วันอังคาร ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 15:30 น.

การเมือง

‘มท.1-ทูตอิสราเอล’ ลงพื้นที่ ‘โบสถ์ชาบัด’ ปาย  สอบปมชาวยิวดอดเข้ามาตั้งถิ่นฐาน-ก่อวุ่นวาย

วันพุธ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568, 13.24 น.

‘มท.1’ ยกคณะลงพื้นที่ ‘โบสถ์ชาบัด’ ปาย แม่ฮ่องสอน รุดติดตาม-ตรวจสอบปมร้อนชาวยิวดอดเข้ามาตั้งถิ่นฐาน-ก่อวุ่นวาย ด้าน ‘ผู้นำศาสนายูดาห์ในชุมชน’ ลั่นไทยเป็นของคนไทย ไม่เคยคิดยึด รับเสียใจถูกเข้าใจผิด ทั้งที่คนอิสราเอลชอบประเทศ-คนไทย

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568  นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ออร์นา ซากิฟ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย   พลตำรวจโท สำราญ นวลมา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อประชุมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ร่วมกับ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาชน เพื่อแก้ปัญหากรณีเกิดกระแสข่าว ชาวอิสราเอลเข้ายึดพื้นที่ในอำเภอปาย และทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมจนสร้างความเดือด ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นและจำนวนนักท่องเที่ยว

โดยนายอนุทิน ได้เดินทางไปที่ “ชาบัด“ โบสถ์ของชาวยิวในอำเภอปาย โดยมี นายนาเฮ็มยา วิลเฮ็ม ผู้นำศาสนายูดาห์ในชุมชน ให้การต้อนรับ และพาชมสถานที่จากนั้นได้เข้าประชุม

ก่อนเริ่มประชุม นายอนุทิน ได้กล่าวถึงเป้าหมายการลงพื้นที่ในครั้งนี้ว่า เพื่อติดตาม และเปลี่ยนข้อมูล และคลี่คลายความกังวล ต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเป้าหมายของการมาถึงอำเภอปายในครั้งนี้ คือติดตาม สถานการณ์และข้อเท็จจริงการท่องเที่ยวในพื้นที่โดยเฉพาะประเด็นนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลตามที่ปรากฏเป็นข่าว ซึ่งพี่น้องประชาชนทางประเทศให้ความสนใจ และเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ รวมถึงนายกกรกรรัฐมนตรีได้สั่งการให้ตน และข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย ลงมาติดตามสถานการณ์สืบหาข้อเท็จจริง และอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อให้คลายความกังวลของพี่น้องประชาชนที่ติดตามข่าว ซึ่งเป็นประเด็นที่หากเราไม่ได้มาเห็นกับตาตนเองก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด และเกิดความสับสน ทำให้ประชาชน ไม่สบายใจ

นายอนุทินยังย้ำว่า อำเภอปายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ และให้โอกาสกับผู้คนในพื้นที่ สร้างรายได้ให้กับตนเอง และขยายมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่มีทั้งปัญหาและโอกาส 

ส่วนกระแส ข่าวที่ปรากฏอยู่ในโซเชียลมีเดีย ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้สอบถามและติดตามกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งก็ได้รับการยืนยัน อย่างหนักแน่นว่า ข่าวที่ปรากฏออกไปนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง และมีการพูดเกินความเป็นจริงไปมาก และไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแทรกซึมหรือทำลายความมั่นคงในการเข้ามาสร้างชุมชน และเป็นแหล่งที่พักพิงของชาวต่างประเทศ ซึ่งนักท่องเที่ยวบางคนอาจจะใช้เวลาในการพำนักค่อนข้างนานขึ้นอยู่กับวิธีการการท่องเที่ยวของเขาที่อยากจะใช้วันหยุดอย่างเต็มที่ ซึ่งก็มีผู้ที่เข้ามาลงทุนหรือสร้างถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ แต่ก็ยังได้รับการยืนยันว่า พวกเขายังเคารพกฎหมายและอยู่ในระเบียบปฏิบัติตนไม่เป็นภัยต่อพื้นที่ ยังสามารถที่จะดำเนินชีวิตอย่างปกติได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนได้รับรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนอยู่ตลอดเวลา 

“เรื่องที่มีใช้อิทธิพลหรือไม่ หรือการปฏิบัติตนนอกกรอบกฎหมาย ทำตัวเป็นภัยสังคม ไม่ว่าจะจากคนไทยด้วยกันเอง หรือชาวต่างชาติ ลามไปถึงขนาดว่า มีปัญหาเหมือนภูเก็ต พัทยา หรือไม่คำตอบก็คือไม่ อำเภอปายเป็นพื้นที่ที่สงบ ชาวบ้านในพื้นที่ก็เข้าใจดี และให้การต้อนรับแขก ชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในพื้นที่“ 

