วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567 08:47 น.

การศึกษา

"๓ ศ.มจร" การันตีสันติภาพวิถีใหม่ เป็นฐานพัฒนาที่ยั่งยืน นำโคกหนองนาสันติศึกษาแก้ขัดแย้งต้นน้ำสังคม

วันอาทิตย์ ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 16.13 น.

"๓ ศ.มจร" ร่วมปฐมนิเทศเปิดตัวนิสิตใหม่ระดับปริญญาโทรุ่น ๙ และปริญญาเอกรุ่น ๖ ของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ผ่านออนไลน์โปรแกรม Zoom "พระพรหมบัณฑิต" แนะสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพเป็นฐานพัฒนาที่ยั่งยืน "พระธรรมวัชรบัณฑิต"อธิการบดี มจร แนะสันติภาพวิถีใหม่สันติศึกษาต้องสร้างภาวะผู้นำพัฒนาทักษะการสื่อสาร ด้าน ผอ.สันติศึกษายันนำโคกหนองนาสันติศึกษาแก้ขัดแย้งต้นน้ำของสังคม 

วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ พระพรหมบัณฑิต,ศาสตราจารย์ ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร อุปนายกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และอาจาราย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร บรรยายหัวข้อ “สันติภาพวิถีใหม่ภายใต้บริบทเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ในการปฐมนิเทศเปิดตัวนิสิตใหม่เปิดใจสู่ธรรมนิสิตระดับปริญญาโทรุ่น ๙ นิสิตระดับปริญญาเอกรุ่น ๖ ของหลักสูตรสันติศึกษา มจร ผ่านออนไลน์โปรแกรม Zoom 

พระพรหมบัณฑิต กล่าวความสำคัญว่า  สันติภาพจะต้องเริ่มต้นที่ใจของเราก่อนเท่านั้น ซึ่งสังคมปัจจุบันเรามีการแข่งขันสูง แย่งกันไปสู่เป้าหมายของตนถือว่าเป็นวิถีเก่า แต่วิถีใหม่จะต้องมีความร่วมมือ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นวัฒนธรรมให้เป็นวิถีชีวิต วิถีชีวิตมีความต่างกันหมายถึงวัฒนธรรมต่างกันแต่ละประเทศ ศาสนา ความเป็นอยู่ รวมถึงอาคารสถานที่ สะท้อนวิถีชีวิตของคน เป็นวัฒนธรรมทางด้านวัตถุและวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ 

บางวัฒนธรรมเอื้อในการแก้ปัญหา แต่บางวัฒนธรรมนำสู่ความขัดแย้ง เราจึงต้องตระหนักว่าวิถีชีวิตใดที่เอื้อต่อการให้เกิดสันติภาพให้มีการพัฒนาที่ดี สังคมมีวัฒนธรรมรุนแรงที่แก้ปัญหาด้วยความรุนแรง เป็นวัฒนธรรมแห่งการใช้ความรุนแรง เช่น รุนแรงต่อสตรี รุนแรงในครอบครัว รุนแรงต่อชนกลุ่มน้อย มีอคติเกลียดชังกดขี่ แต่สังคมที่มีวัฒนธรรมที่ใช้สันติภาพในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเราต้องเอาเป็นต้นแบบ เราจึงต้องสร้าง “วัฒนธรรมแห่งสันติภาพ : Culture of Peace ” ถือว่าเป็นสาราณียธรรมให้เราเมตตาต่อกัน มีความหวังต่อกัน 

สร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพคิดพูดทำด้วยเมตตามีการแบ่งปันกัน เพราะผู้ให้ย่อมเป็นที่รักทั้งความรู้ ใครมีปัญหาวิทยานิพนธ์จะต้องช่วยกัน เดินไปด้วยกันสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ถือว่าเป็นวัฒนธรรมในมหาจุฬา มีความรู้ใหม่นำมาแบ่งปัน มีความเห็นที่ตรงกันเราต้องเห็นคุณค่าของสันติภาพ แต่ถ้าเราเห็นต่างกันเราต้องมีเมตตาวจีกรรม คือ พูดดีต่อกันถึงแม้จะมีความเห็นต่างกัน สันติเมตตาวจีกรรม หยุด “วัฒนธรรมแห่งความรุนแรง : Culture of Violence”

