การศึกษา
จุฬาฯ ประชุมวิชาการนานาชาติ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต”เสริมความร่วมมือไทย–จีน ด้านการวิจัยขั้วโลก
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

จุฬาฯ ประชุมวิชาการนานาชาติ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต”เสริมความร่วมมือไทย–จีน ด้านการวิจัยขั้วโลก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะกรรมการภาคีวิทยาศาสตร์ขั้วโลกแห่งประเทศไทย (Polar Science Consortium of Thailand – PSCT) และสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งประเทศจีน (Polar Research Institute of China – PRIC) จัดประชุมวิชาการนานาชาติหัวข้อ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต: การพัฒนาการวิจัยขั้วโลกและความร่วมมือไทย–จีนในสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง” (Xue Long 2 and Beyond: Advancing Polar Research and Thailand–China Cooperation in a Changing Climate) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา และฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยขั้วโลกระหว่างสองประเทศ รวมถึงการรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในงานมีการนำเสนอข้อมูลล่าสุดจากภารกิจสำรวจขั้วโลกใต้ของเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” โดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งประเทศจีน (Polar Research Institute of Chins :PRIC)
พิธีเปิดงานและกล่าวต้อนรับโดย รศ.ดร.ปาลนี อัมรานนท์ รองอธิการบดี จุฬาฯ Mr. Sun Shuxian ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติแห่งประเทศจีน และ ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ เลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จากนั้นเป็นการบรรยายและเสวนาวิชาการจากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของไทยและจีน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยขั้วโลก เทคโนโลยีอวกาศทางดาราศาสตร์ ระบบนิเวศทางทะเล การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนแนวทางการส่งเสริมเยาวชนในเวทีวิทยาศาสตร์โลก
ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ เลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นหนึ่งใน 9 กิจกรรมหลัก ภายใต้โครงการความร่วมมือไทย–จีน ซึ่งจัดขึ้นในโอกาสการเดินทางเยือนประเทศไทยของเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” ระหว่างวันที่ 19–23 พฤษภาคม 2568 ณ ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยเรือได้แวะพักระหว่างทางกลับจากภารกิจสำรวจทวีปแอนตาร์กติกาก่อนไปยังนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน นอกจากการประชุมวิชาการแล้ว จุฬาฯ ยังได้จัดกิจกรรมสื่อสารสาธารณะควบคู่ไปด้วย เช่น การเยี่ยมเยาวชนในจังหวัดระยอง นิทรรศการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” ณ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงองค์ความรู้ด้านการวิจัยขั้วโลก
ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ และนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ร่วมภารกิจสำรวจขั้วโลกใต้ กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะอยู่ห่างจากขั้วโลกใต้กว่าหนึ่งหมื่นกิโลเมตร แต่ผลกระทบจากการละลายของน้ำแข็งส่งผลโดยตรง เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และภาวะน้ำท่วม ภารกิจสำรวจขั้วโลกช่วยให้สามารถเก็บตัวอย่างและข้อมูลสำคัญเพื่อการวิจัย เช่น ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว และการตายของหญ้าทะเลที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำทะเล ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของขั้วโลก
ศ.ดร.สุชนาเน้นย้ำว่า การสื่อสารงานวิจัยสู่สาธารณชนยังเป็นเรื่องท้าทาย จึงต้องมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อหาวิธีถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่สังคมอย่างเข้าใจและเข้าถึง
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีเวทีเสวนาพิเศษโดยคุณมารีญา พูนเลิศลาภ Miss Universe Thailand ปี 2017 และนักสิ่งแวดล้อม ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในหัวข้อ “บทบาทของเยาวชนและคนรุ่นใหม่ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง” มารีญาได้กล่าวถึงความสำคัญของการสื่อสารในยุคที่ข้อมูลเปิดกว้าง โดยชี้ว่า แม้ข้อมูลทางวิชาการจะเข้าถึงได้ง่าย แต่ผู้คนมักให้ความสนใจกับเรื่องราวที่สะท้อนประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และเส้นทางของผู้สร้างงานวิจัย มากกว่าการนำเสนอเนื้อหาทางเทคนิคเพียงอย่างเดียว เธอจึงเสนอให้ใช้การเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์กับผู้คน พร้อมสนับสนุนการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ อาทิ ศิลปะและสื่อสารมวลชน เพื่อเพิ่มพลังการสื่อสารและขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยเน้นย้ำว่าการนำเสนอทางวิทยาศาสตร์ไม่ควรจำกัดเฉพาะการชี้ให้เห็นปัญหาเท่านั้น แต่ควรมุ่งเน้นแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ เพื่อจุดประกายให้คนรุ่นใหม่เป็นพลังขับเคลื่อนสังคมสู่ความยั่งยืน
ส่งข่าวได้ที่ email : saowaporn12345@gmail.com และ bat_mamsao@yahoo.com
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
Top 5 ข่าวการศึกษา ![]()
- สำนักงานกิจการยุติธรรม ผนึกพุทธศาสตร์ พัฒนาคู่มือศีล 5 เป็นรากฐานกฎหมายไทย 26 พ.ค. 2568
- "พลอย ธนิกุล" นำทีมผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมวิถีชุมชนหัวบ้าน ตักบาตรยามเช้า ณ ถนนสายวัฒนธรรมสู้ศึก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 26 พ.ค. 2568
- "ศุภมาส" นำทัพ อว. ระดมทุกหน่วยงานลุยช่วยน้ำท่วม 68 ตอบโจทย์วาระแห่งชาติ 26 พ.ค. 2568
- สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ บันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 26 พ.ค. 2568
- สพป.สุโขทัย สนับสนุนโรงเรียนปลอดภัย 26 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ จับมือ สผ. - สพภ. ผลักดันแผนความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ สู่เป้าหมายสิ่งแวดล้อมโลกที่ยั่งยืน 09:30 น.
- สุดยอดเสือแห่งยุค! พระสมเด็จเสือนอนกิน ปลุกกระแสพระใหม่ ต่างชาติจองเพียบ 20:01 น.
- สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ มอบโล่รางวัลและเข็มเชิดชูเกียรติ 15:15 น.
- ราชมงคลสุวรรณภูมิ สร้างเครือข่ายวิจัย 9 มทร. ยกระดับสู่มาตรฐานประเทศ 13:28 น.
- ศิริราช จับมือ MIT Hacking Medicine ดัน “Hackathon นวัตกรรมสุขภาพ” ขึ้นแท่นระดับอาเซียน 11:47 น.