วันอาทิตย์ ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 09:18 น.

การเมือง » คอลัมน์

แยกรัชวิภา

บ้านเมืองออนไลน์ : วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 15.10 น.

ตำบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชนเข้มแข็งสร้างเศรษฐกิจไทยแข็งแรง

ตำบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชนเข้มแข็งสร้างเศรษฐกิจไทยแข็งแรง

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทร์ฐิตา ทุมเกิด

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา

ที่จริง แนวคิดการพัฒนาประเทศที่ต้องเริ่มต้นที่ชุมชนนั้น เป็นแนวคิดที่ถูกต้องและรับรู้กันมานานแล้ว ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ที่เรายอมรับรูปแบบและวิธีคิดการพัฒนาประเทศแบบทันสมัยมาใช้กับกรอบความคิดการพัฒนาในสังคมไทย ซึ่งมักจะเริ่มด้วยการเติมเต็มทางวัตถุนิยม สร้างภาพจำของการพัฒนาคือความพร้อมด้านสาธารณูปโภค เน้นการก่อสร้าง และทุกโครงการจะใช้เม็ดเงินมหาศาล ตัวชี้วัดการเป็นประเทศพัฒนาเราเน้นที่วัตถุ ไม่เน้นการพัฒนาที่จิตใจ เมื่องบประมาณมากจิตใจไม่เข้มแข็งพอก็เป็นช่องทางที่จะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในแบบต่างๆ ตามมาได้ ซึ่งที่ผ่านมา จะเป็นข่าวเรื่องนี้ตามสื่ออยู่เป็นระยะ  ตลอดเวลาที่ผ่านมา ความเข้มแข็งด้านจิตใจ ความรับผิดชอบของชุมชนมีน้อยกว่าการพัฒนาโครงสร้างทางวัตถุ ที่นับวันจะวิ่งเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ จนสติปัญญา จิตสำนึกการควบคุมจิตใจของคนไม่ให้ทำทุจริตมีกำลังน้อยถอยลงไปด้วยเช่นกัน

การมุ่งขับเคลื่อนนโยบายสร้างความสะดวกสบายทางกายภาพ โดยเน้นความเจริญ คือการพัฒนานั้น กลับยิ่งทำให้ชุมชนห่างไกลและยิ่งขาดปัจจัยเอื้อหนุนให้เข้าถึงความทันสมัยมากขึ้นไปอีก ภาพความเป็นชุมชนชายขอบที่ฟ้องสายตาประชาคมให้เห็นถึงเนื้อในของความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดจากการพัฒนา ที่พัฒนาไปไม่ถึงชุมชนท้องถิ่น

เกือบ 1 ปี ที่ความริเริ่มของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)ซึ่งได้จัดเวทีเพื่อเสนอทิศทางการพัฒนาชุมชน โดยยกโมเดลพัฒนาที่เรียกว่า ตำบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชนเข้มแข็ง มาเป็นยุทธศาสตร์โดยเน้นการพัฒนาประเทศจากฐานล่าง เหมือนสร้างพระเจดีย์ต้องสร้างฐานให้มั่นคง โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา พอช.ตั้งเป้าไว้ที่จำนวน 800 ตำบล ในจำนวนชุมชน5 ภาคๆ ละ 160 ตำบล ใช้ตัวชี้วัดความเข้มแข้งของชุมชน 4 ข้อ คือคนมีแนวคิดและความสามารถเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น การปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์โครงสร้างหรือนโยบาย  และประการสุดท้าย คือองค์กรชุมชนเข้มแข็งเป็นชุมชนที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ มีเจตนารมณ์จะยกแนวคิดตำบลนวัตกรรมเป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้แนวคิดที่ว่าตำบลต่างๆ ในประเทศมีนวัตกรรมที่เป็นทุนทางสังคมมาก ดังนั้น กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน การวิจัยโดยชุมชน  ธรรมนูญตำบล  วิสาหกิจชุมชน  กองทุนตำบล  ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ดี ที่สามารถนำมาปรับใช้และพัฒนาต่อยอดได้  โดยเฉพาะเรื่องแผนแม่บทชุมชน มีความสอดคล้องกับแนวคิดแห่งรัฐบาลที่ริเริ่มทำ One  Plan ซึ่งเกิดจากฐานคิดว่าการพัฒนาประเทศด้วยระบบแผนเดียว และทำการเชื่อมโยงกระทรวง กรม และพื้นที่ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านชุมชนไว้ด้วยกัน โดยบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้งแกนนำ เครื่องมือ เวทีกลาง ศาสตร์และศิลปะเข้ามาทำงานร่วมกัน

