วันเสาร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 11:27 น.

การเมือง

เบี้ยวข้อตกลง! รัฐสภาโหวตตั้งกมธ.ศึกษา 1 เดือนก่อนลงมติแก้ไขรธน. ฝ่ายค้านไม่ร่วมสังฆกรรม

วันพฤหัสบดี ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563, 20.21 น.

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 20.10 การประชุมในญัตติร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม หลังจากสั่งพักประชุม 10 นาที เพื่อให้สมาชิกหากันในประเด็นที่กำลังถกกันว่าจะตั้งคณะกรรมาธิการหรือไม่  เมื่อเริ่มการประชุมนายชวนได้สั่งให้มีการลงมติว่าจะเห็นควรตั้งคณะกรรมาธิการก่อนหรือไม่ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ด้วยเสียง 432 เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ 255 เสียงไม่ลงคะแนน 1 เสียง สรุปไม่มีการลงมติในวันนี้ ตั้งกมธ.45 คนศึกษา 1 เดือน   อย่างไรก็ตามก่อนหน้าจะมีการลงมติได้มีสมาชิกฝ่ายค้านอภิปรายทักท้วงว่าหากมีการตั้งคณะกรรมาธิการเท่ากับเป็นการเบี้ยวข้อตกตามที่วิป 3 ฝ่ายได้ตกลงกันไว้ 

ทั้งนี้ในช่วงการเสนอชื่อสมาชิกเป็นกรรมาธิการ  พรรคร่วมฝ่ายค้านขอถอนตัวไม่ร่วมสังฆกรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้หลังจากที่นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล เสนอให้พักการประชุม 10 นาที บรรยากาศในห้องประชุมมีการจับกลุ่มหารือกัน โดยนายวิรัช ได้พูดคุยกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์อย่างเคร่งเครียด ขณะเดียวกันก็มีเสียงส.ส.เปิดไมค์โครโฟนกล่าวว่าสภาหลอกประชาชน

ขณะที่เวลาผ่านไปกว่า 20 นาที ทำให้ส.ส.พรรคก้าวไกลประท้วงนายชวนว่าเกรงจะทำให้เลยกรอบเวลาที่จะต้องลงมติ(ต้องลงมติก่อน24.00 น.) แต่นายชวนกล่าวว่าตนก็นั่งรออยู่ แต่เขายังหารือกันไม่จบ

นอกจากนี้ส.ส.พรรคก้าวไกลยังได้หารือว่าขณะนี้มีประชาชนด้านนอกร้อนใจอยากรู้ว่าสภาจะมีการลงมติหรือไม่ จึงได้ปีนรั้วเข้ามาจนได้รับบาดเจ็บ ขอให้เจ้าหน้าที่ไปดูแลด้วย ซึ่งนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ดูและละนำส่งโรงพยาบาลวชิระแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากพักประชุมไปกว่า 30 นาที ได้มีการเริ่มประชุมอีกครั้ง นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พลังประชารัฐ กล่าวว่าหลังจากหารือแล้ววิปรัฐบาลมีมติให้เดินตามญัตติที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เสนอไว้

แต่นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนต้องการรู้วันนี้ที่สุดคือความชัดเจนว่าสภาจะนับหนึ่งรับหลักการให้เขามีรธน.ฉบับประชาชนคนไทยที่ไม่ต้องรับมรดกเผด็จการคสช.หรือไม่ ประชาชนถามว่าถ้ายอมให้มีกมธ.เกิดขึ้นอีก1 เดือน หลังจากนั้นเกิดโหวตคว่ำหมายความว่าอะไร หมายความว่าส.ส.จะไม่สามารถเสนอญัตติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสมัยประชุมหน้าใช่หรือไม่ และการแก้รธน.ของไอลอว์ก็จะตกไปด้วยใช่หรือไม่ และกว่าจะเสนอได้ต้องรอไปอีกสมัยประชุมหนึ่งคือหลัง 22 ใช่หรือไม่ ถ้าตนเข้าใจไม่ผิดการประวิงเวลา1 เดือน พวกเราคงร่วมสังฆกรรมกับขบวนการอย่างนี้ไม่ได้

นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่าในนามพรรคว่า เจตนาของพรรคในการเสนอให้มีการแก้ไขรธน.เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนยังดำรงอยู่ เราพร้อมแก้ไขรธน.ให้บ้านเมืองมีความปชต. แต่อย่างไรก็ตามเมือ่ฟังความรอบด้าน โดยเฉพาะส.ว.อภิปรายก็พบว่ามีอีกหลายประเด้นที่เราจะคิดหรือมไ่ได้พิจารณาในส่วนของส.ว.เมื่อเป็นแบบนี้ทางพรรคยังพร้อมที่จะทำหน้าที่แทนประชาชนที่เลือกเรามา แต่ยินดีหากจะต้องใช้เวลาไปทบทวนในสองสภา เพื่อร่วมกันศึกษาแก้ปัญหาสำคัญ ที่วิกฤตวันนี้และที่อาจจะวิกฤตต่อไปในวันหน้า จึงขอเสนอญัตตินายไพบูลย์ พอถึงวันนั้นพรรคพร้อมที่จะเดินหน้าแก้ไขรธน.ตามที่รับปากกับประชาชนไว้

นพ.เรวัฒน์ วิศรุตเวช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย กล่าวว่า ที่พูดมาฟังดูดีแต่ไม่จริง การใช้มาตรา121 วรรคสามถือว่าอันตราย ดังนั้นเรากำลังเล่นเกมที่อันตรายมาก เพราะจะทำให้สภาถึงทางตัน แล้วการเมืองนอกสภาจะประสบกับภาวะวิกฤตที่มีความรุนแรงและเกินที่จะคาดเดา

จากนั้นนายชวนได้ขอมติญัตติด่วนของนายไพบูลย์ เรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาร่างญัตติทั้ง6 ผลปรากฎว่า เสียงส่วนใหญ่ 432 เสียง ไม่เห็นด้วย 255 เสียง งดออกเสียง 28 เสียง ไม่ลงคะแนน1 เสียง จากนั้นมีการตั้งคณะกรรมาธิการจำนวน 45 คน ประกอบด้วย สว.15 คน ส.ส.30 แต่ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวหน้า พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเศรษฐกิจใหม่ ไม่ร่วมเป็นกรรมาธิการในคณะนี้ด้วย

นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ว่ามีรัฐมนตรีบางคนที่ไม่ได้เป็นส.ส.ร่วมลงคะแนนด้วย ไม่ทราบว่าการลงคะแนนครั้งนี้ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่

ด้านนายชวนกล่าวว่าหากผิดกฎหมายก็ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และได้ให้เลขาธิการอ่านพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุม แล้วปิดประชุม

 

 

หน้าแรก » การเมือง