การเมือง » คอลัมน์
แยกรัชวิภา
บ้านเมืองออนไลน์ : วันอาทิตย์ ที่ 07 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 18.09 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

ปรับเปลี่ยนโลกทรรศน์การศึกษา เพื่อพาไทยไปสู่ความยิ่งใหญ่
ปรับเปลี่ยนโลกทรรศน์การศึกษา เพื่อพาไทยไปสู่ความยิ่งใหญ่
ศาสตราจารย์ ดุษฎีบัณฑิต ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ศาสตราจารย์ระดับ 11 สาขาการศึกษา
อุปนายก สภามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
กว่าร้อยปีมาแล้ว สยาม (แปลว่า ดินแดนศักดิ์สิทธิ) เป็นราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของเอเชีย เศรษฐกิจสยามเจริญรุ่งเรือง เงิน 1 บาทมีค่าเท่ากับเงิน 1 ปอนด์ของอังกฤษ และ 1 บาทมีค่าเท่ากับ 2 ฟรังก์ของฝรั่งเศษ หลังจากไทยรับค่านิยมและระบอบความคิดแบบตะวันตก คือ อังกฤษ ฝรั่งเศษ และอเมริกา ความนับถือตนเองของคนไทยตกต่ำ ชื่นชมแนวคิด วัฒนธรรม ระบอบการปกครอง การแต่งกาย ที่อยู่อาศัย วิถีพอเพียง กลายเป็นทำตามแบบตะวันตก เมืองไทย
เป็นถิ่นกำเนิดแห่งพระพุทธศาสนา แต่ถูกฝังหัวว่า พระพุทธเจ้าเป็นแขกอินเดีย การศึกษาไทยรับระบบการศึกษาจากตะวันตกด้วยการสร้างโรงเรียนขังเด็ก เน้นเนื้อหามากกว่าสาระ ไม่เน้นประสบการณ์ดังที่เคยใช้ในสำนักบัณฑิตที่สอนเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง (Specialized Universities) ก็ถูกสลายเป็นมหาวิทยาลัยแบบประสม(Comprehensive Universities) เพราะนักการศึกษาไทยถูกครอบงำด้วยโลกทรรศน์แบบตะวันตกหากไทยต้องการจัดการศึกษาเพื่อกลับไปสู่ความยิ่งใหญ่ เราต้องปรับโลกทรรศน์ไม่ตามตะวันตกจนหลงทาง เราจึงไม่ควรตามตะวันตกที่เน้น "วิทยาศาสตร์" 5 มิติ แต่ฟื้น "อริยศาสตร์" 7 มิติ และฟื้นความเป็นดินแดนศักดิสิทธิคือ ดินแดนสยาม(สี>สย>สยม>สยาม) ที่มีพระสยามเทพบุตรปกป้องดูแลมาหลายแสนหลายล้านปี
ทำไมเราจึงต้องปรับเปลี่ยนโลกทรรศน์เกี่ยวกับการศึกษาคำตอบ ถ้าเรามีโลกทรรศน์ไม่ถูกต้อง การจัดการศึกษาก็ไม่ตอบสนองบริบทไทย นักการศึกษาที่จบจากนอก กลับมาก็พยายามทำเมืองไทยให้เป็น "เมืองนอก" ด้วยการสอนเนื้อหาฝรั่งจนไม่มีเวลาสอนสาระไทยโลกทรรศน์เกี่ยวกับการศึกษาของคนไทย แปรเปลี่ยนไปจากอดีตเมื่อเมืองไทยถูกครอบงำด้วยระบบการศึกษาจากตะวันตก (อังกฤษ ฝรั่งเศษ และอเมริกา) ทำให้ละทิ้งความหมายของการศึกษาตามรากศัพท์บาลี คือ "สิกขา" ซึ่งเป็นภาษาของท้องถิ่นสยาม ไปเป็น "ศึกษา" ตามสันสกฤตซึ่งเป็นของอินเดีย เพราะหลงผิดว่า อินเดียเป็นอู่วัฒนธรรมของโลก
ข้อเขียนนี้มุ่งปรับเปลี่ยนโลกทรรศน์เกี่ยวกับการศึกษาของนักการศึกษาไทย ที่ครอบคลุม (1) ความหมายการศึกษา (2)ร้อยปีแห่งการหลง (3) ไตรยางค์วิชาชีพชั้นสูง(4) ขอบข่ายการศึกษา(5) องค์ประกอบของวิทยาการหรือวิชาการศึกษา(6) ความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษา และ (7) ปัญหาการศึกษาไทย โดยจะเสนออย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละตอน
แนวคิดของการศึกษาซึ่งการศึกษามีความหมายจากรากศัพท์ของภาษาไทยแตกต่างกัน จากความหมายที่ใช้ในวงการศึกษากล่าวคือ การศึกษา (Education) เป็นระบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนให้รู้เท่าทันสภาพที่ เป็นจริงด้วยการดึงศักยภาพของนักเรียนออกมาใช้ประโยชน์ ดึงสันดานดิบออกมาขัดเกลาให้ดีขึ้นหรือตัดทิ้งไป และปกป้องใจคนให้พ้นจากไวรัสของจิตคือความหลง ความโกรธ และความโลภ และยกระดับจากความเป็นคน ขึ้นสู่ความเป็นมนุษย์ คือ ผู้มีใจสูง และชี้นำผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ 3 ประการ คือ รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด และรู้ควรไม่ควร
