละเอียดมากมายซึ่งการมาอยู่ร่วมกันของมุสลิมประมาณ 2 ล้านกว่าคนนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างมากแม้ว่าพวกเขาจะมาจากหลายประเทศแต่ทุกคนจะพยายามอยู่ในพิธีกรรมนี้จนกว่าจะเสร็จสิ้นโดยที่ไม่มีการทะเลาะกันหรือชกต่อยกันเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติที่ถูกกำหนดมาจากศาสนฑูตมุฮัมมัดเพราะฉะนั้นบุคคลที่อยู่ในการประกอบพิธีฮัจญ์จะต้องอดทนและอยู่ด้วยความสำรวมตนเสมอไม่สร้างความเดือนร้อนให้กับใครคนใดคนหนึ่งบางครั้งอาจจะมีบุคคลเข้ามารบกวนจิตใจเขาจะต้องอดทนเพื่อให้การปฏิบัติศาสนกิจสำเร็จตามเป้าประสงค์และครบถ้วนสมบูรณ์

หากว่ามีการชกต่อยกันในระหว่างที่ประกอบพิธีฮัจญ์บุคคลคนนั้นนับว่าเขาจะไม่ได้รับผลานิสงค์ตามที่อัลลอฮ์ตรัสไว้ถึงแม้ว่าเขาอาจจะทำเสร็จสิ้นทุกกระบวนการก็ตาม จะเห็นว่ากระบวนการสร้างความสามัคคีที่ก่อเกิดพลังอันบริสุทธิ์ของศาสนาอิสลามมิได้มาจากวิธีคิดของใดคนหนึ่งแต่มาจากพระเจ้าที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันของคนจำนวนมากในสถานที่ที่มีอย่างจำกัดและมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายซึ่งไม่พบว่าจะมีความขัดแย้งกัน จึงเป็นสิ่งหายากและทำให้พวกเขาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศและมีการปฏิสัมพันธ์กันในเวลาต่อมาเนื่องจากพวกเขาได้ทำความรู้จักในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นศูนย์มุสลิมโลกที่พระเจ้าได้กำหนดให้ผู้ศรัทธาได้มารวมตัวกันปีละ 1 ครั้ง ตามความสามารถของแต่ละคน

สรุปได้ว่ากระบวนการส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามัคคีกันจะต้องใช้กำลังทุกภาคส่วนให้เข้ามามีบทบาทในการนำเอาขุมกำลังของเยาวชนไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและจะเป็นการดึงเยาวชนให้ออกห่างจากอบายมุขทุกประเภทและหลีกเลี่ยงจากกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมืองหากทุกศาสนามีวิธีการหรือแนวคิดที่จะให้กลุ่มของแต่ละพื้นที่ใช้พละกำลังที่มีอยู่ให้ถูกต้องก็จะส่งผลดีต่อสังคมโดยรวมแน่นอนหากเราจะรอให้คนยุคก่อนปฏิบัติคงจะไม่ทันเสียแล้วเพราะพวกเขายังไม่รู้ว่าอะไรคือธรรมและอะไรคือมารร้ายและเราจะไม่ได้อะไรเลยฉะนั้นต้องรอให้พวกเขาจากโลกนี้ครับ