วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 22:46 น.

การเมือง » คอลัมน์

แยกรัชวิภา

บ้านเมืองออนไลน์ : วันศุกร์ ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 12.49 น.

สรุปเศรษฐกิจโลกปี 2022 เข้าสู่ภาวะถดถอยจริงหรือ ??

สรุปเศรษฐกิจโลกปี 2022 เข้าสู่ภาวะถดถอยจริงหรือ ??

ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์

หลังจากที่ Bank of America และ Goldman Sachs ออกมาบอกว่า GDP ในประเทศยูโรโซนลดลงในไตรมาสที่ 3 และ 4 ปีนี้ 2022ที่ส่งสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะเรื่องเศรษฐกิจถดถอยและชาวอเมริกันจำนวนมากมีการเสิร์ชคำว่า “ภาวะถดถอย” หรือ Recession บน Google ในระดับสูงมากแบบไม่เคยมีมาก่อนนักลงทุนต่างเทขายทองแดง(ซึ่งเป็นชี้วัดภาวะความง่อยเปลี้ยของเศรษฐกิจ) และไปซื้อดอลลาร์มาถือแทน ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากลุ่มประชาชนเหล่านั้นเริ่มหวาดวิตกกับเศรษฐกิจแล้วจริงๆ ผู้เขียนมองว่าเมื่อวิเคราะห์สถานการณ์โลกโดยรวมแล้วมีหลายปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจถูกคาดหมายว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้หลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องการระบาดใหญ่ของCOVID-19ทำให้อเมริกาต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ใช้ทรัพยากรมากเกินกำลัง ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบเฉพาะในอเมริกาเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปยังหลายประเทศที่มีการค้าการลงทุนผูกติดอยู่กับอเมริกา ซึ่งก็ต้องบอกว่าเกือบทุกประเทศทั่วโลก เนื่องจากความต้องการสินค้าที่มากเกินไปของผู้บริโภคได้กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของโลกรวมไปถึงปัญหาที่จีนมีความพยายามใช้นโยบาย Zero-Covid ทำให้เศรษฐกิจถดถอยลงไปอีก ยังไม่พอยังต้องมาเผชิญกับการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติพุ่งสูงขึ้นทะลุเพดาน100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเพื่อตอบสนองต่อภาวะเงินเฟ้อตามมาติดๆ แถมท้ายธนาคารกลางในประเทศผู้นำโลก 4 จาก 5 แห่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยเฉลี่ย 1.5 จุด เพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจที่กำลังเข้าสู่ภาวะฟองสบู่แตกผลลัพธ์ที่ตามมาคือทั่วโลกต่างกำหนดนโยบายการเงินที่รัดกุมแน่นหนา ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางต้องใช้ไม้ตาย คือการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อหยุดยั้งเงินเฟ้อที่มีท่าทีว่าจะขึ้นไปไม่หยุด อัตราการเติบโตของค่าจ้างในประเทศร่ำรวยอยู่ในระดับที่สูงมากเกินไปจนน่าเป็นห่วง ซึ่งสวนทางกับการเติบโตของรายได้ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่สูงจะก่อให้เกิดความเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจที่กำลังค่อยๆ ฟื้นตัวจากCOVID-19 จบลงอย่างรวดเร็วราวกับรถไฟเหาะที่ขึ้นแล้วก็ลงในทันที

