วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 21:31 น.

การเมือง

ครม.อนุมัติวงเงิน 1.9 ล้านล้าน เยียวยาโควิด-19 พร้อมยกเป็นวาระแห่งชาติ

วันอังคาร ที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2563, 14.49 น.

วันที่ 7 เม.ย.2563   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีแบบเต็มคณะ ที่ตึกสันติไมตรี  โดยพิจารณารายละเอียดการออกพระราชกำหนด 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชกำหนดการให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำพิเศษ หรือซอฟท์โลน พระราชกำหนด การให้อำนาจ ธปท. ซื้อตราสารหนี้เอกชนที่ครบกำหนดชำระ และ พระราชกำหนด การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน พร้อมยกการระบาดไวรัสโควิด-19 เป็นวาระแห่งชาติ     

พล.อ.ประยุทธ์  กล่าวว่า รัฐบาลยืนยันเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการรักษาสุขภาพให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย จึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากท่าน สิ่งใดก็ตามที่ภาครัฐยังมีปัญหาอยู่ก็ต้องขอให้เข้าใจเห็นใจรัฐบาลนิดนึงเพราะว่าเราทำงานด้วยคนจำนวนมากแล้วในส่วนของประชาชนก็มีจำนวนมากเช่นเดียวกันไม่ว่าจะการเดินทางกลับเข้าประเทศการเข้าไปกักตัวทั้งของรัฐและของภูมิภาคหรือท้องถิ่น วันนี้มีหลายมาตรการออกมา ฉะนั้นตรงนี้มันจะอยู่ที่การบูรณาการ ที่หน้างานให้ดี ทุกสถานที่ โดยเฉพาะสนามบินจะมีศูนย์ที่เรียกว่าอีโอซี (EOC) ซึ่งกำกับดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข มีนายแพทย์ ประจำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายความมั่นคง ขนส่ง คมนาคม ก็อยู่ที่นั่น ดังนั้นการตัดสินใจต่างๆต้องอยู่บนพื้นฐานที่มีกรอบไปแล้ว ต้องดำเนินการให้ตามนั้น
          
วันนี้การเข้าประเทศได้สั่งการไปแล้วว่าให้มีการทยอยเดินทางเข้าเป็นรุ่นๆเป็นผลัดๆ หรือเป็นเที่ยวบินไป เพื่อง่ายต่อการจัดส่งต่อไปยังพื้นที่กักตัวต่างๆทั้งหมด ขอให้เข้าใจด้วย
          
"วันนี้ที่ประชุม ครม.ได้ประกาศให้สถานการณ์โควิดเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว เดี๋ยวก็ขอให้ทุกคนฟังโดยการใช้จ่ายภาครัฐมาตรการต่างๆที่ออกมาผมยินดีรับข้อสังเกตข้อเสนอแนะจากทุกส่วนงานทุกภาคธุรกิจต่างๆ นะครับ ขอให้เห็นใจรัฐบาลด้วยบางอย่างท่านช่วยเหลือรัฐได้ก็กรุณาด้วย ช่วงที่ผ่านมาปี 61 ปี 62 ถ้ามีการประกอบกิจการอะไรมันก็มีกำไรต่างๆ มากพอสมควร ฉะนั้นในปี 62 ปี 63 ในช่วงที่เกิด สถานการณ์โควิดนี้ ต้องย้อนดูว่าผลประกอบการของท่านเป็นอย่างไรตามวงรอบของบัญชี ทั้งหมดสามารถจะพิสูจน์ได้ชี้แจงได้ว่ามันเป็นเรื่องของการผลกระทบจาก สถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลยินดีที่จะดูแลแก้ไขให้ในการช่วยเยียวยา ของแรงงานในส่วนของผู้ประกอบการ แต่ถ้าเหมาทั้งหมดเท่าไหร่ก็รับไม่ไหว เพราะงบประมาณที่มีอยู่จำกัดอยู่แล้ว ขอขอบคุณทุกท่านนะครับ ขอให้ฟังรายละเอียด ถ้าสงสัยอะไรติดต่อประสานงานสอบถามขึ้นมาได้รัฐบาลยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นสิ่งที่ขับเคลื่อนในวันนี้ เป็นนโยบายที่รัฐบาลโดยผม ในฐานะผู้นำรัฐบาลได้ให้นโยบายไปแล้ววันนี้ส่วนราชการต่างๆ กระทรวงทุกกระทรวง รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี จะนำเสนอความต้องการมาตรฐานต่างๆ ขึ้นมา แต่จำเป็นต้องคัดกรองให้เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญคิดได้ทำได้ แต่ถ้ามันไม่ถูกกฎหมายมันก็อันตรายในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ ขอยืนยัน ผมจะกวดขันการใช้จ่ายงบประมาณ ให้เป็นไปตามสิ่งที่เราต้องประสงค์ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว    

