การเมือง » คอลัมน์
แยกรัชวิภา
บ้านเมืองออนไลน์ : วันพฤหัสบดี ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565, 18.45 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

ศรีลังกาล่มสลาย “ผู้นำเก่ง-ดี-มีสุขจึงสำคัญ”
ศรีลังกาล่มสลาย “ผู้นำเก่ง-ดี-มีสุขจึงสำคัญ”
ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์
หลังจากผู้นำประเทศศรีรังกาออกมายอมรับว่าประเทศสู่ความ “ล่มสลาย” ภายใต้ผู้นำตระกูล “ราชปักษา” เรื่องนี้ถูกมองเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ประเทศศรีลังกาเดินทางถึงขั้นขีดสุด เพราะผู้นำมุ่งแต่กู้เงินเพื่อสร้างความนิยมโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวต่อโครงสร้างเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการทำรายได้เพื่อชำระหนี้และเสียงเล่าลือว่าผู้นำประเทศทำการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่เคยลบเลือนหายไปตลอดช่วงเวลาที่ครองอำนาจความเป็นผู้นำ ข้อกล่าวหานี้หวนกลับมาอีกครั้งในช่วงเกิดการประท้วง ประชาชนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าผู้นำประเทศคือผู้เปิดทางให้เครือญาติในตระกูลเข้ามาปล้นชิงความมั่งคั่งของประเทศ แสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินส่วนตน
กว่าจะมาเป็นประเทศศรีรังกา
ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่เป็นเกาะอยู่ทางใต้ของอินเดีย มีรูปทรงคล้ายหยดน้ำตา มีพื้นที่ 65,610 ตารางกิโลเมตร มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีที่ 126,400 บาท ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเป็นดินแดนที่มีหลายชื่อชาวสิงหลส่วนใหญ่ เรียกดินแดนนี้ว่า “ลังกา” (Lanka) ในปี 1972 รัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “ศรีลังกา”หลังจากประเทศศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1948เศรษฐกิจของศรีลังกาได้เติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีการพัฒนาท่าเรือสมัยใหม่ ประกอบกับจุดเด่นที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นเกาะ จึงเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลรัฐบาลพยายามเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจจากเดิมที่เน้นเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมมุ่งเน้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น
ในปี 1977 ประเทศศรีลังกา เริ่มนำระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีมาปรับใช้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งเสริมวิสาหกิจเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้นจนกระทั่งในปี 2001ผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกรวมกับการทุจริตที่สั่งสมเรื่อยมาทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นขาดทุนมหาศาล จนเป็นภาระด้านการเงินของรัฐบาลนอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน จนทำให้สหภาพยุโรปเพิกถอนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรรวมทั้งอัตราภาษีสินค้าส่งออกของศรีลังกาที่ไปขายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป จนส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของประเทศประเด็นที่สำคัญประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา ที่หลายครั้งนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางชนชาติ
“ผู้นำ” ศรีรังกากับความ “ล่มสลาย”
ประเทศศรีลังกาตกอยู่ภายใต้ผู้นำตระกูล “ราชปักษา” มาอย่างยาวนานจนได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในตระกูลที่มีอิทธิพลระดับประเทศมากที่สุดในโลกเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศศรีลังกา “ล่มสลาย” จากการมีหนี้สินเกินตัวใช้ระบบเพื่อนพ้องน้องพี่ให้อยู่ในตำแหน่งผู้นำในหน่วยงานของรัฐ เพราะผู้นำมุ่งแต่กู้เงินเพื่อสร้างความนิยมโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวต่อโครงสร้างเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการทำรายได้เพื่อชำระหนี้และเสียงเล่าลือว่าผู้นำประเทศทำการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่เคยลบเลือนหายไปตลอดช่วงเวลาที่ครองอำนาจ ข้อกล่าวหานี้หวนกลับมาอีกครั้งในช่วงเกิดการประท้วงที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าผู้นำประเทศคือผู้เปิดทางให้เครือญาติในตระกูลเข้ามาปล้นชิงความมั่งคั่งของประเทศไป แสวงหาผลประโยชน์ทางการเงินส่วนตน จากป้ายข้อความที่กลุ่มผู้ประท้วงชูและคำขวัญที่พวกเขาร้องตะโกนไปตามท้องถนน ล้วนแต่เรียกร้องให้ผู้นำประเทศ “คืนเงินที่ขโมยไป”
