วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567 18:45 น.

การศึกษา

ม.มหาสารคาม ให้เอกชนผลิต “เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกฯ”

วันพฤหัสบดี ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 11.29 น.

ม.มหาสารคาม ให้เอกชนผลิต  “เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกฯ”

 

หน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ บริษัท อาทิตย์จักรกล จำกัด  จัดพิธีลงนามการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา “เครื่องอบแห้งแบบถังทรงกระบอกหมุนด้วยระบบรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้ง” โดยมี รศ.ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นประธาน ผศ. ดร. ธีรยุทธ ชาติชนะยืนยง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวรายงานถึงที่มาของการลงนาม  รศ. ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวถึงแนวทางในการพัฒนาผลงานวิจัยภายใต้การวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่จะสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

 

ผศ.ดร.จักรมาส เลาหวณิช นักวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า  เครื่องอบแห้งฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1 ตัวถังซึ่งถือเป็นส่วนของห้องอบแห้ง ภายในติดตั้งอุปกรณ์ ช่วยในการลําเลียง 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เกลียวลําเลียงซึ่งติดตั้งขดวนรอบถัง และช่วงที่ 2 ใบโปรยวัสดุที่ติด ตั้งตามแนวรัศมีของตัวถัง ส่วนที่ 2 ชุดควบคุม และส่วนที่ 3 ขัดให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรด ร่วมกับลมร้อนปล่อยทิ้งสามารถอบแห่งวัสดุในลักษณะไหลผ่านเครื่องอบแห้ง ใช้อบแห้ง วัสดุที่เป็นเม็ด เป็นสะเก็ด และเป็นก้อน ลักษณะเด่นของการประดิษฐ์นี้ คือไม่ยุ่งยาก เครื่องดังกล่าวยังให้พลังงานแก่วัสดุโดย การแผ่รังสีโดยตรงไปยังวัสดุ ซึ่งเป็นผลให้วัสดุได้รับรังสีความร้อนอย่างรวดเร็ว ผนวกกับการเป่าลม เหลือทิ้ง จากหัวเผาอินฟราเรด ทําให้เกิดลมร้อนกระจายสัมผัสกับวัสดุ และตัวถัง  จึงทําให้เกิดการอบแห้งของวัสดุ 2 หลักการ ได้แก่ การแผ่รังสีอินฟราเรดในช่วงแรก และอบแห้งด้วยลมร้อนในช่วงถัดมาภายในตัวถัง เป็นผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการอบแห้งสามารถลดความชื้นได้อย่างรวดเร็ว และสม่ำเสมอ อีกทั้ง เป็นระบบการอบ แห้งแบบไหลต่อเนื่องได้ในปริมาณมาก

 

สำหรับการลงนามในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหรือเอกชน ได้มีโอกาสนำเอาทรัพย์สินทางปัญญาจากงานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไปใช้ประโยชน์เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจหลักของศูนย์ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ในการดำเนินงานตามโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เครือข่ายมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ต่อไป

หน้าแรก » การศึกษา