วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 22:47 น.

การเมือง » คอลัมน์

แยกรัชวิภา

บ้านเมืองออนไลน์ : วันศุกร์ ที่ 07 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 13.49 น.

พูดมากไม่ได้ พูดได้ไม่มาก เรามี “เสรีภาพในการพูด”ได้ทุกเรื่องจริงหรือ ??

พูดมากไม่ได้ พูดได้ไม่มาก เรามี “เสรีภาพในการพูด”ได้ทุกเรื่องจริงหรือ ??

 

ศุภภัทรวริศรา  เกตุสุนทร

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์  สถาบันรัชต์ภาคย์

 

ทำไมเสรีภาพในการพูดถึงสำคัญ?

หากจะกล่าวถึงผู้ที่สร้างเสรีภาพในการพูดที่ยิ่งใหญ่และเป็นตำนานของโลกคงหนีไม่พ้น “โสกราตีส”หรือ วีรบุรุษของปราชญ์อย่าง “เพลโต” ที่คุ้นเคยกันดีที่พยายามปกป้องเสรีภาพในการพูดด้วยชีวิตของตัวเอง จากวันนั้นถึงวันนี้ อาจเปลี่ยนแปลงไปมากเพราะไม่ได้หมายความถึงแค่ “การพูด” ตามความหมายเดิมเท่านั้นแต่ทั้งหมดพูดถึงเสรีภาพในการ “แสดงออกซึ่งความคิด” ไม่ว่าจะผ่านการเขียน การถ่ายภาพ ภาพยนต์ บทเพลง ละคร หรือแม้แต่บนโลกโซเชียลมิเดียเสรีภาพในการพูดถูกจำกัดด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้แล้วเรื่องอื่นก็จะเกิดตามมาได้ไม่ยาก แม้ว่ากระแสทิศทางลมที่ใช้ตัดไฟได้แต่ควันอาจลอยวนกลับมาหาต้นไฟได้เช่นกัน เสน่ห์ของเสรีภาพในการพูดที่ใครต่อใครต่างปรารถนารักษาไว้ยิ่งชีพอย่างที่ จอห์น สจ๊วด มิลล์ กล่าวไว้ว่า “หากปราศจากเสรีภาพในการพูดแล้วก็เท่ากับเป็นการปล้นเอาความคิดทั้งหลายที่ทำให้สังคมพัฒนาก้าวหน้าไปจากมนุษยชาติ” ยุคโลกไร้พรมแดนยิ่งทำให้เสรีภาพในการพูดเปลี่ยนแปลงและเติบโตในแบบที่ไม่เคยมีนักคิด นักปรัชญาคนไหนคาดเดาได้มาก่อน โลกโซเชียลให้พลังกับทุกคนที่เชื่อมต่อสามารถสื่อคำพูดผ่านคีย์บอร์ดการพิมพ์ตามความนึกคิดของตัวเองออกมาให้คนทั้งโลกรับรู้ได้ โดยไม่ต้องผ่านแท่นพิมพ์หรือสื่อกลางแบบเดิมที่มีผู้คุมกฏในการเผยแพร่มากมาย โซเชียลให้อิสระในการสื่อสารอย่างไร้ขีดจำกัด ทุกวันนี้ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “DailyMe”หรือเปิดมือถือมาก็เจอแต่เรื่องที่ฉันสนใจทุกวัน เสรีภาพในการพูดเพื่อพัฒนาความคิดและปัญญามาจากการปะทะกันทางความคิด การได้แลกเปลี่ยนความเห็นที่แตกต่าง เพื่อให้ได้ลับคมคำพูดกันอยู่เสมอ

พูดมากไม่ได้ พูดได้ไม่มาก

หากการพูดที่ต้องเรียกร้องบางสิ่งที่ควรได้รับเพื่อการเปลี่ยนแปลงของชีวิตให้ดีขึ้น มนุษย์ทุกคนมี ‘เสรีภาพในการพูดและแสดงออก’ (Freedom of speech and expression)อย่างเท่าเทียมกันเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่กำเนิด มนุษย์จึงเข้าใจว่าสามารถพูดได้ทุกอย่างที่อยากพูด อยากวิจารณ์ แต่ท้ายที่สุดก็จะเกิดคำถามว่า “แล้วเราจะพูดได้มากแค่ไหน”เสรีภาพมนุษย์มีขอบเขตในการพูดใช่หรือไม่ เพราะบางคำพูดเผลอข้ามเส้นไปละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของใครบางคนได้ หากย้อนไปในปี ปี 1775 ก่อนเริ่มประชุม Virginia Assembly ที่เมืองริชมอนด์ แพทริก เฮนรี (Patrick Henry) กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับสิทธิของอาณานิคมสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่บัญญัติไว้ใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights ICCPR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในร่างกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศร่วมกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ข้อที่ 19 มีใจความระบุว่า(1) บุคคลมีสิทธิในการแสดงความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และ (2) บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงออก มีเสรีภาพในการแสวงหา รับ และส่งต่อข้อมูลและแนวคิดทุกประเภทได้อย่างไร้พรมแดน ไม่ว่าจะโดยปากเปล่า ลายลักษณ์อักษร สิ่งพิมพ์ งานศิลปะหรือสื่อที่เลือกนอกจากการพูดจะเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญเชิงประจักษ์ในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะเสรีภาพในการพูดที่ถูกใช้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมริชาร์ด แซมบรูค (Richard Sambrook) ศาสตราจารย์ด้านวารสารศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์วารสารศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ สหราชอาณาจักร เป็นหนึ่งอีกคนที่พยายามเปล่งเสียงแทนเหล่านักข่าวที่กำลังถูกไม่ให้พูดความจริงและถือโอกาสย้ำความสำคัญของเสรีภาพในการพูดและแสดงออกกันอีกครั้ง โดยมีความเห็นว่า“ประการแรก นี่คือเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การกีดกันทางปัญญานั้นร้ายแรงพอกับการกักขังร่างกาย เสรีภาพในการคิดและการพูดเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ใครก็ตามที่พยายามจำกัดสิ่งนี้ จึงทำไปเพียงเพื่อแสวงหาอำนาจเหนือบุคคลที่ต่อต้านเจตจำนง เสรีภาพในการพูดจึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงเสรีภาพอื่นที่จะตามมาอีกด้วย“ประการที่สอง” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสังคมที่ดี เสรีภาพในการพูดและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ตามที่สหประชาชาติและธนาคารโลกได้ค้นคว้ามา ชี้ให้เห็นแล้วว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ เสรีภาพในการพูดจึงไม่ใช่แค่ ‘ควรมี’ เท่านั้น แต่ยัง ‘จำเป็น’ ต่อความเป็นอยู่ที่ดี ความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาของสังคมอีกด้วย”“หากเป็นสังคมที่เท่าเทียมกันแม้จะมีเสรีภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้จนละเมิดเสรีภาพของมนุษย์คนอื่นได้”

จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) นักปรัชญาเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษผู้เป็นต้นแห่งความคิดเรื่องเสรีภาพของมนุษย์ได้ตั้งคำถามเช่นเดียวกับผู้เขียนที่กำลังสงสัยเช่นกันว่า ‘แล้วเสรีภาพในการพูดของมนุษย์นั้นเสรีได้แค่ไหน’ เมื่อต้องอยู่ในสังคมที่ทุกคนต่างก็เท่าเทียมกันจอห์น สจ๊วต มิลล์ ระบุไว้ในหลักการภัยของการกระทำ (Harm Principle) ซึ่งเป็นทฤษฎีการเมือง เสรีนิยม (liberalism) อันเป็นพื้นฐานของโลกสมัยใหม่ว่า “จุดประสงค์เดียวที่รัฐสามารถใช้อำนาจจำกัดการกระทำของพลเมืองคนหนึ่งคนใดในสังคมอารยชนได้อย่างชอบธรรมคือการป้องกันภัยที่คนผู้นั้นอาจก่อกับบุคคลอื่น” หมายความว่า“มนุษย์มีเสรีภาพได้อย่างเต็มที่ตราบใดที่ไม่เป็นการทำร้ายบุคคลใดบุคคลหนึ่ง”หากเทียบคียงกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนแสดงให้เห็นว่า สิ่งนี้ไม่ใช่สิทธิเด็ดขาดที่จะทำให้ใครคนหนึ่งอยู่เหนือคนทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ ท่ามกลางเสรีภาพยังจำเป็นต้องขีดเส้นแบ่งขอบเขตเอาไว้ เพื่อไม่ให้เสรีภาพของอีกคนไปละเมิดสิทธิของใครอีกคนหรือหลายๆ คน

จากโปสเตอร์ “Freedom of Speech”โดยนอร์แมน ร็อคเวลล์ (Norman Rockwell)กล่าวว่าท้ายที่สุดแล้ว ‘เสรีภาพ’ ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างในการทำร้ายผู้อื่นได้ หากยังต้องอยู่ร่วมกันหลายประเทศมีกฏหมายขีดเส้นขอบเขตของเสรีภาพการพูดเพื่อให้สังคมสงบสุข เช่น พูดเพื่อทำลายชื่อเสียงของใครบางคนไม่ได้ จะใช้คำพูดรุนแรงจนสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับบุคลลอื่นไม่ได้ จะโฆษณาเท็จชวนให้คนมาเชื่อไม่ได้บางครั้งกฎหมายก็ต้องเข้าแทรกแซงเพื่อหยุดการกลั่นแกล้งใส่ร้ายไม่เป็นธรรมสร้างความเสียหายให้กับบุคคลอื่น แต่ในขณะเดียวกันไม่ได้หมายความกฎหมายที่ว่านั้นจะเป็นสิ่งที่ถูกบังคับใช้แบบนั้นตลอดกาล เพราะเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่ากฎหมายกำลังไม่เป็นธรรม ประชาชนเองก็มีสิทธิตั้งคำถามและ “พูดวิจารณ์” กันอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจได้เช่นกันเสรีภาพในการพูดแม้จะไม่ได้มีสิ่งที่น่ารื่นรมย์น่าฟังเท่าไหร่นัก แต่ก็ทำให้ได้พบกับความเห็นที่แตกต่างของบางคนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับอีกหลายพันคนได้เช่นกันเสรีภาพในการพูดเป็นสิ่งสำคัญในการก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางความคิดสร้างและพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ หากแต่เกิดการโต้แย้งด้วยเหตุผลที่ว่าด้วย “เสรีภาพในการพูด”อย่างมีเป้าหมายไม่ใช่เพียงวิธีการ