ทำไม “ผู้นำ เก่ง-ดี-มีสุข จึงสำคัญ”
ผู้นำที่ดีที่สุดไม่มีในโลกแต่ผู้นำที่ประสบความสำเร็จคือผู้นำที่เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อนำพาประเทศชาติหลุดพ้นวิกฤติและอยู่รอดได้ ดังนั้น ผู้นำจึงเป็นสินทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพราะต้องการพาคนในชาติให้มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตรงกันข้ามหากผู้นำไม่เก่ง และไม่ดี สุดท้ายประเทศชาติย่อมล่มสลายอย่างสมบูรณ์หากลองนึกถึงผู้นำในดวงใจมาสัก 2-3 คน และลองพิจารณาถึงการเป็นผู้ให้ของผู้นำในดวงใจจะพบว่าผู้นำคือผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนผู้นำต้องการเห็นทุกคนก้าวเดินไปพร้อมกันกับเขาดังนั้น ผู้นําต้องเป็นผู้มีวุฒิภาวะความเป็นผู้นําสูงพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ผู้ตามย่อมจะเดินตามแบบผู้นําด้วยดีหากแต่ผู้นํา ไม่มีด้วยคุณธรรมผู้ตามย่อมจะเดินตามไปด้วยความลําบาก
การเผชิญหน้ากับวิกฤติที่มีความท้าทายของผู้นำที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนรุนแรงและมีความเสี่ยง การบริหารกิจการบ้านเมืองให้สามารถอยู่รอดปลอดภัยภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวได้ ย่อมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่ถูกต้องผู้นำเก่งจะสามารถใช้ความรู้ ความสามารถ ในการแก้วิกฤติได้เป็นอย่างดีและตอบคำถามประชาชนได้หากผู้นำไม่มีความเชี่ยวชาญในทุกสิ่ง ผู้นำสามารถให้ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ร่วมตัดสินใจด้วยได้ มีความเก่งทางการเมือง เพราะความซับซ้อนในเชิงนโยบายมีผลกระทบกับสิทธิประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติโดยตรงผู้นำต้องเก่งในการประสานผลประโยชน์ภายใต้สถานการณ์ให้ลงตัวและจัดการความขัดแย้งได้หากมีเกิดขึ้น ใช้ช่องทางการสื่อสารที่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของผู้นำสร้างความเชื่อมั่นในการแก้วิกฤติรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนมีความกระตือรือร้นให้บรรลุเป้าหมายที่มุ่งเน้นประชาชนเป็นสำคัญและในทุกวิกฤติผู้นำต้องสร้างความไว้วางใจไม่ทำให้ประชาชนเห็นว่าผู้นำประเทศไม่จริงใจแม้ในสถานการณ์วิกฤติยังแบ่งเป็นฝ่ายขัดแย้งกันเอง เพื่อช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์สุดท้ายหลบหนีเอาตัวรอดผู้นำดีพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมอันดีงามเพื่อนําพาประเทศชาติให้ก้าวข้ามวิกฤติต่างๆโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องตามหลักคุณธรรมและนิติธรรมควบคู่เพราะการตัดสินใจหรือการไม่ตัดสินใจหรือประวิงการตัดสินใจย่อมส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติและประชาชน อาจนำมาซึ่งความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ผู้นำมีสุขผู้นำที่มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจสามารถนำพาประชาชนในชาติให้อยู่ดี กินดี มีสุขภาวะดี มีการดำรงชีวิตดี มีคุณภาพชีวิตอย่างพอเพียงแก่อัตภาพหากมองให้ลึกชีวิตของมนุษย์ก็ดี สังคมก็ดีย่อมมีจุดหมายคือต้องการให้ชีวิตมีความเจริญงอกงาม ชีวิตต้องพัฒนาให้ดีงามยิ่งขึ้นไป สังคมก็เช่นเดียวกันย่อมมีจุดหมายที่จะรังสรรค์ ความเป็นอารยธรรมที่มีความเจริญก้าวหน้า หากแต่ประเทศชาติเกิดวิกฤติไม่ว่าจะเป็นวิกฤติเรื่องใดก็ตาม หากผู้นำในชาติเป็นผู้นำสมบูรณ์ด้วยหลักสัปปุริสธรรม “เก่ง-ดี-มีสุข จึงสำคัญ”จะนำพาประชาชน สังคม ประเทศชาติ ไปสู่สันติสุขและรอดพ้นจากวิกฤติการณ์เหล่านั้นได้เสมอ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง » คอลัมน์
คอลัมน์ล่าสุด ![]()
...คำถามประจำวันเด็ก...
ใต้ถุนสภา- ปรากฏการณ์ "ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน" 21:25 น.
- “หนี้นอกระบบ” 05:33 น.