คำว่า “ศึกษา” เป็นภาษาสันสกฤตมาจากภาษาบาลี คือ “สิกขา” คือการปฏิบัติเพื่อเป็นผู้มีความรู้รอบรู้จริงและทำได้จริง เข้าสู่ความเป็นพุทธะ คือเป็นผู้รู้เท่าทันสภาพที่เป็นจริง เป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และยก “ตน” เข้าสู่สภาวะที่ไม่ต้องมาเกิดหรือรวมมวลคืออาศัยกายและใจ จนกระทั่งได้รับ "ปริญญา" (พุทธบัญญัติ คือ ความไร้ราคะ โทสะ และโมหะ) ให้สามารถหลุดพ้นไปจาก “โลกียภาพ” คือสภาวะที่ไม่เที่ยงแท้คือมีความแปรปรวน มีการแตกดับหรือเปลี่ยนแปลง ไปสู่ “โลกุตตรภาพ” คือสภาวะที่เที่ยงจีรัง คือไม่แปรปรวน ไม่แตกดับ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ต้องอาศัยกายและใจ เรียกว่าโลกุตรภาพ คืออยู่เหนือความแตกดับ แปรปรวน และเปลี่ยนแปลง
อีกนัยหนึ่ง คือมุ่งบรรลุอริยศาสตร์ 7 มิติ คือ ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต (Mind) และวิญญาณ (Soul>Self>อัตตา) มิใช่หลงเชื่อแนวคิดตะวันตกที่เน้นคำว่า "วิทยาศาสตร์" ที่หมายถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับสภาวะกายภาพและปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สามารถสังเกตได้ด้วย 5 มิติ คือ ด้วยตา หู จมูก ลิ้น และ กาย
ส่วนคำว่า Education มากจากภาษาลาตินว่า “Educare” และ “Educere” Educare (อ่านว่า เอ็ด-หยุ-คา-เร่) แปลว่า ฝึกอบรม และหล่อหลอม (To train and to mold) ดึงออก (Pull out or bring up) โดยดึงสองอย่างคือ (1) ดึงสิ่งดีของผู้เรียนออกมา ได้แก่ ดึงศักยภาพ ดึงจุดดี ดึงจุดเด่นของนักเรียนออกมาให้โดเด่น และ (2) ดึงความไม่ดี หมายถึง ดึงลักษณะนิสัยที่ไม่ดีที่นอนเนื่องในกมลสันดาน เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วนำกลับเข้าไปใหม่ หากไม่สามารถปรับปรุงได้ก็ช่วยขจัดจุดอ่อน จุดไม่ดีของนักเรียนให้หมดสิ้นไป
คำว่า EducereEducoแปลว่า นำออก (Lead out) นำทาง (Bring forth)ตามนัยยะของภาษาไทย คือ ศึกษา และภาษาอังกฤษ คือ Educareและ educereจึงถือว่า การศึกษาเป็นการพัฒนาให้คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ นั่นคือ ช่วยทำและช้ำให้นักเรียนพ้นจากสภาวะความเป็น “คน” (เละเทะ) และเป็นปุถชน (ผู้ยังมืดบอด) ไปสู่ความเป็นผู้รู้จริง “พุทธะ” และเป็นมนุษย์(ผู้มีใจสูง)
โดยสรุป เราต้องปรับโลกทรรศน์การศึกษา โดยมุ่งที่ การบรรลุ "อริยศาสตร์" ความรู่เท่าทันสภาพที่เป็นจริง ไม่หมกมุ่นกับคำว่า "วิทยาศาสตร์" ที่เน้นองค์ความรู้เกี่ยวกับสภาวะกายภาพและปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สามารถสังเกตได้ด้วย 5 มิติ คือ ด้วยตา หู จมูก ลิ้น และ กาย แต่มุ่งบรรลุอริยศาสตร์ 7 มิติ คือ ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต (Mind) และวิญญาณ (Soul>Self>อัตตา)
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง » คอลัมน์
คอลัมน์ล่าสุด ![]()
...คำถามประจำวันเด็ก...
ใต้ถุนสภา- ปรากฏการณ์ "ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน" 21:25 น.
- “หนี้นอกระบบ” 05:33 น.