ในขณะที่รัฐบาล มีท่าทีส่งเสริมและสนับสนุนให้การสร้างเสริมตำบลเข้มแข็งเป็นวาระแห่งชาติ การขับเคลื่อนตำบลเข้มแข็ง เพื่อประเทศมั่นคงนั้น ต้องเอาจริงและต้องกำหนดเป็นนโยบายแก่ส่วนราชการที่มีหน้าที่ต้องทำความเข้าใจแนวคิด แนวทางการบริหารจัดการแบบหุ้นส่วนในระดับพื้นที่และพัฒนาระบบกลไก ตลอดจนวิธีการทำงานสนับสนุนการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน  สร้างตัวชี้วัดร่วมเชิงกระบวนการ ให้ส่วนราชการที่มีภารกิจในระดับตำบลและพื้นที่ ให้เกิดการสนองนโยบายนี้อย่างจริงจัง ประการสำคัญคือมีแผนงาน โครงการ และงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาระบบการจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน เปิดโอกาสให้มีเวทีสมัชชาตำบลเข้มแข็ง ทั้งระดับตำบลอำเภอและจังหวัดโดยตั้งเป้าให้มีการจัดตั้งสมัชชาตำบลเข้มแข็งแห่งชาติ เพื่อเป็นพื้นที่กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการจัดการตำบลเข้มแข็ง สำหรับตัวอย่างชุมชนต้นแบบนวัตกรรม ที่น่าสนใจ ปัจจุบันมีหลายแห่ง อย่างเช่น

สัจจะออมทรัพย์ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปางการเรียนรู้ของชาวบ้านแห่งนี้ พบว่ามีพัฒนาการมาจากปัญหาเรื่องหนี้สิน โดยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม บริโภคนิยมมีผลทำให้ชาวบ้านก่อหนี้สิน แล้วไปทำการกู้เงินนอกระบบซึ่งทำให้มีผลตามมาคือมีหนี้สินพิ่มขึ้น จึงเกิดการตั้งกองทุนนวัตกรรมชุมชน ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สิ่งที่เป็นนวัตกรรม สะท้อนได้จากตัวชี้วัดอย่างเช่น ได้มีการจัดตั้งธนาคารที่ชื่อว่าสัจจะออมทรัพย์การจัดทำบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายภายในครัวเรือนกลุ่มเยาวชนได้จัดตั้งธนาคารสมองขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านพลังของคนในหมู่บ้าน จึงทำให้เกิดเป็นพลังของนักสู้ หล่อหลอมให้เกิดความสามัคคี จึงทำให้ผ่านพันวิกฤตนี้ไปได้การใช้งานวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนามีการตั้งดำถามต่อประเด็นสถานการณ์ปัญหาเรื่องหนี้สินและใช้กระบวนการค้นหาเก็บข้อมูลตัวเลขหนี้สินมาวิเคราะห์สถานการณ์อันนำไปสู่การสร้างความตระหนักในที่สุด จากนั้นจึงนำมาสู่การแก้ไขปัญหาใช้กระบวนการเรียนรู้เน้นการสร้างปัญญาให้คน แล้วให้คนนำไปออกแบบงานที่เน้นการเรียนรู้

การจัดการป่าของคนตำบลเขาชนกันต.เขาชนกัน อ.แม่วงก็ จ.นครสวรรค์ชุมชนแห่งนี้มีการสร้างนวัตกรรมชุมชนที่เข้มแข็งด้านความมั่นคงทางอาหารและกลุ่มอาชีพที่หลากหลายด้วยการจับเอาแนวคิดการมีส่วนร่วมของผู้นำพันธุ์ดีเป็นยุทธศาสตร์ของชุมชน มีการค้นหาผู้นำทั้งที่เป็นทางการและผู้นำตามธรรมชาติอย่างเช่นตัวปราชญ์ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานในท้องที่ท้องถิ่น และสภาองค์กรชุมชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ จนกลายเป็นพลังร่วมของคนในชุมชนตำบลเขาชนกัน โดยได้มีการตั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของภาคีเครื่อข่ายในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ผ่านกลไกตลาดชุมชน ถนนคนกินได้ ให้ชุมชนมีสิทธิ์บริหารจัดการปาธรรมชาติโดยชุมชนเพื่อคนในชุมชนเพื่อคนตำบลเขาชนกันสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาชนกัน มีการประชุมคณะกรรมการในการทำงานวางแผนเพื่อดำเนินการจัดเก็บข้อมูล ศักยภาพของดีของตำบล วางแผนเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนตำบลและดำเนินการจัดทำตลาดป่าชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและอาชีพร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเขาชนกัน พัฒนาชุมชน และหน่วยงานที่กี่ยวข้องทำการบูรณาร่วมกัน วางระบบกลไกการจัดการ ทั้งในส่วนที่เป็นกลุ่มองค์กรเครือข่ายบทบาทมีคณะทำงานโดยแต่ละคณะทำงานจะมีผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านเก็บและเรียบเรียงข้อมูลของหมู่บ้านตนเองแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อทำเส้นทางการท่องเที่ยวของตำบล