วัฒนธรรมแห่งสันติภาพจะต้องปราศจากความรุนแรงทั้งปวง โดยองค์การสหประชาชาติ ในปี๒๕๔๒ ประกาศวัฒนธรรมแห่งสันติภาพเป็นวิถีใหม่ ประกอบด้วย ๓ ข้อ ๑)วัฒนธรรมสันติภาพเกิดขึ้นเพราะส่งเสริมการศึกษา ถือว่าเป็นระบบการศึกษาให้เด็กมีความร่วมมือแทนการแข่งขัน เราต้องไปออกไปแบบที่สร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ เช่น การเมืองสันติภาพ ๒)วัฒนธรรมสันติภาพเกิดขึ้นเพราะส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน ถือว่าเป็นการพัฒนาสังคมเป็นการพัฒนาที่มีความยั่งยืน  ๓)วัฒนธรรมสันติภาพเกิดขึ้นเพราะส่งเสริมความเข้าใจกัน ขันติธรรมและความสามัคคี มองถึงความแตกต่างกันสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  นิสิตจะทำวิจัยสามารถยึดกรอบในประเด็น ๓ ข้อนี้

มิติของ “วัฒนธรรมสันติภาพเกิดขึ้นเพราะส่งเสริมการศึกษา” จะพัฒนาต้องพัฒนาคนเพราะมนุษย์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา พัฒนาคนต้องเริ่มต้นด้วยการศึกษาให้การศึกษาที่ถูกต้องเริ่มจากจิตใจของมนุษย์ สันติจึงมี ๒ ประการคือ ๑)อัชฌัตติกสันติ คือ ความสงบจากภายใน  ๒)พาหิรสันติ คือ สันติภาพภายนอก  เพราะสงครามเกิดขึ้นจากใจของมนุษย์ ปราการแห่งสันติภาพจะต้องสร้างที่ใจของมนุษย์ การจะสร้างสันติภาพจะต้องเริ่มที่ใจคน พัฒนาจิตใจเพื่อไม่ใช้ความรุนแรงภายใต้พรหมวิหารธรรมเป็นฐาน พยาบาลเขียนข้อความจากสงครามว่า “สงครามจะไม่ยุติถ้าไม่สามารถเอาใจเขามาใส่เรา” ในบริบทของศาสนาและกิจกรรมสันติศึกษาจะต้องศึกษาทำความเข้าใจของคนหลายฝ่าย ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของคนอื่น 

สังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมมีความหลากหลาย “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ : ”ในการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองในอดีตถึงปัจจุบัน จะต้องศึกษาเรียนรู้กันทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน เรามีโครงการที่นำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เอาความต่างเก็บไว้พยายามหาจุดร่วม “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง :” เรามีการประชุมผู้นำศาสนาทั่วโลกโดยไม่ได้พูดคำสอนแต่ละศาสนาเป็นอย่างไรแต่เราคุยเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน “เก็บความแตกต่างแต่แลกเปลี่ยนเรียนรู้” ร่วมกัน  โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในเบื้องต้น หมายถึงคนรุ่นเราไม่ใช้ทรัพยากรมากจนคนรุ่นหลังไม่มีโอกาสได้ใช้ “ด้วยการนึกถึงคนรุ่นต่อไป”  การพัฒนาที่ยั่งยืนแบ่งออก ๓ อย่าง คือ สิ่งแวดล้อมร่มเย็น เศรษฐกิจเติมโต และสังคมวัฒนธรรมสำหรับมนุษย์ การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม

เป้าหมายในการขับเคลื่อนโลกไปในทิศทางใดจึงมีการพัฒนาจำนวน ๑๗ ข้อ ตั้งแต่ขจัดความยากจน เป็นต้น จะนำไปสู่ “สันติภาพในสังคมโลกภายใต้การมีเอกภาพ มีสามัคคี มีเสรีภาพ มีความยุติธรรม” ในสังคมโลก การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องมีความสมดุลทางโลกทางธรรม ในทางพระพุทธศาสนาจะต้องพัฒนาภายใต้กรอบของภาวนา ๔  จะนำไปสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย ๑) พัฒนาทางกาย พัฒนาด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งอย่าให้มีความหิวปากท้องต้องอิ่ม มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ดีมีความสัปปายะ ๒) พัฒนาทางพฤติกรรม  พัฒนาด้านสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ ๓) พัฒนาทางจิตใจ  พัฒนาด้านวัฒนธรรมทางด้านจิตใจ เราเน้นพัฒนาทางด้านจิตใจ ๔) พัฒนาทางปัญญา  พัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา  จะต้องการพัฒนาทั้ง ๔ ด้านให้มีความสมดุลคือ พัฒนามิติทางสายกลาง อย่าสุดโต่งในด้านใดด้านหนึ่ง โดยทางพระพุทธศาสนาพัฒนาทางด้านจิตใจด้วย ทำให้สรุปการพัฒนา  ๕ P. แต่ P ที่สำคัญมากคือ Peace สันติภาพถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเราจะต้องสันติภาพได้อย่างไร จะต้องจับมือกัน ทำไมจึงนำเอา Peace มาไว้ด้านล่างเพราะเป็นฐานของทุกเรื่องในโลกใบนี้ เพราะมีสันติภาพจะส่งผลต่อทุกเรื่อง จะต้องมีสันติภาพเป็นฐานเพราะบ้านเมืองใดขัดแย้งกันไม่มีเวลามาร่วมมือกันเพราะมัวแต่ทะเลาะกัน บ้านเมืองใดมัวแต่ทะเลาะกันจะมีแต่ความยากจน เราจึงต้องมีสันติภาพเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือกัน 

โดยมิติการพัฒนาเศรษฐกิจคือ ขจัดความยากจน ขจัดความหิวโหย ตอนนี้เราหิววัคซีนเพื่อป้องกันโควิด  มิติการพัฒนาสังคมคือ การศึกษาที่มีความเท่าเทียมกัน สามารถเข้าถึงการศึกษา ความเท่าเทียมทางเพศ  มิติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมคือ ธรรมชาติ  ส่วนมิติการพัฒนาสันติภาพคือ เป็นเป้าหมายที่ ๑๖ สถาบันมีความเข้มแข็ง ความสงบสุขยุติธรรม เป้าหมายที่ ๑๗ ความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมาย การจะสร้างสันติภาพในประเทศไทยและสันติภาพโลกจะต้อง “สร้างความร่วมมือ : Partnerships” ไม่มีใครยิ่งใหญ่พอที่จะทำการใหญ่สำเร็จได้โดยลำพัง ไม่มีใครเล็กเกินไปจนช่วยทำการใหญ่ไม่ได้  เราจึงต้องสร้างความร่วมมือของบ้านวัดโรงเรียนทุกศาสนาร่วมกัน โดยชุมชนกฎีจีนเป็นต้นแบบด้วยการเรียนรู้ชุมชนอื่น แสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง  

เราจึงต้องศึกษาหลักขันติธรรมทางยูเนสโก หมายถึง “การเคารพ การย่อมรับ การนับถือวัฒนธรรมในความหลากหลาย” แสดงออกต่อกันด้วยความเคารพ มีเอกภาพในความหลากหลาย ทำให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพมองคนไทยว่าเป็น “ผู้รักอิสรภาพ ปราศจากอหิงสา ความฉลาดในการประสานประโยชน์” สังคมที่สันติภาพเพราะเราต้องไม่เล่นพรรคพวก จะต้องดึงคนที่เก่งมาช่วยกันพัฒนาถือว่าเป็นความฉลาดในการประสานประโยชน์  โดยมีการยก ๖ ชุมชน ๓ ศาสนาต้นแบบสันติภาพในชุมชนกะดีจีนมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน คือ ลอยกระทง ทุกศาสนาสามารถร่วมมือกันได้แม้จะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ชุมชนจึงร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม ที่มีความยั่งยืนเพราะเกิดจากคนในชุมชน เราต้องไปสร้างสันติภาพในชุมชนของเรา   

พระพรหมบัณฑิต กล่าวด้วยว่า ดังนั้น  การพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเป็นการนึกถึงคนรุ่นต่อไป มุ่งสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ เพราะวิถีใหม่จะต้องสร้างความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งสังคมใดที่มีแต่การกดไว้ไม่ใช่สันติภาพต้องมีเสรีภาพในการแสดงออก โดยสันติภาพที่แท้จริงในสังคมต้องมีความเป็นเอกภาพ มีความสามัคคี มีเสรีภาพมี และมีความยุติธรรม เราจึงควรพยายามดึงคนเก่งคนดีมาร่วมพัฒนามีความฉลาดในการประสานประโยชน์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 