อย่าเพิ่งด้วยสรุปเศรษฐกิจถดถอยเร็วเกินไป

แม้ว่าจะดูเหมือนว่าภาวะทางเศรษฐกิจถดถอยหรือด้วยการเติบโตที่มองไม่เห็น จึงเกิดคำถามสำคัญคือในช่วงวิกฤตการเกิดโรคระบาดใหญ่ COVID-19 ภาคครัวเรือนในประเทศที่ร่ำรวยยังคงมีเงินออม “ส่วนเกิน” ซึ่งเก็บสะสมไว้ในช่วงที่มีการระบาดของCOVID-19โดยเฉพาะในอเมริกายอดเงินสดของครอบครัวที่ยากจนในเดือนมีนาคมสูงขึ้นถึง 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2019 ตามข้อมูลของ JPMorgan Chase ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของอเมริกายิ่งไปกว่านั้น ผู้คนดูมั่นใจในการเงินส่วนบุคคลมากกว่าเรื่องของสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของครอบครัวในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะมีความคิดในเชิงบวกเกี่ยวกับเงินในกระเป๋าของตนเองมากกว่าปกตินับตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ในประเทศอเมริกา มีผู้คนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่เชื่อว่าจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายใน 3 เดือนข้างหน้าเครื่องมือติดตามการใช้จ่ายของผู้บริโภคจาก Bank of England (สำหรับสหราชอาณาจักร) และ JPMorgan Chase (สำหรับอเมริกา) ยังคงดูมีทิศทางที่สดใสอยู่ถ้านับตอนนี้รัฐบาลก็ยังแจกเงินเพื่อช่วยเหลือคนยากจนเพื่อใช้รับมือกับราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ในยูโรโซน รัฐบาลในประเทศต่างๆ กำลังใช้นโยบายทางการคลังประมาณ 1% ของ GDP เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างที่อังกฤษก็มีการแจกเงินให้กับคนยากจน ในเดือนพฤษภาคม ปี 2022  สถาบันเพื่อการศึกษาการคลัง คาดว่าการใช้จ่ายดังกล่าวจะช่วยชดเชยค่าใช้จ่ายไปกับครอบครัวที่ยากจนเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นความเคลื่อนไหวของธุรกิจหลายธุรกิจก็ก่อให้เกิดความมั่นใจในแง่ของความแข็งแรงของเศรษฐกิจได้เช่นกัน อย่างในประเทศร่ำรวยตัวเลขจำนวนตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครในตอนนี้อยู่ใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ประเทศออสเตรเลีย ตัวเลขตำแหน่งงานว่างในตอนนี้มีจำนวนมากเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดCOVID-19 ข้อมูลจาก Indeed ซึ่งเป็นเว็บไซต์จ้างงาน ระบุว่าในอเมริกามีตำแหน่งงานว่างมากกว่า 2 ตำแหน่งสำหรับคนว่างงานทุกคนได้อย่างเพียงพอผลก็คือตลาดแรงงานยังคงตึงตัวไม่ได้หดหรือลดหย่อนลงแต่อย่างใด โดยรวมแล้ว อัตราการว่างงานในกลุ่มประเทศที่อยู่ใน OECD ซึ่งถูกจัดเป็นประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นต่ำกว่าช่วงเกิดการระบาดใหญ่ครึ่งหนึ่งของประเทศในกลุ่ม OECD สัดส่วนของคนวัยทำงานที่ยังมีงานทำ เป็นตัวชี้วัดสุขภาพของตลาดแรงงาน นั้นยังคงอยู่ในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ หากอิงกับประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ที่บอกว่าหากดอกเบี้ยสูงการถดถอยจะตามมาก็คงพูดได้ว่าตัวเลขเหล่านี้ไม่สอดคล้องหรือชี้ไปว่า ภาวะง้อยเปลี้ยถดถอยกำลังจะเกิดขึ้นแต่อย่างใด

จากแรงกระเพื่อมเศรษฐกิจถอถอยจริงหรือ ?