ขณะที่นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้มีมติอนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาโควิด-19 ระยะ 3 วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
          
1.ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือน เม.ย.63 และเริ่มกู้เงินได้วนเดือน พ.ค.63 แบ่งเป็น
          
- จัดทำแผนงานด้านสาธารณสุขและแผนงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ วงเงิน 6 แสนล้านบาท ได้แก่ เยียวยาประชาชน  6 เดือน, เยียวยาเกษตรกร และดูแลด้านสาธารณสุข
          
- แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 4 แสนล้านบาท โดยครอบคลุมโครงการดูแลสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชน และสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับพื้นที่
          
2.ออก พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยออกซอฟท์โลนเพื่อดูแลภาคธุรกิจโดยเฉพาะ คือ SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท
          
- เป็นสินเชื่อใหม่ 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท
          
- ธนาคารพาณิชย์ และ SFls พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ให้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท
          
3.ออก พ.ร.ก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท ด้วยการตั้งกองทุนรวม Corporate Bond Liquidity Stabilization Fund หรือ BSF และให้ ธปท.ซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าวครม.อนุมัติวงเงิน 1.9 ล้านล้าน เยียวยาโควิด-19 พร้อมยกเป็นวาระแห่งชาติ

วันที่ 7 เม.ย.2563   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีแบบเต็มคณะ ที่ตึกสันติไมตรี  โดยพิจารณารายละเอียดการออกพระราชกำหนด 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชกำหนดการให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำพิเศษ หรือซอฟท์โลน พระราชกำหนด การให้อำนาจ ธปท. ซื้อตราสารหนี้เอกชนที่ครบกำหนดชำระ และ พระราชกำหนด การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน พร้อมยกการระบาดไวรัสโควิด-19 เป็นวาระแห่งชาติ
          
ขณะที่นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้มีมติอนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาโควิด-19 ระยะ 3 วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย
          
1.ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือน เม.ย.63 และเริ่มกู้เงินได้วนเดือน พ.ค.63 แบ่งเป็น
          
- จัดทำแผนงานด้านสาธารณสุขและแผนงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ วงเงิน 6 แสนล้านบาท ได้แก่ เยียวยาประชาชน  6 เดือน, เยียวยาเกษตรกร และดูแลด้านสาธารณสุข
          
- แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 4 แสนล้านบาท โดยครอบคลุมโครงการดูแลสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจชุมชน และสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับพื้นที่
          
2.ออก พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยออกซอฟท์โลนเพื่อดูแลภาคธุรกิจโดยเฉพาะ คือ SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท
          
- เป็นสินเชื่อใหม่ 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท
          
- ธนาคารพาณิชย์ และ SFls พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน ให้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท
          
3.ออก พ.ร.ก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท ด้วยการตั้งกองทุนรวม Corporate Bond Liquidity Stabilization Fund หรือ BSF และให้ ธปท.ซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าว

หน้าแรก » การเมือง

Top 5 ข่าวการเมือง