นายอนุทิน ยังบอกว่า วันนี้มีการหลั่งไหลเข้ามานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น คนไทยเข้ามาเพิ่มมากขึ้น อาจจะมีความสงบที่เคยมีอยู่อาจจะไม่เงีบบเหมือนสมัยก่อน และอาจมีความคึกคักขึ้นมาบ้าง ก็ต้องดู ว่าพี่น้องในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ 

”สิ่งที่เราจะไม่ยอมให้เกิดเด็ดขาด และให้คำยืนยันก็คือตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาเป็นประกันว่าไม่มีเรื่องของการคุกคาม ไม่มีขาใหญ่ ต้องไม่มีนักเลง มาเฟีย มาฟรีก็มีไม่ได้ ต้องมาสร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชน“

นายอนุทิน ยังเชื่อว่าผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ว่าปัญหาเหล่านี้ไม่เกินความสามารถของบุคลากรเหล่านี้ และเราก็พร้อมที่จะให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ พร้อมย้พว่า ข้อมูลที่ตนได้มาได้รับการยืนยันแล้วจากผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจจะมีบางสิ่งที่ไม่ชอบใจกันวัฒนธรรมประเพณี ทั้งเรื่องวัฒนธรรมประเพณี หรือบุคลิกภาพและข้อจำกัดด้านศาสนา ทำความเข้าใจเป็นสิ่งที่เราต้องไปทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความสบายใจ 

นายอนุทิน ยังบอกว่า ตนและเอกอัครราชทูต ไม่ได้เพิ่งรู้จักกัน รู้จักกันมา 3-4 ปีแล้ว โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนทางการแพทย์ มีความผูกพันธ์ และความสัมพันธ์กันมามากพอสมควร และยืนยันได้ว่า เขามีความหวังดี เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ

ด้าน นางออร์นา ซากิฟ เอกอัคราลทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย กล่าวว่ารู้สึกมีความยินดีเสมอที่ได้ออกมาพบปะกับประชาชนในภูมิภาค และจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย ในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 นั้นนักท่องเที่ยวจากอิสราเอลมาประเทศไทยทุกปีจำนวนประมาณ 200,000 คน จนเพิ่มขึ้นมาเป็น 300,000 คนในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้สอบถามนักท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ว่าทำไมถึงมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทย เพราะไทยมีความปลอดภัย และความสวยงามของประเทศไทยจึงได้ขอร้องว่าขอให้คนไทยอย่าได้ถือโทษและตีตรานักท่องเที่ยวมากนัก เพราะวัฒนธรรมอาจมีอะไรที่แตกต่างจากของไทยไปบ้าง แต่นักท่องเที่ยวอิสราเอลถือเป็นผู้ใช้จ่ายมือเติบ กระเป๋าตุง พร้อมที่จะมาหาความสุขในประเทศไทย หากมีโอกาสก็อยากมาท่องเที่ยวในไทย และสามารถลดความทุกข์ที่เกิดขึ้นในประเทศอิสราเอลบ้าง 

นางออร์นา กล่าวว่า ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาจจะมีบ้าง ทางสถานทูตเอกอิสราเอลตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ พร้อมที่จะแนะนำให้กับนักท่องเที่ยวอิสราเอลได้ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของไทยได้มากที่สุด แต่อาจจะมีบ้างที่เป็นยังวัยรุ่นมาท่องเที่ยว และเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ขอให้เข้าใจความคิดของวัยรุ่นว่า อาจมีการต่อต้านในความคิดและจิตสำนึกบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติของวัยรุ่นทั่วไปแต่ก็พยายามจะสร้างความเข้าใจให้มากที่สุด 

ที่ผ่านมาตนได้เห็นป้ายไม่ต้อนรับชาวอิสราเอลใน อ.ปาย ตามโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเกิดความกังวล หากไม่เร่งหาทางออกอาจถือเป็นการตอกย้ำถึงประวัติศาสตร์อันโหดร้าย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของชาวยิวที่ถูกแบ่งแยกจากสังคม กระทำการ และถูกตีตราจากนาซีว่าเป็นชาวยิว และไม่ต้องการให้เกิดเรื่องแบบนี้ซ้ำสอง 

ส่วนศาสนสถานของชาวยิว ในอำเภอปายนั้น ยืนยันไม่ได้เป็นวัดไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับชาวอิสราเอลโดยเฉพาะ แต่เป็นสถานที่ที่ต้องการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา กับนักท่องเที่ยวที่มามาเที่ยวในประเทศไทยซึ่งก็มีความเคร่งในศาสนา เป็นการดำเนินการที่จะต้องโลวโพรไฟล์ที่สุด ทำอย่างภายในที่สุด ซึ่งจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้เกิดความไม่สบายใจต่อพี่น้องชาวปายอย่างแน่นอน พร้อมยืนยันจะไม่มีการสร้างมวลชนหรือชุมชนในระยะยาว
 

หน้าแรก » การเมือง