วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 16:10 น.

ภูมิภาค

โรงเรียนดังจัดอบรมครู “รู้จักโรคซึมเศร้า” ป้องกันนักเรียนทำร้ายตัวเอง

วันศุกร์ ที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2567, 19.23 น.

โรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน อำเภอหลังสวน จ.ชุมพร จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “รู้จักโรคซึมเศร้า”หลังจากมีนักเรียนกระโดดตึกเรียนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพื่อสร้างความมั่นใจร่วมกับผู้ปกครองเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในเด็ก
 

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 1 มี.ค.67 ที่ห้องโสตฯ โรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร นางสาวภนิดา นพชำนาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน นางสาวอรวรรณ ล่องลือฤทธิ์ นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2 พร้อมด้วย บุคลากรทางการศึกษา ฝ่ายบริการงานบุคคล จัดโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “รู้จักโรคซึมเศร้า”

 


 

โดยมีนายแพทย์นพพร ตันติรังสี ผู้อำนวยการสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ ทำกิจกรรมดูแลจิตใจตนเอง แพทย์หญิงฟาดีละห์ เจ๊ะสนิ จิตแพทย์เด็กแลวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้บรรยายเรื่อง โรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น อีกทั้งยังมี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 และนักสังคมสงเคราะห์ ร่วมบรรยายในครั้งนี้
 

ด้านนางสาวภนิดาฯ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดขันเงิน กล่าวว่า โรงเรียนได้เกิดเหตุนักเรียนกระโดดตึกเรียนเมื่อต้นกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุได้ดูแลนักเรียนมาโดยตลอดจนปัจจุบันหายดีแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญต้องดูแลหัวใจคุณครูและผู้ปกครองด้วย เพื่อให้ผู้ปกครองมั่นใจโรงเรียนให้ดูแลลูกหลานต่อไป

 


 

ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวอีกว่า วัตถุหลักในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ครูรู้จักโรคซึมเศร้าอย่างแท้จริง ให้ครูได้รู้จักตัวตนของครูในการดูแลสภาพจิตใจของตนเองด้วย และดูแลสภาพจิตใจในขบวนการเรียนการสอน ทำอย่างไรให้นักเรียนมีความสุขในขณะที่เรียน ลดภาวะความเครียดและการอยู่ร่วมกันกับครูเพื่อนในโรงเรียนและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ครอบครัวด้วยจึงให้มีกิจกรรมวันนี้ขึ้น
 

ส่วนนางสาวอรวรรณ ฯ นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2 กล่าวว่า ที่มีการสำรวจและการคัดกรอง พบว่าส่วนใหญ่เป็นปัญหาจากทางครอบครัวที่ส่งผลกระทบมาถึงตัวเด็ก จนไปกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าของเด็กเอง ภาวะทางสังคมที่เด็กต้องเจอในแต่ละวันประกอบด้วยกันหลายปัจจัยจึงเกิดภาวะซึมเศร้า

 


 

โดยลักษณะอาการของเด็กอาการโรคซึมเศร้า พฤติกรรมแต่ละคนจะแตกต่างกัน สังเกตเด็กมีอาการซึมผิดปกติหรือในเด็กบางคนเวลามาโรงเรียนร่าเริงกว่าปกติ แต่เมื่อกลับบ้าน อาจจะมีอาการซึมไม่พูดไม่จากับใครทางเราต้องอาศัยข้อมูลจากทางบ้านด้วยว่าเด็กมีพฤติกรรมแบบไหน
 

สำหรับการป้องกันเกิดเหตุคาดไม่ถึงอย่างเช่น ฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเอง ต้องอาศัยคุณครูประจำชั้นที่เข้าสอนสังเกตพฤติกรรมเด็กแต่ละคน พร้อมกับนำมาวิเคราะห์ร่วมกันทั้งผอ. รอง ผอ.โรงเรียนรวมถึงคณะกรรมการสถานศึกษาประกอบกับเยี่ยมบ้านเด็กวิเคราะห์ PSQA และSDQ พร้อมกับพฤติกรรมในโรงเรียน พฤติกรรมการเรียน และพฤติกรรมการอยู่กับเพื่อน เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์”

หน้าแรก » ภูมิภาค