การใช้จ่ายด้านการลงทุนกำลังบูมจากการที่บริษัทต่างๆ ทุ่มเงินมหาศาลไปกับเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลและเสริมความแข็งแกร่งให้กับซัปพลายเชน ตอนนี้จึงกลายเป็นความเชื่อที่ว่าการทุนมากจนเกินไปในแง่ของความสามารถในการผลิตในขณะที่คนอื่นต้องประหยัดเงินจากบทวิเคราะห์หลักฐานจากการสำรวจเงื่อนไขสินเชื่อ และสภาพคล่อง ตามที่บริษัทที่ปรึกษาอย่าง Oxford Economics ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนของกลุ่มประเทศ G7 อาจลดลงในช่วงครึ่งปีหลังของปี2022 แน่นอนว่าสิ่งนี้เป็นสัญญาณที่ไม่ดีแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดภาวะถดถอยได้ เพียงแต่นักลงทุนส่วนใหญ่จะรู้สึกกังวลกับการออกนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นทำให้เชื่อได้ว่าภาวะเศรษฐกิจกำลังคืบคลานเข้าหาตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอเศรษฐกิจโลกอาจจะกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยไม่สามารถชะลอสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจได้เลยทำให้ต้องใช้ยาแรงมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ มีเพียงสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงเท่านั้นที่จะกำจัดเรื่องการหดตัวของเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงานในช่วงที่ผ่านยังไม่ได้ถูกนำไปคิดในอัตราเงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของค่าแรงแสดงให้เห็นสัญญาณการผ่อนคลายเพียงเล็กน้อยในแง่ของการสร้างรายได้เพิ่มที่ยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธีที่ดีที่สุดในการส่งต่อภาระทางด้านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นคือการผลักภาระเรื่องต้นทุนไปให้กับลูกค้าหรือพูดง่ายๆ คือการขึ้นราคาสินค้านั่นเองข้อมูลจำนวนมากที่นักเศรษฐศาสตร์หลายฝ่ายต่างขยันออกมาวิเคราะห์กันดูแล้วมีประโยชน์กับกลุ่มที่ต้องใช้ข้อมูลในส่วนนี้อยู่ไม่น้อยแต่บทเรียนเก่าๆ ก็ยังคงตามมาหลอกหลอนบรรดานักเศรษฐศาสตร์ที่ออกมาพยากรณ์ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก จากการขยายตัวของ GDP ที่ลดลงมาจากปัจจัยความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่สำคัญคือSupply Chain Disruption ที่ทำให้การผลิตสินค้าทั่วโลกเกิดภาวะชะงักหรือสะดุดจากแรงงานที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain การผลิตติดเชื้อจนต้องปิดโรงงานรวมถึงการขนส่งสินค้าที่อาจจะติดขัดกับอุปสรรคในด้านต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัด มาตรการควบคุมโรคของแต่ละประเทศ ที่อาจจะยืดเยื้อจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของCOVID-19 เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์การปรับนโยบายภาครัฐของประเทศต่างๆ ที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นและนอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงอื่น ๆ เช่นมาตรการเข้มงวดของรัฐบาลจีน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจยั่งยืนโดยเฉพาะภาคอสังหาฯ พลังงาน และฟินเทคการส่งข้อมูลข้ามแดน หรือ Cross Border Data Flow ที่มีข้อจำกัดมากขึ้น จากประเด็นความมั่นคง ซึ่งเป็นภาระต่อธุรกิจข้ามชาติวิกฤตพลังงาน ผลจากการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ และนโยบาย Net Zero การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการลงทุน CAPEX หรือสินทรัพย์ระยะยาวใน Old Economy หรือสินทรัพย์แบบดั้งเดิมที่ต่ำต่อเนื่องขนาดและทิศทางของมาตรการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ  แนวโน้มการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติม อาจส่งผลต่อการย้ายฐานการผลิตโลก

จากเศรษฐกิจโลกทะลุถึงเศรษฐกิจไทยหยุดย่ำกับที่หรือแค่ชะลอตัว

สองปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจโลกได้ถูกCOVID-19 โจมตียิงดาเมจกระหน่ำจนบางครั้งแทบจะตั้งการ์ดรับไม่ทันทำให้ประเทศไทยเสียการทรงตัวสร้างความผันผวนให้กับเศรษฐกิจตั้งแต่ปลายปี 2021 ตัวแปรที่สำคัญท่ามกลางเศรษฐกิจโลกแต่ไทยเป็นเพียงหนึ่งประเทศในเอเชียที่เศรษฐกิจ อาจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นภาครัฐได้ออกแพคเกจกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2565 ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะเดินหน้าไปต่อได้หรือไม่องค์ประกอบใดที่เป็นแรงขับเคลื่อนและจะฝ่าด่านแรงกระแทกของเศรษฐกิจโลกและความเสี่ยงจากปัจจัยภายในไปได้หรือไม่ เป็นสิ่งจะมาหาคำตอบกันว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ จากการสังเกตได้จากประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยการบริโภคภาคเอกชนภาคการท่องเที่ยว หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID-19ฉุดกระชาก GDPการเติบโตของโลกดิ่งลงเหวอยู่ในระดับต่ำถึงใต้ทะเลมานานหลายปี เมื่อเริ่มส่งสัญญาณฟื้นคืนชีพเงินเฟ้อที่คลี่คลายยังต้องติดตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักอย่างใกล้ชิดประหนึ่งนั่งเฝ้าคนฟื้นไข้”

