การศึกษา
มทร.สุวรรณภูมิ จับมือ วว. ให้ความรู้ด้านเกษตร
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

มทร.สุวรรณภูมิ จับมือ วว. ให้ความรู้ด้านเกษตร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดำเนินงานโครงการจ้างเหมาจัดอบรมให้ความรู้และพัฒนาเชิงลึก เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี , เรื่องพืชอาหารและมาตรฐานสินค้าเกษตร , เรื่องการผลิต แปรรูป แสดงฉลาก จำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ แก่เกษตรกรผู้ผลิต และผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท และใกล้เคียง เพื่อร่วมกันพัฒนากลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ให้เกิดการกระจายรายได้ เสริมสร้างโอกาส และสร้างความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมและพัฒนาชุมชน สังคม ให้เข้มแข็งมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น อันนำไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ และเพิ่มศักยภาพงานวิจัยให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ชุมชน สังคม อย่างยั่งยืน
รศ.ดร.กิตติ บุญเลิศนิรันดร์ รองอธิการบดี มทร.สุวรรณภูมิ กล่าวว่า จากการดำเนินงานดังกล่าวพบว่าประเด็นปัญหาหลักที่สำคัญของการพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า OTOP คือ ปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ การเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตที่มีคุณภาพ ความไม่สม่ำเสมอ การผลิตสินค้าแต่ละครั้งมีคุณภาพ ไม่เหมือนกัน ไม่สามารถผลิตสินค้าจำนวนมากได้ ขาดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตที่ทันสมัย รวมทั้งสินค้าไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการ ฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่มีพื้นฐานการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งการอบรมให้ความรู้และพัฒนาเชิงลึกในครั้งนี้ จึงมุ่งพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยอย่างจริงจัง โดยการยกระดับผลผลิตทางการเกษตร ให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สร้างความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณเพื่อสร้างมูลค่า และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรด้านพืชอาหารตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP)
ดร.ณัฏฐ์ สิริวรรธนานนท์ หัวหน้าโครงการ ฯ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากโครงการแผนงานขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคมฐานราก (ยกระดับ OTOP ในพื้นที่ 10 จังหวัดยากจนที่สุดในประเทศ) ปีงบประมาณ 2561 เป็นโครงการต่อยอดกิจกรรมพัฒนาเชิงลึกเรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติ ทางการเกษตรที่ดี เรื่อง พืชอาหาร เป้าหมายในการพัฒนาให้ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เรื่อง พืชอาหาร (GAP) โดยดำเนินการ 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นการอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรจาก จังหวัดชัยนาทและพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 70 แปลง 70 คน ระยะที่ 2 คัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อม จำนวน 20 แปลง 20 คน ให้คำปรึกษามาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตเพื่อตรวจวิเคราะห์ ปริมาณสารตกค้างในผลผลิต และธาตุโลหะหนักในดินและน้ำ ตามมาตรฐานที่ วว. กำหนด ระยะที่ 3 การให้คำปรึกษาเชิงลึกเตรียมความพร้อมเพื่อรับการตรวจจากหน่วยงานที่กำหนดจาก วว. หรือภาคีเครือข่ายตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เรื่อง พืชอาหาร จากทาง วว. โดยสำนักรับรองระบบคุณภาพ จะเป็นหน่วยงานให้การรับรองผู้ที่ผ่านการตรวจประเมิน โครงการนี้จึงเป็นโครงการ นำร่องให้เกษตรกรรายอื่นได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติและพัฒนาเกษตรกรทั้งในจังหวัดชัยนาทและ จังหวัดใกล้เคียง นำไปสู่การพัฒนาเกษตรกรในจังหวัดอื่นต่อไป
Email ข่าวการศึกษา เยาวชน ศิลปวัฒนธรรม saowaporn@hotmail.com และ bat_mamsao@ yahoo.com
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
นิพพานสถานธรรมไทย จับมือสหภาพชาวพุทธยุโรป เดินหน้าส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในยุโรป 18:58 น.
- วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย จัดพิธีถวายสังฆทาน 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 178 17:44 น.
- บอร์ดเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติปลื้ม โครงการอบรมด้าน AI สำหรับพระภิกษุสงฆ์สำเร็จเป็นอย่างดี เร่งจัดทำคู่มือ "ดร.มหานิย" เดินหน้าขับเคลื่อนงานสู่เยาวชนทั่วประเทศ 14:17 น.
- ดร.มหานิยมร่วมประชุมขับเคลื่อน “ทุนเล่าเรียนหลวง” สืบสานงานพ่อ เฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10 21:26 น.
- สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง ใช้ AI ขับเคลื่อนโรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ 17:51 น.