การศึกษา
มทร.อีสาน พัฒนาโปรแกรมควบคุมเครื่องผสมน้ำคราม
วันพุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564, 14.15 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

มทร.อีสาน พัฒนาโปรแกรมควบคุมเครื่องผสมน้ำคราม

นายนครินทร์ ศรีปัญญา ผู้ช่วยคณบดีคณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) วิทยาเขตสกลนคร เปิดเผยว่า ผ้าย้อมครามนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน คนในชุมชนและสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสกลนคร ซึ่งการทำผ้าย้อมครามด้วยวิธีธรรมชาติมีกระบวนการที่ซับซ้อน ใช้ทั้งแรงคนและใช้ระยะเวลาในการทำ หลายครัวเรือนจึงหันไปใช้กระบวนการฟอกย้อมสีจากสารเคมีแทนเพื่อให้ทันต่อการผลิตและการจำหน่าย แต่การใช้สารเคมีนั้นจะทำให้สีสันของครามและการให้กลิ่นนั้นแตกต่างกัน ด้วยเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ผ้าย้อมครามด้วยวิธีธรรมชาติจึงได้นำนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3 (ปวช.) โปรแกรมไฟฟ้าและช่างยนต์ จำนวน 4 คนจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ในนาม “ทีมครามละมุน” ลงพื้นที่ชุมชนผ้าครามอูนดง อ.พรรณนิคม จ.สกลนคร ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการทอผ้าย้อมครามด้วยวิธีธรรมชาติมาแต่ดั้งเดิม ศึกษากระบวนการทำตั้งแต่ต้นทาง และวิเคราะห์ร่วมกันว่าจะมีส่วนใดที่พอจะช่วยชาวบ้านกลุ่มนี้ได้บ้าง

จากการลงพื้นที่พบว่ามีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกและดูแล การใช้กำลังคนในการเคี่ยวกวนคราม เพื่อให้ได้เนื้อครามที่มีคุณภาพ และปัญหาสำคัญคือชาวบ้านที่ทำส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีกระบวนการ 2 อย่าง ที่เป็นความยากลำบากในกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ขณะตีน้ำคราม ต้องใช้กำลังที่มีความสม่ำเสมอจึงจะได้เนื้อคราม หรือการนำใบครามลงไปแช่น้ำในถัง 200 ลิตร เพื่อหมักไว้ 1 คืน หลังจากนั้นนำใบครามออกมา เพื่อตีกับปูนขาว ซึ่งเป็นกระบวนการเติมอากาศให้คราม ในส่วนนี้ชาวบ้านซึ่งมีเครื่องกวนอยู่แล้ว ทั้งแบบปั่นและกระทุ้งน้ำ แต่ในส่วนใบพัดหมุนจะยังขาดอากาศในการเติมเข้าไป เนื่องจากไม้ตีจะสานด้วยไม้ไผ่แบบมีรู จะทำการกวนไปเรื่อยๆ ไม่ให้ปูนนอนก้นควบคู่ไปกับการดึงน้ำให้ขึ้นมามีอากาศเติมเข้าไป ทำให้เกิดสีครามขึ้นมา กระบวนการตรงนี้ใช้แรงเยอะ เพราะจะใช้เวลาในการตีที่สม่ำเสมอและยาวนานถึง 40 นาทีต่อถัง จึงต้องใช้ทักษะอย่างมาก ในระหว่างที่ตีสักกระยะจึงต้องมีการสลับสับเปลี่ยนคนไปด้วย และผลผลิตจากการตีครามแต่ละรอบจำนวนน้อย คือได้เนื้อครามไม่ถึง 1 กิโล จากการยกน้ำลงเครื่อง จำนวน 9 ถัง (200 ลิตร) ทำให้หลายชุมชนหันไปใช้สีครามที่มาจากสารเคมีกันมากขึ้น
นายนครินทร์ กล่าวต่อไปว่า จากการวิเคราะห์ดังกล่าวจึงได้ส่งข้อเสนอโครงการพัฒนาเครื่องต้นแบบ “โปรแกรมควบคุมเครื่องผสมน้ำคราม”และได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center : NECTEC หรือเนคเทค) และบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป KBTG เพื่อพัฒนาเครื่องต้นแบบ ซึ่งเป็นการเขียนโปรแกรมคิดส์ไดร์ฟ เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องผสมน้ำคราม เป็นโปรแกรมกึ่งอัตโนมัติ ใช้โปรแกรมภาษา Python ใช้ร่วมกับคิดส์ไบร์ท ซึ่งเป็นโปรแกรมควบคุมตัวเครื่องอีกที เรียกว่า เป็นระบบสมองกลฝังตัว เพื่อใช้ในการควบคุมการทำงาน คือ เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว ชาวบ้านสามารถกดปุ่ม Start ให้เครื่องทำงานได้อัตโนมัติ และหยุดเมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้ ผลปรากฏว่าได้ผลผลิตเนื้อครามเทียบเท่ากับการตีด้วยมือในเวลาที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง คือ จาก 40 นาที เมื่อใช้เครื่องใช้เวลาเพียง 25 นาที ในปริมาณครามเท่ากัน ใน1 วัน สามารถผลิตเนื้อครามได้มากขึ้น 2-3 เท่า ซึ่งโปรแกรมควบคุมเครื่องผสมน้ำคราม จะช่วยลดแรงในการตีน้ำครามในผู้สูงอายุ สามารถใช้กระบวนการนี้แทนแรง ลดเวลา และได้คุณภาพน้ำครามที่เท่ากัน เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้วก็จะมีเสียงแจ้งเตือน ถือว่ามีความสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนการต่อยอดคือ ยังคงต้องปรับปรุงระบบเปลี่ยนน้ำในตัวเครื่อง เนื่องจากกระบวนการเติมน้ำขณะนี้ ยังเป็นการใช้แรงงานคนในการเปลี่ยนน้ำ 200 ลิตร เข้าออกตัวเครื่อง ในอนาคตอาจดำเนินการติดตั้งปั้มหรือท่อในการดึงน้ำเข้าและปล่อยน้ำออก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้ทำการจดลิขสิทธิ์โปรแกรมควบคุมเครื่องผสมน้ำครามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนการขออนุสิทธิบัตรเครื่องผสมน้ำคราม กำลังรอผลดำเนินการอยู่
email ข่าวการศึกษา เยาวชน ศิลปวัฒนธรรม saowaporn@hotmail.com และ bat_mamsao@yahoo.com
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
Top 5 ข่าวการศึกษา ![]()
- สุโขทัย 2 คัดเลือกครู 13 พ.ค. 2568
- ไทย – กัมพูชา จับมือจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา ๒ แผ่นดิน สานสัมพันธ์อาเซียน เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก 13 พ.ค. 2568
- เยาวชนไทยพิชิต1 ทอง 6 ทองแดง 1 เกียรติคุณประกาศ ฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย 13 พ.ค. 2568
- สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 13 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
“ศุภมาส” จัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยนฝันเป็นอาชีพจริง 16:53 น.
- อววน. ผนึกกำลัง มทร.ธัญบุรี ยกระดับปทุมธานี สู่เมืองนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 13:31 น.
- ศศินทร์คว้าสองรางวัลจาก MBAChina 12:23 น.
- นศ.ราชมงคลพระนครรางวัลออกแบบสถาปัตยกรรม ในงานสถาปนิก’68 09:48 น.
- ENZ จัดกิจกรรมศึกษาต่อเมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ เปิดประสบการณ์ห้องเรียนจำลอง 06:09 น.