การเมือง » คอลัมน์
แยกรัชวิภา
บ้านเมืองออนไลน์ : วันศุกร์ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 18.37 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

อนาคตไทยกับเป้าหมายการเติบโต ITA ทำได้อย่างไร ?
อนาคตไทยกับเป้าหมายการเติบโต ITA ทำได้อย่างไร ?
ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศที่ด้อยพัฒนาต่างต้องเผชิญกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแต่กลับมีความทวีคูณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แทบจะไม่มีสิ้นสุดประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ทั้งที่ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่อาจนิ่งนอนใจต่างออกมากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ เช่น การรณรงค์ลด ละ เลิก การทุจรติคอร์รัปชั่นต่างเห็นพ้องกันว่าการทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่นำไปสู่ความยากจนและเป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาอย่างแท้จริง เป็นปัญหาเรื้อรังและส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติด้านการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ที่เกิดขึ้นทุกภาคส่วนในสังคมไทยไม่ว่าจะเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกสังคมไทยให้ฉายาว่าเป็นองค์กรที่เอื้อต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุดดังปรากฏข่าวการทุจริตตามสื่อและรายงานของทางราชการอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลต่อระบบการบริหารราชไทยว่าด้วยการกระจายอำนาจและความศรัทธาต่อระบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ผลสืบเนื่องจากคนไทยมีแนวคิดและค่านิยมยกย่องคนร่ำรวย มีอิทธิพล มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง ให้ความเคารพนับถือและมองว่าเป็นคนดีเสมอ หวังจะได้พึ่งพาอุปถัมภ์ค้ำจุน โดยไม่คิดถึงความถูกต้องจนกลายเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่นในหลายรูปแบบฝังรากลึกจึงทำการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องปกติไปการทุจริตคอร์รัปชั่นมีผลในเชิงลบและสอดคล้องกับการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index : CPI) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินการทุจริตคอร์รัปชั่นทั่วโลกจัดโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ( Transparency International : IT) ผลจากสถิติคะแนน CPI ประจำปี 2564 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 6จากทั้งหมด 11 ประเทศและองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริต(Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี2564 จากจำนวน 180 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยได้ 35 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 110 ของโลก สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับสูง
มองผ่านกระจกบานใหญ่สะท้อนแนวคิดคนไทยกับการทุจริตคอร์รัปชั่น
แม้ว่าในช่วงระยะที่ผ่านมาไทยได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการปราบปรามการป้องกันการทุจริต ไม่ว่าจะเข้าร่วมกับประเทศภาคีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (United Nations Convention Against Corruption : UNCAC) การจัดตั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติปัญหาการทุจริตในประเทศไทยไม่ได้มีแนวโน้มแผ่วลงหรือลดน้อยถอยลงแต่อย่างใด“สังคมสอนให้คนเชื่อไม่สามารถแก้ปัญหาการทุจริตของชาติได้การสอนให้คิดดี มีสัมมาทิฐิ ต่างหากที่จะช่วยให้แก้ปัญหาเรื่องนี้ได้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล ที่ปรึกษาชมรม Strong มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้กล่าวไว้สะท้อนให้เห็นภาพการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่สำคัญของไทยที่คลุมด้วยพื้นฐานความสัมพันธ์โครงสร้างสังคมไทยแบบแนวดิ่ง (Vertical Relation) หรือเรียกว่ามีโครงสร้างพื้นฐานสังคมแบบอุปถัมภ์ที่สอนให้คนไทย ยึดติดกับการช่วยเหลือเกื้อกูลยึดโยงกับกระแสบริโภคนิยมวัตถุนิยมติดความสบาย ยกย่องคนที่มีเงินและมีอำนาจ จึงทำให้การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติที่ยอมรับได้ สิ่งนี้จึงทำให้ฝังรากลึกในสังคมไทยมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผสมกับการทำงานที่ไม่ได้บูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนไว้ด้วยกันจึงส่งผลให้การทำงานไม่สามารถทำได้อย่างเต็มศักยภาพ ขาดความเข้มแข็งไม่ได้มีการปลูกฝังระบบการคิดที่ดีด้วยการยึดสัมมาทิฐิเป็นเสาหลักกอรปกับ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภากล่าวในงานมอบรางวัล ANTI-CORRUPTION AWARDS 2022ส่งเสริมการต้านคอร์รัปชั่น ประจำปี 2565 จัดโดย สมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) ตอนหนึ่งว่า “เมื่อเราพูดถึง “ผู้นำสุจริต” ปัญหาภาคปฏิบัติคือเรื่องใหญ่ เพราะผู้นำทุกคนท่องจำได้หมด ไม่ว่าจะเป็นหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักการตรวจสอบได้ หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบต่อสังคม ทุกคนท่องได้หมด แล้วทำไมยังมีปัญหา นั่นเพราะไม่นำไปปฏิบัติ ดังนั้นธรรมาภิบาลภาคปฏิบัติจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ อยู่ที่เราทำหรือไม่”
หากจะเปรียบ ITA เสมือนเครื่องX-rayหาคุณธรรมและความโปร่งใสคงไม่ผิด ?
