วันศุกร์ ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 15:30 น.

การศึกษา

นศ. มข. ผุดนวัตกรรม AI แก้ไข crowd crush ป้องกันโศกนาฏกรรมเบียดกันตาย

วันอังคาร ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565, 08.56 น.
นศ. มข. ผุดนวัตกรรม AI แก้ไข crowd crush ป้องกันโศกนาฏกรรมเบียดกันตาย
 
 
ในเดือนตุลาคม 2565  เชื่อว่าหลายคนต่างเศร้าสลดกับโศกนาฏกรรมสุดสะเทือนขวัญของโลก จากเหตุฝูงชนเบียดกันจนเสียชีวิตระหว่างการเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนในย่านอีแทว็อนของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ การเข้าไปเบียดของผู้คนจำนวนมากโดยไม่มีการจำกัดจำนวนคนเข้างาน ในถนนความยาวเพียง 40 เมตร กว้าง 3.2 เมตร แถมมีความลาดชัน  ผู้คนไม่สามารถทราบสถานการณ์ภายในงานว่าหนาแน่นเพียงใด ไม่สามารถระบุคนในตำแหน่งในถนนแต่ละสายได้  เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดสถานการณ์การเบียดกันตาย หรือ crowd crush มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 157 ราย และบาดเจ็บจำนวนมากในวันที่ 29 ตุลาคม 2565 เวลา 22:15 น. (เวลาเกาหลีใต้)
 
 
 
 
 
จากเหตุโศกนาฏกรรมดังกล่าว นายชนม์สวัสดิ์ นาคนาม  นักศึกษาโครงงานปัญญาประดิษฐ์ วิทยาลัยคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงคิดค้นนวัตกรรม  “AI นับจำนวนคนเข้างานนิทรรศการ“   โดยเผยว่า  AI สามารถวิเคราะห์ได้ซับซ้อนมากกว่าสมองหรือดวงตาของมนุษย์ที่จะมองเห็น และมีความแม่นยำ เพิ่มความสะดวกสบาย ประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ เหตุการณ์  สถานที่ได้อย่างเหมาะสม  ยกตัวอย่างโครงการของตน คือ การใช้ AI นับจำนวนคนเข้างานนิทรรศการ หรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น โดยโครงงานดังกล่าวสามารถระบุได้ว่าตรงไหนมีจำนวนคนหนาแน่น  โดยปกติสายตามนุษย์จะสามารถประเมินจำนวนคนในบริเวณนั้นได้คร่าว ๆ แต่อาจเกิดความล่าช้าและอาจเกิดความผิดพลาดสูง
 
         
“ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเหนื่อยขนาดนั้น  เราสามารถใช้ AI ระบุได้ว่าจุดนี้ คือคน นับได้ว่ามีกี่คนได้ไวมากๆ เพียงแค่เห็นผ่านกล้อง ประมวลผลด้วย AI โดยเราไม่ต้องนับเลย เช็คจำนวนคนเข้างาน มุ่งไปพื้นที่นั้นเลย  ป้องกันการเกิดสถานการณ์ การเบียดกันตาย’ หรือ crowd crush ดังโศกนาฏกรรมที่อิแทวอนประเทศเกาหลีใต้เป็นข่าวดังทั่วโลก เราสามารถใช้นวัตกรรม AI นี้นับจำนวนคน ติดตามคนเดินในงาน เมื่อคนบริเวณนั้นมีจำนวนมากเกินไป ตั้งระบบส่งสัญญาณเตือนเป็นเสียง หรือแสดงเป็นแผนภาพสีบริเวณที่มีจำนวนคนหนาแน่น จะลดอัตราการเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังที่เป็นข่าวได้ และเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยด้วยการใช้ AI”  นักศึกษาด้าน AI กล่าว
 
 
ท่านที่สนใจ ชมต้นแบบโครงการ AI นับจำนวนคนเข้านิทรรศการได้ที่
 
 
 
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์  หรือ Bachelor of Science Program in Artificial Intelligence การพัฒนาหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดรับสมัครแล้ววันนี้สำหรับนักเรียนระดับมัธยมที่สนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรมีคุณสมบัติ ช่างคิด มีความคิดสร้างสรรค์  คิดเป็นระบบเป็นขั้นตอน นำทักษะนี้ไปเขียนอัลกอลิทึม ขั้นตอนหรือลำดับการประมวลผลในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งได้   มีความเห็นอกเห็นใจต้องการแก้ปัญหาให้กับคนหมู่มาก ควรเป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการที่สื่อสารหรือค้นคว้าข้อมูลสากล เพื่อให้การนำปัญญาประดิษฐ์ไปใช้เกิดขึ้นได้จริงในโลกปัจจุบันและอนาคต
 
 
 
ส่งข่าวได้ที่  email : saowaporn12345@gmail.com   ,  saowaporn@hotmail.com   และ  bat_mamsao@yahoo.com

หน้าแรก » การศึกษา