กทม-สาธารณสุข
‘นับคาร์บ ลดโรค’ นโยบาย สธ.ตั้งศูนย์คนไทยห่างไกลกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Ncds ขยายไปทั่วประเทศ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

‘นับคาร์บ ลดโรค’ นโยบาย สธ.ตั้งศูนย์คนไทยห่างไกลกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง Ncds ขยายไปทั่วประเทศ ผู้ป่วยเกือบแสนรายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการการใช้ชีวิต ประหยัดงบฯปีละเกือบ 300 ล้าน
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ฝ่ายการเมืองเปิดเผยว่า จากการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขในวันนี้ นโยบายกระทรวงสาธารณสุขมุ่งดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประชาชนเข้าถึงบริการโดยง่ายและเท่าเทียม ถือหลัก“ป้องกันดีกว่ารักษา” และแม้จะต้องรักษาเพราะการเจ็บป่วยเป็นสิ่งยากต่อการหลีกเลี่ยง กระทรวงสาธารณสุขก็ต้องบริหารจัดการให้ดีที่สุด เพื่อให้คนไทยห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ NCDs เป็นนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญ พบว่าการขับเคลื่อนนโยบายนี้เป็นไปด้วยดี เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
น.ส.ตรีชฎากล่าวว่า NCDs หมายถึง กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัย หรือพฤติกรรมส่วนตัวในการดำเนินชีวิต โรคจะดำเนินไปอย่างช้าๆ ค่อยๆสะสมอาการต่อเนื่องไปเรื่อยๆ กระทั่งเป็นโรคเรื้อรัง โรคกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค เช่น เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคไต โรคปอด โรงทางเดินอาหาร คลินิก NCD ช่วยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังลดความเสี่ยงได้ด้วยการควบคุมโรคและลดภาวะแทรกซ้อน สธ.ให้มีการจัดตั้งเป็นคลินิก หรือศูยย์ให้บริการดูแลรักษาและจัดการโรคเรื้อรัง หรือโรคไม่ีติดต่อ
ทั้งนี้ พบว่า ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ในร.พ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จัดตั้ง 7,256 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 97.69, ศูนย์ป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชน ในเขตสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 878 แห่ง มีการจัดตั้งครบทุกแห่ง คิดเป็นร้อย 100 และคลินิก NCDs รักษาหาย ผลการดำเนินงาน จำนวน134 แห่งจาก 134 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100
โฆษกสธ.ฝ่ายการเมืองกล่าวต่อไปว่า ผลลัพธ์การให้บริการคลินิก NCDs รักษาหาย จำนวนผู้เข้ารับการอบรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 86,696 คน จำนวนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ 10,603 คน แบ่งเป็น จำนวนผู้ป่วยที่หยุดยาได้ 6,297 คน, จำนวนผู้ป่วยที่ลดยาลง 8,788 คน, จำนวนผู้ป่วยที่รับยาเท่าเดิม 41,048 คน, ผู้ป่วยรับยาเพิ่ม 1,823 คน
“ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ ผู้ที่หยุดยาได้ 16,900 คน x 16,310 บาท เป็นเงิน 275.63 ล้านบาท/ปี เป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ 285 ล้านบาท/ปี ผู้ที่ลดยาได้มีทั้ง 1 รายการ - 5 รายการ เป็นเงิน 9.37 ล้านบาท รวมค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ 285 ล้านบาท/ปี นโยบายนี้เป็นนโยบายเรือธงของท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์ที่รณรงค์ให้ประชาชนลดคาร์บ ลดโรค ให้คนกลับมาหล่อมาสวย ที่สำคัญคือ การลดงบประมาณที่ต้องนำใช้รักษาโรคเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นของกระทรวงสาธารณสุข และสิ่งที่ได้ เมื่อคนลดความเจ็บป่วย ภาระของบุคลากรทางการทางแพทย์ก็ลดลง สามารถแก้ปัญหางานล้นมือของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ได้อีกทางหนึ่งด้วย” โฆษกสธ. กล่าว
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » กทม-สาธารณสุข
ข่าวในหมวดกทม-สาธารณสุข ![]()
"สมศักดิ์" ขออย่าตื่นตระหนกโควิด-19 กลับมาระบาดหนัก ชี้ ปัจจุบันกลายเป็นโรคประจำถิ่น ติดง่ายรุนแรงน้อย 11:45 น.
- รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลแผลสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ 14:06 น.
- นานาชาติตีพิมพ์ผลงานไทยสร้างประวัติศาสตร์ ByeByeHIV สำเร็จ 80 ราย ตอกย้ำความสำเร็จนวัตกรรมแห่งชาติไทยจากมังคุดเสริมฤทธิ์ 11:07 น.
- “สมศักดิ์” สั่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ปัญหาใบส่งตัวในพื้นที่ กทม. มอบ สปสช. พิจารณายกเลิกสัญญา 10:52 น.
- อาการดวงตาที่เป็นสัญญาณเตือน..ต้องรีบมาพบแพทย์ 10:18 น.