ทว่าด้วยการดำเนินงานให้มีคุณธรรมและให้ความสำคัญกับความโปร่งใสครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐไปทั่วประเทศจากการประเมิน (Integrity and Transparency Assessment : ITA)ประจำปีงบประมาณที่ร่วมกันกำกับติดตามได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 8,300 แห่งทั่วประเทศหากผู้เขียนจะเปรียบ ITA เสมือนเครื่อง X-ray ขององค์กรคงไม่ผิดโดย ITA มีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานภาครัฐทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใส ซึ่งผลการประเมินที่ได้จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การให้บริการ ตอบสนองต่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้นขณะเดียวกัน ITA ยังเป็นเครื่องมือยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานภาครัฐและภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ การประเมิน ITA จึงไม่ได้เป็นเพียงการประเมินคุณธรรมและการป้องกันการทุจริตในองค์กร แต่ยังเป็นการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนทราบถึงช่องว่างความไม่เป็นธรรมและความด้อยประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการโดยสร้างองค์ความรู้ให้บุคลากรจากการปลูกฝังองค์ความรู้ให้เป็นเกราะป้องกันการทุจริตในองค์กร
อนาคตไทยกับเป้าหมายการเติบโตITA ทำได้อย่างไร ?
ภาตใต้หลักการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ITA ตามกรอบแนวทางที่เชื่อมโยงและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการเก็บข้อมูลรอบด้านและหลากหลายมิติการกำหนดระเบียบวิธีการประเมินผลเป็นไปตามหลักการทางสถิติและทางวิชาการเพื่อให้ผลการประเมินออกมาสะท้อนด้านคุณธรรมและความโปร่งใสอย่างแท้จริงที่แยกการประเมินเป็นสัดส่วนชัดเจนโดยส่วนแรก เป็นการเก็บข้อมูลจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ (Internal Integrity and Transparency Assessment: IIT) เปิดโอกาสให้บุคลากรภาครัฐทุกระดับที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี มีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานตนเอง ผ่านการสอบถามการรับรู้และความคิดเห็น5 ตัวชี้วัด ได้แก่ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริตส่วนที่ 2 การเก็บข้อมูลจากผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ (External Integrity and Transparency Assessment: EIT)เปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐมีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ผ่านการสอบถามการรับรู้และความคิดเห็น 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงานตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสารตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงานส่วนที่ 3 การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) เป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เผยแพร่ไว้ทางหน้าเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน โดยมีคณะที่ปรึกษาการประเมิน ITA ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและคนกลาง (third party) เป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลและให้คะแนนพร้อมข้อเสนอแนะตามหลักเกณฑ์การประเมินที่กำหนด แบ่งออกเป็น 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน9.2 การบริหารงาน9.3 การบริหารเงินงบประมาณ9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส และสุดท้าย ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริตทั้งนี้ ผู้เขียนในฐานะประชาชนคนไทย คาดหวังกับผลการประเมิน ITA ถือเป็นเครื่องมือที่สะท้อนการเติบโตที่ทำให้มองเห็นการทุจริตคอร์รัปชั่นลดลงอย่างเป็นรูปธรรมและนำไปสู่พัฒนาการบริหารงานภาครัฐ ที่ประชาชนคนไทยได้รับบริการที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยกระดับธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐเกิดการตื่นตัวเร่งเครื่องปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานตามภารกิจที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าในการบริหารงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดลดโอกาสความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยให้สมกับการเป็นเครื่อง X-ray กระตุ้นให้เกิดการ “เติบโต” ในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐต่อไป
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง » คอลัมน์
คอลัมน์ล่าสุด ![]()
...คำถามประจำวันเด็ก...
ใต้ถุนสภา- ปรากฏการณ์ "ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน" 21:25 น.
- “หนี้นอกระบบ” 05:33 น.