สภาองค์กรชุมชนเป็นสะพานเชื่อมงานการพัฒนาต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ เป็น แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมระดับประเทศในปัจจุบัน เกิดจากความร่วมมือของชุมชนช่วยกันพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายในท้องถิ่น ขยายภาคีงานเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนรวมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เครือข่ายข้าว เครือข่ายก่อสร้าง เครื่อข่ายช่างชุมชน เครือข่ายประมงพื้นบ้าน เครือข่ายภูมินิเวศน์ วิถีวัฒนธรรม เครือข่ายร้านค้าชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในด้วยฐานทรัพยากรเติมที่เกื้อหนุนทำให้การจัดท่องเที่ยวโดยชุมชนนี้มีชื่อเสียงในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ของหน่วยงานและองค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมความร่วมมือกันก่อให้เกิดการจัดทำแผนพัฒนาตำบลบึงโขงหลงบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี พ.ศ.2561-2565ในยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นต้านการเกษตรและการพัฒนาคุณภาพชีวิตก่อให้เกิดพลังหนุนเสริมให้ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบึงโขงหลงทั้งหมดเป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี จัดทำฐานข้อมูลปัญหาความเดือดร้อนและสร้างภาคีการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานจำนวนมากเช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ขบวนการองค์กรชุมชนจังหวัดบึงกาฬ เทศบาลตำบลบึ่งโขงหลง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบึ่งโขงหลง สำนักงานเกษตรอำเภอบึงโขงหลง พมจ.บึ่งกาฬ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสติการสังคมก่อให้เกิดการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะสภาองค์ทรชุมชนตำบลบึงโขงหลง เพื่อยกระดับชุมชนให้สามารถจัดการท่องเที่ยวชุมชนและแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ได้

จะเห็นได้ว่า แผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือขององค์กรชุมชนในการกำหนดอนาคตของตนเอง เพื่อพัฒนาไปสู่ชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเองตามวิสัยทัศน์ของขบวนการวางแผนพัฒนาชุมชนซึ่งยุคแห่งการพัฒนาสมัยใหม่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ซึ่งประชาชนต้องมีแผนพัฒนาของตนเองได้ สำหรับการวางแผนพัฒนาชุมชนระดับตำบลของขบวนองค์กรชุมชนเกิดขึ้นช่วงปี 2542-2543 และมีการต่อยอดโดยการส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชนประมาณปี 2547-2552 โดยขยายได้ 1,400 ตำบลในปี พ.ศ.2550 และ พ.ศ.2552 ก็ได้ยกระดับเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตำบลและเป็นชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ภายใต้ยุทธศาสตร์ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนคือการพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป้นตัวตั้ง สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีระบบการพัฒนาที่ไปสู่การจัดการตนเองได้ดีและมีจำนวนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ตำบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชนเข้มแข็ง ยังไม่มีพลังมากพอ ที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างที่อยากให้เป็น แม้ว่าขณะนี้ทุกชุมชนจะมีการจัดทำแผนชุมชนเกือบทุกชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลแล้วก็ตาม แต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชุมชนที่เป็นฐานรากของการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนชุมชนเมืองและชนบทไปสู่อุดมคติที่ตั้งไว้ได้ส่วนใหญ่จะเป็นแผนสวยหรู ดูดี มีหลักวิชาการ แต่ไม่สามารถแปลงไปสู่การปฎิบัติให้เป็นรูปธรรมได้  เพราะสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วแนวคิดที่สำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาและสร้างนวัตกรรมของชุมชนและท้องถิ่น คือมีโจทย์การพัฒนามาจากวัตถุติบในชุมชน หรือความต้องการแก้ปัญหาในชุมชนมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก มีการต่อยอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาของท้องถิ่นมีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมมีการเรียนรู้ และมีการทดลองปฏิบัติจริง สามารถนำไปเป็นต้นแบบหรือประยุกต์ใช้ ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตช่วยลดปัญหา ตลอดจนแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่นได้ ขณะที่ปัจจุบันเหตุการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น เช่น การระบาดของโรค ผลกระทบจากเศรษฐกิจ สภาวะเงินเฟ้อ การเมือง นโยบายของรัฐ  ระเบียบระบบราชการ  การมีส่วนร่วมจากประชาชน ภาวะผู้นำ ภาพรวมของปัญหาชุมชนมีปัจจัยจากทั้งเรื่องการบริหารราชการรวมศูนย์  หน่วยงานหรือคนนอกดึงทรัพยากรออกจากชุมชน  ชุมชนขาดพลังในการพึ่งตัวเองชุมชนฐานรากมีความอ่อนแอ  เหล่านี้ล้วนเป็นโจทย์ที่ยาก ต่อการขับเคลื่อนตำบลต้นแบบนวัตกรรมชุมชนเข้มแข็ง เพื่อสร้างเศรษฐกิจไทยให้แข็งแรงได้ในระยะเร่งด่วนและยังเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนที่แก้ได้ยาก