"อธิการบดี มจร"สันติภาพวิถีใหม่ต้องสร้างภาวะผู้นำพัฒนาทักษะการสื่อสาร

พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และอาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร บรรยายพิเศษหัวข้อ “สันติภาพวิถีใหม่กับสถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง” โดยกล่าวความสำคัญว่า  เพราะสังคมมีความขัดแย้งทำให้เราเสียเวลาในการทำงาน ทำให้รบกวนสมาธิของเราถือว่าความขัดแย้งฉกชิงเวลาที่มีความสุขของเราไป ต่อไปเราควรตั้งจิตปรารถนาขอให้ครอบครัวองค์กรร่มเย็นเป็นสุขอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เราจำเป็นมาพัฒนาและสร้างเครื่องมือในการพัฒนาสันติสุขในชุมชนสังคม คำว่าสันติภาพวิถีใหม่ในมิติของพระพุทธศาสนาด้วยการเตรียมความพร้อมของบุคคลไปทำงานด้านสันติภาพ ด้วยการเตรียมบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น นักไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  จะต้องพัฒนาผู้นำเพื่อสร้างสันติภาพต้องพัฒนาให้บุคคลเดียวมีความเชี่ยวชาญในหลายด้าน
        
จุดลงตัวของความรู้สึกในสันติภาพวิถีใหม่ จึงต้องมองมิติของสุขเวทนาและทุกขเวทนา จะต้องมีวิธีการบริหารจัดการตนเองให้นิ่งได้ ไม่ว่าจะเกิดสุขเวทนาหรือทุกขเวทนา สันติภาพจึงมองความรู้สึก สามารถพัฒนาไปสู่อุเบกขาเวทนา มีความนิ่งรู้จักถอย สอดรับกับวันอาสาฬหบูชาทำให้เราเข้าใจแก่นธรรมของพระสูตรระดับจริยศาสตร์ มัชฌิมาปฏิปทาเป็นคำที่ต่อมาจากศีลสมาธิเป็นวิธีปฏิบัติที่สมณชีพราหมณ์  ไตรสิกขาจึงนำไปสู่ความสมดุลของการดำเนินชีวิต สามารถควบคุมตนเองได้ตลอดเวลาสร้างความแข็งแกร่งในตนเอง ถ้าพัฒนาตนเองยังไม่ดีพอในด้านภายในอย่าเพิ่งไปทำงานอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มเติม ต้องพัฒนาจนนำไปสู่คนเดียวเอาอยู่ในทุกมิติ 

สันติภาพวิถีใหม่จะต้องคำนึงถึงการสื่อสารที่เป็นวัจนภาษาและอวัจนภาษา ทักษะการสื่อสารเป็นทักษะที่มีความจำเป็นมาก จะต้องอาศัยการมีบารมีนึกถึงพระโพธิสัตว์สร้างความแข็งแกร่งให้ตนเอง บารมีทางพระพุทธศาสนาต่างจากบารมีที่มีอำนาจในมิติทางโลก ผู้ที่จะทำงานด้านสันติภาพจะต้องสร้างบารมี ต้องพัฒนาตนไปสู่ตำแหน่งเพราะการสร้างบารมีมิใช่เพียงเลือกตั้ง ผู้มาจากบารมีต้องใช้เวลายาวนานในการสร้างบารมี การบริหารจัดการอารมณ์สามารถควบคุมอารมณ์ ไม่แสดงอาการขึ้นๆลงๆ อย่าเสียใจหรือดีใจเกินเหตุ   เมตตามั่นแผ่เมตตาและเทคนิคการจัดการความโกรธตามแนวทางพระพุทธศาสนาโดยเมตตาจึงชนะความโกรธทั้งปวง นักวิศวกรสันติภาพจึงมีเมตตาทุกลมหายใจ   ยุติธรรมจะต้องมีภาพลักษณ์ที่ยุติธรรมสังคมไว้วางในด้านยุติธรรม  และปูชนียะ ต้องสามารถให้เป็นบุคคลที่น่ากราบไหว้ และสามารถทำงานได้ โดยมองกัลยาณมิตร ๗ เป็นฐาน ด้วยการบริหารจัดการให้ตนเองเป็นคนน่ารักน่าเคารพสร้างมาตรฐานให้กับตนเอง รู้จักพูดรู้จักฟัง สามารถสื่อสารให้เข้าใจง่าย 
       