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ผ่านไปและคลี่คลายลงส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติตบเท้าเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้นส่งผลให้รายได้ของแรงงานและภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวฟื้นคืนชีพขยายตัวพุ่งสูงขึ้นทันที นอกจากนี้รายได้เกษตรกรซึ่งเป็นฐานการบริโภคภาคเอกชนขยับตัวได้ในระดับสูงถึงร้อยละ 7.4 ต่อปี ประกอบกับรัฐบาลได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ อาทิ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ และ โครงการคนละครึ่ง ซึ่งได้มีส่วนในการสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน รวมทั้งเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ขณะที่การส่งออกสินค้าขยายตัวได้จากความต้องการสินค้าอาหาร ผู้เขียนเองมองว่าไทยเป็นแหล่งอาหารที่ค่อยข้างสมบูรณ์สุดอาจเติบโตได้ต่อเนื่อง และปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มคลี่คลายลงการส่งออกสินค้าอาจจะขยายตัวส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนคล่องตัวขึ้น ด้านเสถียรภาพภายในประเทศอัตราเงินเฟ้อจากสถานการณ์ราคาพลังงานและปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ทยอยคลี่คลาย ภาครัฐยังคงดูแลค่าครองชีพให้แก่ประชาชนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงได้บ้างเศรษฐกิจไทยโค้งสุดท้ายของปี 2565 ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องจากแรงขับเคลื่อนที่เร่งสปีดดันตัวเลขจีดีพีทั้งปีให้เติบโตได้จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยสะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจแทบทุกด้านกลับสู่ระดับปกติ ผู้เขียนมองว่าที่โดดเด่นสุด คือ ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว แม้ยังไม่มีนักท่องเที่ยวจากจีนก็ตามเมื่อรวมกับภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวส่งสัญญาณเติบโตแผ่วเบาลง จากสาเหตุจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และสหภาพยุโรป การใช้จ่ายในประเทศขยายตัวดีทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องหลังจากหดตัวจากวิกฤตCOVID-19

เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวไทยทำแบบเดิมไปไม่รอดแน่!

เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกหากยังคงขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงวิธีคิดและวิธีการเศรษฐกิจไทยจะอ่อนแรงลงเรื่อยๆ เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจง่อยเปลี้ย จากปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฉุดรั้งศักยภาพเศรษฐกิจไทยดังนั้น ผู้เขียนคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องช่วยกันบูรณาการเชิงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวจากความอ่อนแรงสู่การยืนที่มั่นคง แข็งแรง  เพราะหากยังคงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากแรงส่งแบบเดิมในโลกยุคเก่าที่เราคุ้นเคยจะไม่สามารถเติบโตได้อาจทำให้เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอาจจะถูกบั่นทอนศัยภาพได้อย่างรุนแรง ไทยเองต้องเดินหน้าปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจให้เตรียมรับกับโลกยุคใหม่ได้อย่างเท่าทันและร่วมกันแก้ไขอย่างจริงจังที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะรูปแบบการทำธุรกิจในโลกใหม่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง “ฤาจะทิ้งผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีหรือขาดความรู้ทางเทคโนโลยีไว้ข้างหลัง”

