การศึกษา
มรภ.สงขลา อนุรักษ์วิถีปลูกข้าวนาดำ สืบสานวัฒนธรรมข้าวภาคใต้
วันเสาร์ ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563, 08.02 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

มรภ.สงขลา อนุรักษ์วิถีปลูกข้าวนาดำ สืบสานวัฒนธรรมข้าวภาคใต้
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน ชวนคนรุ่นใหม่อนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ วิถีปลูกข้าวนาดำ สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตร ควบคู่สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ
ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ วิถีการปลูกข้าวนาดำ ณ สถานีปฏิบัติการพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เมื่อเร็วๆนี้ว่า ตนรู้สึกชื่นชมและเห็นดีงามด้วยในการปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน โดยการพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย สร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมความรู้ในการวางแผนชีวิตที่เหมาะสมกับค่านิยมของคนรุ่นใหม่ และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมบนรากฐานความรู้ทางวิชาการ พัฒนาทักษะชีวิตและการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการให้ทุกภาคส่วนในสังคม เช่น นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในสาขาวิชาต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้
.jpg)
ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางคณะฯ ตอบโจทย์การสร้างคนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมกับบริบท เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับตามปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา และมีระบบความรับผิดชอบทางการศึกษา บนพื้นฐานสมรรถนะหลักของผู้เรียน ผลักดันให้มีการนำวัฒนาธรรมการทำงานที่พึงประสงค์ไปใช้ปฏิบัติจนเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของคนไทย อาทิ การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การทำงานเป็นทีม การเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง การทำงานอย่างกระตือรือร้น นอกจากนั้น ยังเป็นการสืบสานวิถีชีวิตชุมชนในการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพตลอดช่วงชีวิต และเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและบัณฑิตที่มีศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศ
ด้าน ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า ข้าวคืออาหารหลักและเป็นพืชที่เลี้ยงชีวิตคนไทยมาแต่โบราณ อีกทั้งเป็นสินค้าเกษตรที่สามารถส่งออกเป็นสินค้าหลักของประเทศ ข้าวถือเป็นพืชดั้งเดิมที่คนไทยเพาะปลูกมาเป็นระยะเวลานานหลายศตวรรษ ผูกพันกันมานานกับวิถีชีวิตของคนไทย และมีส่วนสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมข้าวที่เป็นเสมือนภาพสะท้อนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยมีพิธีที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการเพาะปลูกต่อเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอให้การเพาะปลูกข้าวในปีนั้นๆ ผ่านไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นคน ข้าว สัตว์ ต่างก็ประสบแต่ความสวัสดีมีชัย ปราศจากอันตรายต่างๆ เช่น พิธีแรกไถนา พิธีแรกดำนา พิธีปักข้าวตาแฮก พิธีแรกหว่านข้าว พิธีเชิญแม่โพสพใส่ข้าวปลูก พิธีบูชาแม่ธรณี เป็นต้น
ดังนั้น ข้าวจึงเป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทยที่แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทยทรงตระหนักถึงความสำคัญของชาวนาไทยที่มีอาชีพหลัก คือ ปลูกข้าว ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการโคกกูแว จ.นราธิวาส พ.ศ. 2536 ความว่า “…ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้เราก็ต้องปลูก...”
ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรศาสตร์ กล่าวเสริมว่า เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จึงมีโครงการต่างๆ ที่เป็นสื่อกลางที่จะหล่อหลอมให้บุคลากรในหน่วยงาน นักศึกษา และชาวนา ได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเป็นการอนุรักษ์วิถีการปลูกข้าว เช่น โครงการสืบสานพระบรมราโชบาย อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และโครงการให้คำปรึกษาเสริมรายได้จากพืชหลังนาอินทรีย์แก่เกษตรกรใน ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา เป็นต้น สำหรับในปี พ.ศ. 2563 ทางคณะฯ ได้จัดโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ : วิถีการปลูกขาวนาดำ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร และหน่วยงานอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้าว
ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยากรบรรยายเรื่อง “การปลูกข้าวแบบนาดำ” ให้แก่นักศึกษา กล่าวว่า นอกจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา มีพันธกิจเพื่อจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาทางการเกษตร วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการเกษตร และบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแล้ว ทางคณะฯ ยังมีพันธกิจด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นทางการเกษตรและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ซึ่งวัฒนธรรมข้าวเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนไทย
Email ข่าวการศึกษา เยาวชน ศิลปวัฒนธรรม saowaporn@hotmail.com และ bat_mamsao@yahoo.com
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
Top 5 ข่าวการศึกษา ![]()
- นักเรียน รร.เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต คว้าชนะเลิศประกวดพูดภาษาจีน 30 มิ.ย. 2568
- ศิษย์เก่า พธ.บ.รุ่น 36 แสดงความยินดี "รศ.ดร.ชลวิทย์" อธิการบดี มศว คนใหม่ 30 มิ.ย. 2568
- สศร.-ม.ศิลปากร รุกพัฒนา V Craf สร้างรายได้ผู้พิการทางสายตา 30 มิ.ย. 2568
- วธ.พาลงใต้! “ศิลปินสร้างศิลปิน” ขยายผลภูมิปัญญาศิลปินสู่การพัฒนาอาชีพ ระดับภูมิภาค 70 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า 30 มิ.ย. 2568
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
นิพพานสถานธรรมไทย จับมือสหภาพชาวพุทธยุโรป เดินหน้าส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในยุโรป 18:58 น.
- วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย จัดพิธีถวายสังฆทาน 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 178 17:44 น.
- บอร์ดเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติปลื้ม โครงการอบรมด้าน AI สำหรับพระภิกษุสงฆ์สำเร็จเป็นอย่างดี เร่งจัดทำคู่มือ "ดร.มหานิย" เดินหน้าขับเคลื่อนงานสู่เยาวชนทั่วประเทศ 14:17 น.
- ดร.มหานิยมร่วมประชุมขับเคลื่อน “ทุนเล่าเรียนหลวง” สืบสานงานพ่อ เฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10 21:26 น.
- สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง ใช้ AI ขับเคลื่อนโรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ 17:51 น.