สันติศึกษาจะต้องสร้างภาวะผู้นำพัฒนาทักษะการสื่อสารให้มีบารมีมีปูชนียะ สามารถนำไปสู่วิศวกรสันติภาพ สิ่งที่พึงตระหนักคือ Problem Attitude โลกทัศน์ที่มีปัญหา ประกอบด้วย เอตํ มม นั่นของเรา เอโสหมสฺมิ เราเป็นนั่น  เอโส เม อตฺตา นั่นเป็นตัวของเรา  ส่วน No Problem Attitude โลกทัศน์ที่มีปัญหา ประกอบด้วย เนตํ มม นั่นไม่ใช่ของเรา  เนโสหมสฺมิ เราไม่เป็นนั่น เนโส เม อตฺตา นั่นไม่เป็นตัวของเรา ซึ่งเวลาเราไปทำหน้าที่จริงๆจึงต้องระวังโลกทัศน์ที่สร้างปัญหาคือ นั่นของเรา เราควรไปทำงานด้วยจิตว่างจริงๆ สร้างความเป็นผู้นำจะต้องมีความพร้อมทางด้านในคือจิตใจที่เข้มแข็ง พร้อมเรียนรู้เครื่องมือนำไปประยุกต์ในการทำงานเสริมสร้างสังคมสันติสุข            

พระธรรมวัชรบัณฑิต  ดังนั้น  โลกทัศน์ที่มีปัญหาจะนำไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งความขัดแย้งเสียเวลาพัฒนาทุกมิติ  วิศวกรสันติภาพต้องเป็นนักสร้างบารมี เรียนรู้เข้าใจในสันติภาพวิถีใหม่กับสถานการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ขอให้ทุกท่านเป็นกัลยาณมิตรเป็นฐานด้วยการบริหารจัดการให้ตนเองเป็นคนน่ารัก

ผอ.สันติศึกษายันนำโคกหนองนาสันติศึกษาแก้ขัดแย้งต้นน้ำชองสังคม


 
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวต้อนรับนิสิตใหม่ความว่า  ขอความปรารถนาดีต่อมวลนิสิตใหม่ศิษย์เก่าสันติศึกษาทุกท่าน ขอส่งต่อความปรารถนาต่อเพื่อนมนุษย์ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องคนไทย ทำให้เราตระหนักว่า “ความไม่เป็นโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” จงรักษาตนเองให้ดีเพราะรักษาตนเองเท่ากับรักษาคนอื่น เพื่อเราจะได้นำร่างกายจิตใจออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เราทำโคกหนองนาสันติศึกษาได้ช่วยเหลือคนในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม หลักสูตรสันติศึกษาได้ทำกิจกรรมเพื่อได้ช่วยคนจริงๆ เป็นการเอาธรรมไปทำ หมายถึง เอาธรรมลงไปทำในพื้นที่เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การทำโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดลเป็นการจัดการความขัดแย้งแบบต้นทาง แต่การพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทถือว่าเป็นแก้ปัญหาปลายทางด้วยความร่วมมือกับสำนักงานศาลยุติธรรม เราต้องทำเพราะเป็นการแก้ไขความขัดแย้งในชุมชนสังคม เรายังทำงานร่วมมือกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเพื่อพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ ถือว่าเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือก

พระมหาหรรษา กล่าวด้วยว่า เริ่มต้นหลักสูตรเริ่มจากค้นหาความสุขที่อยู่ในใจของเรา คือ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี เพื่อส่งออกลมหายใจให้คนอื่นในชุมชนองค์กรสังคม เรามีลมหายใจเดียวกัน ลมหายใจของเราคือลมหายใจของ เรามาเรียนจึงต้องพัฒนาสันติวัฒนธรรมมุ่งเน้นพัฒนาตนเองให้มีสันติภายในก่อนออกไปสร้างสันติภายนอก เราจึงมีนกพิราบคาบดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการรู้ตื่นและเบิกบาน เราต้องมีสติ ขันติ สันติ เป็นฐานของการพัฒนา มีสติเมื่อใดมีสันติเมื่อนั้น มีความอดทนมีขันติธรรมภายใน เริ่มจากพัฒนาชีวิตแล้วออกไปช่วยองค์กรสังคมและโลก จึงย้ำว่าหลักสูตรสันติศึกษา มจร มุ่งแก้ปัญหาความขัดแย้งต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ ค้นหาความสุขภายในของตนเองก่อนออกไปสร้างสันติภายนอกต่อไป

หน้าแรก » การศึกษา