วันเสาร์ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 21:24 น.

การศึกษา

พระพรหมบัณฑิตแนะคณะสงฆ์ปรับตัว ใช้สื่อออนไลน์เผยแพร่พุทธธรรม

วันอังคาร ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561, 13.14 น.

พระพรหมบัณฑิตแนะคณะสงฆ์ปรับตัว ใช้สื่อออนไลน์เผยแพร่พุทธธรรม

 


วันที่ 9 ก.ย.2561  ที่อาคารหอประชุมวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ปาฐกถาพิเศษ ในโอกาสงานวันคล้ายวันก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน และการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2  MCU Nan Congress ll เรื่อง การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0

พระพรหมบัณฑิต  ได้ระบุว่า การพัฒนาต้องมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเพื่อแนวทางในการสร้างปัญญาสร้างความรู้ เพื่อให้องค์กรคงอยู่ตราบนาน อย่างเช่นขณะนี้รัฐบาลมีเป้าหมายคือมีนโยบายในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือเรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 คน ดังนั้นคณะสงฆ์ก็จะต้องให้เป็นคณะสงฆ์ 4.0 ด้วยเพราะถ้าไม่ปรับตัวก็จะเป็นไดโนเสาสูญพันธุ์ในที่สุด ซึ่งขณะนี้ศาสนาอื่นมีปรับตัวโดยโดยใช้สื่อออนไลน์ในการเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกระดับแม้กระทั้งบนดอย  

"การที่คณะสงฆ์จะมีการปรับตัวอย่างไรนั้นจะต้องมีการทำ SWOT คือการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาสและอุปสรรค และต้องให้เท่านั้นกับสถานการณ์ด้วย ซึ่งการพัฒนาแบบนี้เรียกว่าเป็นการบริหารเชิงกลยุทธ ไม่ใช่อยู่แบบน้ำขึ้นน้ำลงเหมือนจอกแหนหรือสวะ" พระพรหมบัณฑิต กล่าว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(พ.ศ.2557-ปัจจุบัน)  ได้มีเป้าหมายพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 (Thailand 4.0)  โดยมีแผนงานที่รัฐบาลพยายามผลักดันในปี ๒๕๖๑ ประกอบด้วย 
         

1) โครงสร้างพื้นฐาน (Digital Infrastructure) ทั้งเน็ตประชารัฐ ซึ่งเป็นการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงหมู่บ้านทั่วประเทศ และเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำ โดยเมื่อโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งด้าน e-Commerce, e-Health และการเรียนรู้ 
         

2) การผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Government Big Data) ด้วยการพัฒนาศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Goverment) ซึ่งมีองค์ประกอบ 6 ด้านคือ  1. Open Data 2.  Base Analytics Data 3. Cloud Services Data  อย่างเช่น Amazon และ  Alibaba or MCU  4. Hard ware,Soff Ware Data  5. Data Analytic และ 6. Data center เพราะปัจจุบันข้อมมูลที่มีจะต้องเป็นข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ (Data Analytic) ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพราะเป็นเรื่องใหญ่และหัวใจสำคัญคือจะต้องพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะต้องบอกได้ว่าข้อมูลอะไรที่สำคัญ ก่อนจะนำมารวมกันและสามารถนำไปใช้วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ต่อได้ สำหรับการรวมข้อมูลในภาพรวมจริงๆ แล้วในประเทศไทยยังไม่ได้มีใครทำ ซึ่งเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่มองว่าเป็นเรื่องสำคัญ จึงได้มอบหมายให้ทุกๆ หน่วยงานเร่งทำ โดยกระทรวงการคลังก็ได้ทำเรื่อง Big Data นี้พอสมควร”   
         

3) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) 4) การพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Application and Development)  ได้แก่ IoT Institute, Digital Park, Smart Cities  และ 5) การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Manpower) ให้แก่บุคลากรและประชาชนทุกระดับ          


ทั้งนี้เพื่อ เตรียมเร่งการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเพื่อไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือ    1) Bio-Digital Platform ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทึ่มีฐานจากรหัสพันธุ กรรมและชีวโมเลกุล และดิจิทัลเดต้า ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ เตรียมโครงการสำคัญรองรับหลายโครงการ อาทิ Bio Bank, Gene Bank, PlantFactory และ Bioinformatics เป็นต้น 2) Cyber-Physical Platform เพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะมีทั้งระบบการผลิตที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทางกายภาพรวมถึงแพลตฟอร์มการทำงาน การซื้อขาย ตลอดจนการให้บริการที่อยู่ในโลกไซเบอร์ควบคู่กันไป โดยมีเทคโนโลยีในที่สำคัญ อาทิ High Performance Computing, Smart Business, Internet of Value and Blockchain และ Data Analytics เป็นต้น 
         