รวบตึงเศรษฐกิจไทยไปปี 2566

หลังจากจบการประชุมผู้นำAPEC ส่วนใหญ่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกปี 2566 ขยายตัวกันอย่างคึกคักขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนาในเอเชียขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงอาเซียนด้วย  เศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นแต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนCOVID-19 ขณะที่อินเดียและอาเซียน 5 (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์) ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องเปรียบเสมือนยังมีแสงสว่างท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจโลก โดยมองไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่จีดีพีเพิ่มขึ้นในปีหน้าความเสี่ยงด้านการค้าโลกที่เพิ่มขึ้นอาจฉุดโมเมนตัมการส่งออกไทยแผ่วลงในปี 2566 ที่ทิศทางส่งออกของไทยเมื่อพิจารณาจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักทั้งตลาดสหรัฐฯและยุโรปที่มีสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อสูงและนโยบายการเงินตึงตัวแรง สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ IMF กลุ่มเศรษฐกิจหลักซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1/3 ของเศรษฐกิจโลกอาจจะชะงักงันหรือแทบไม่โตแต่อาจมีปัจจัยหนุนจากการส่งออกสินค้ารถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ฟ้า ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การขาดแคลนชิปคลี่คลาย ตลอดจนการแสวงหาโอกาสเน้นไปที่ตลาดที่เศรษฐกิจยังคงเติบโตดีอย่างอาเซียน ซึ่งในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 นี้ มูลค่าตลาดส่งออกอาเซียนเติบโตได้ 16% ขณะที่ภาพรวมทุกตลาดขยายตัวที่ 9% และมีแนวโน้มที่ตลาดอาเซียนจะเติบโตได้ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาจากหลากหลายปัจจัยหนุนเช่นการเป็นห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสำคัญของโลก ศักยภาพการเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตด้วยการคำนึงถึง Climate Change หรือเป็น BCG Model ซึ่งอาเซียนมีความพร้อมด้านวัตถุดิบในการขับเคลื่อน หรือแม้แต่การพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน และภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม อีกทั้งการรวมกลุ่มและความร่วมมือการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของอาเซียน เป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศอาเซียนเติบโตได้ต่อเนื่อง และการเน้นประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเวที APEC หรือในกลุ่มอาเซียนที่การเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022 ของไทยได้แสดงออกถึง Soft Power ของไทย สร้างบรรยากาศที่ดีหนุนการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นอกจากเป็นเวทีก่อให้เกิดประโยชน์ในมิติการค้า การลงทุนในระยะยาวจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก APEC แล้ว มองว่าไทยยังได้ประโยชน์จากการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในเวทีโลกให้เห็นถึง Soft Power ของไทยสะท้อนผ่านอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพทั้งตลาดนักท่องเที่ยวยังคงเป็นเอเชียและตะวันออกกลาง จากปัจจัยหนุนความต้องการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยจากการที่ถูกจำกัดไว้ก่อนหน้า (Pent Up Demand) และพฤติกรรมการท่องเที่ยวนอกประเทศภายหลังสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกคลี่คลายยังเป็นจุดหมายปลายทางคือค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า

ขณะที่มองการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไปในแนวทางมุ่งเน้นนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปยังอุตสาหกรรมบริการที่มีคุณภาพสูง  มุ่งเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวในสาขาที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะการดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วย Soft Power ของไทย ซึ่งคาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่องมองไปข้างหน้าแม้เราจะสามารถรับมือกับแรงกระแทกจากเศรษฐกิจโลกชะลอลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ปัจจัยภายในยังมีความท้าทาย ทั้งจากค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงแม้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มไม่เร่งตัวมากเช่นในปีนี้ก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มยังคงเป็นขาขึ้นตามการปรับขึ้นของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ทยอยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อรายจ่ายและเพิ่มภาระให้ครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และเพิ่มต้นทุนของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs ที่เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตCOVID-19ทั้งนี้ มองว่าการมีมาตรการดูแลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังเป็นสิ่งจำเป็น อาทิ มาตรการภาครัฐช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม และมาตรการดูแลจากสถาบันการเงินเพื่อให้ธุรกิจสามารถไปต่อได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตท้ายที่สุดจะส่งผลให้เครื่องยนต์ทุกด้านเดินหน้าเป็นแรงขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยได้ต่อไป