3) Earth-Space Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะครอบคลุมทั้งด้าน Food for the Future, Biomedical, Renewable Energy, Climate Technology, Geo Engineering, การจัดการน้ำและทรัพยากร และภัยพิบัติต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการที่เกี่ยวกับดาวเทียมและอวกาศ และอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นต้น และมีเป้าพัฒนาเป็นสตาร์ทอัพ (Startup)  6 กลุ่ม ดังนี้
         

๑) E-commerce : การค้าขายผ่านสื่อออนไลน์ทั้งในรูปแบบของสินค้าและบริการ 2) Fintech : ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีกับการเงิน เช่น การลงทุน การทำบัญชี เป็นต้น  3) Agritech : เทคโนโลยีทางการเกษตร เป็นกลุ่มที่ช่วยผลักดันให้งานด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นทรัพยากรที่เรามีอยู่แล้วเพิ่มมูลค่ามากขึ้น
4) Edtech : ธุรกิจเกี่ยวกับการเรียนรู้ เน้นกระจายองค์ความรู้ให้เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย และเป็นวงกว้างมากขึ้น 5) E-service : บริการต่างๆ ที่ถูกนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ เช่น ชำระค่าบริการออนไลน์ เป็นต้น 6) IOT : การเชื่อมโยงอุปกรณ์ทั้งหมดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกลผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ


หลังจากนั้นรัฐบาลดำเนินการผลักดันตามแผนงานปี 2561   ทั้ง 5 ด้าน โดยเฉพาะยิ่งด้านการผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Government Big Data) ได้เริ่มเดินหน้ารัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Manpower)ได้มีการประชุมสัมมนาจัดนิทรรศการสื่อสารให้ประชาชนได้ทราบเป็นระยะๆ อย่างเช่น จัดแสดงนิทรรศการ เรื่องการดำเนินการและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยมีบูธนำเสนอผลงานจากการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ Big Data ของภาครัฐ คราวประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 พ.ค.2561
          
วันที่ 18  พ.ค.2561 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ประเทศไทยกับการก้าวสู่การเป็น Startup Hub ในงาน Startup Thailand 2018  วันที่ 7 มิ.ย.2561  ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยในการเป็นประธานเปิดงาน E-Commerce Big Bang และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “เปลี่ยนธุรกิจไทยสู่โลกออนไลน์”  วันที่ 27 ก.ค.2561 กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดตัว “Big Data” ที่จะนำมาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในทุกระดับด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในระดับฐานราก การสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ การพัฒนาผู้ประกอบการ    วันที่ 3 ส.ค.2561 พล.อ.ประยุทธ์  เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Thailand Social Expo ๒๐๑๘  พร้อมปาฐกฐาพิเศษ เรื่อง การขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาสังคมในยุค Thailand 4.0 และมอบแนวทางนโยบายด้านสังคม  ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี 

และวันที่ 11 ก.ย.2561นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) นำคณะผู้จัดงาน ดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อประชาสัมพันธ์งาน “Digital Thailand Big Bang 2018” โดยได้นำเสนอกิจกรรมใน 3 โซน ได้แก่ 1) โลกเสมือน 3D visualization เมืองอัจฉริยะและดิจิทัลพาร์ค เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน มีโซนให้ทุกคนได้ท่องเที่ยวชมดิจิทัลพาร์คผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง : VR 2) ความสำเร็จของระบบการศึกษาที่ใช้วัฒนธรรมไทยในการก้าวสู่ตลาดโลก มวยไทย ไอกล้า แอพพลิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้มวยไทยบนโลกดิจิทัล ที่ใช้สอนคนทั่วโลกแล้วกว่า 130 ประเทศ สู่การเป็นนักกีฬามืออาชีพ สามารถทำให้มวยไทยกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประจำชาติ และเพิ่มมูลค่าให้กับ วัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของชาติ 3) เทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลฝีมือคนไทยครั้งแรกในไทย 3D Face recognition จุดเริ่มต้นของการตรวจพิสูจน์การมีตัวตน และจุดเริ่มต้นของการต่อยอดเทคโนโลยีก่อกำเนิดในยุค 2020    
 
 

หน้าแรก » การศึกษา