วันเสาร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 12:10 น.

การเมือง

"เพื่อไทย"งงอย่างแรงนิ! ยามปกติรัฐบาลโชว์ป๋าแจกดะ ตอนน้ำท่วมขอบริจาค

วันเสาร์ ที่ 05 ธันวาคม พ.ศ. 2563, 12.40 น.

วันที่ 5 ธ.ค.2563 นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า "แจกแหลก ตอนปรกติ แต่คิดหนัก ตอนเกิดวิกฤต น้ำไม่ท่วม โชว์ป๋า แต่น้ำท่วม ดันขอรับบริจาค? 

สุราษฎร์ฯติดเครื่องผลักดันน้ำ30ชุดรับมวลน้ำนครศรีฯระบายลงทะเล

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยแผนรับมือมวลน้ำจากจ.นครศรีธรรมราชว่า ได้ขอรับการสนันหนุนจากรมชลประทานติตตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 30 ชุด ที่สะพานคลองพุนพิน อ.พุนพิน จำนวน 12 ชุด สะพานคลองศรีวิชัย อ.พุนพิน จำนวน 12 ชุด ประตูระบายท่าโพธิ์ อ.ไชยา 6 ชุดเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วยิ่งขึ้น ก่อนที่มวลน้ำจะไหลมาถึงพื้นที่ อ.พุนพิน ในวันพรุ่งนี้(6 ธ.ค.63) โดยมีกำลังทหาร มทบ.45 ร.25 พัน 3 นพค.46 กองบิน 7 ตำรวจ อพปร.ฝ่ายปกครอง อปท.และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เตรียมพร้อมสำหรับการอพยพประชาชน
          
นายวิชวุทย์ กล่าวว่า วันนี้ไม่มีฝนตกในพื้นที่ ระดับน้ำในแม่น้ำตาปี วัดจากระบบโทรมาตรเขื่อนรัชชประภาที่สถานี อ.พระแสง วัดได้ 11.53 เมตรจาระดับทะเลปานกลาง(รทก.)สูงกว่าระดับวิกฤต 1.40 เมตร และมีระดับน้ำเพิ่มจากเมื่อวาน(4ธ.ค.63) 1.09 เมตร มีพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว 16 อำเภอ จำนวน 109 ตำบล 850 หมู่บ้าน 95 ชุมชน ราษฎรได้รับผลกระทบ 30,128 ครัวเรือน 90,530 คน ไม่มีผู้บาดเจ็บและไม่ผู้เสียชีวิต ความเสียหายด้านต่างๆอยู่ระหว่างการสำรวจ พื้นที่ อ.เกาะสมุย อ.เกาะพะงันและ อ.บ้านตาขุน ไม่ได้รับผลกระทบ
          
ส่วนการให้ความช่วยเหลือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสนับสนุนถุงยังชีพ จำนวน 4,000 ชุด จังหวัดสุราษฎร์ธานีมอบให้ อ.พุนพิน 500 ชุด อ.ท่าฉาง 700 ชุด อ.ท่าชนะ 500 ชุด อ.เคียนซา 500 ชุด อ.บ้านนาเดิม 400 ชุด อ.กาญจนดิษฐ์ 400 ชุด และอ.ดอนสัก 750 ชุด ไปแจกจ่ายผู้ประสบอุทกภัย โดยแบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด นำคณะตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัย และมอบถุงยังชีพในพื้นที่

กรมชลประทานเดินหน้าช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมขังภาคใต้ 

นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน กรมชลประทาน ได้ระดมเครื่องจักรเครื่องมือ เร่งให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยในพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันหลายพื้นที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีบางพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ โดยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 23 อำเภอ สถานการณ์น้ำในคลองท่าดี และแม่น้ำตาปี มีแนวโน้มลดลง สำนักงานชลประทานที่ 15 ได้ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 34 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำอีก 34 เครื่อง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังอย่างต่อเนื่อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 11 อำเภอ ได้แก่ อ.กาญจนดิษฐ์ อ.บ้านาสาร อ.ดอนสัก อ.เวียงสระ อ.บ้านนาเดิม อ.บ้านตาขุน อ.คีรีรัฐนิคม อ.วิภาวดี อ.ท่าฉาง อ.พระแสง และอ.ไชยา สถานการณ์น้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำนักงานชลประทานที่ 15 เข้าทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่ อ.ไชยา จำนวน 4 เครื่อง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่

ขณะที่จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 11 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองพัทลุง อ.ป่าบอน อ.ศรีนครินทร์ อ.กงหรา อ.ตะโหมด อ.ควนขนุน อ.เขาชัยสน อ.ปากพะยูน อ.ป่าพะยอม อ.บางแก้ว และ อ.ศรีบรรพต สถานการณ์น้ำในคลองท่าแค และคลองท่าแนะ มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โครงการชลประทานพัทลุง ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 10 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำระบบไฮโดวโฟวล์อีก 1 เครื่อง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ด้านจังหวัดสงขลา มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อ.กระแสสินธุ์ และอ.ระโนด เนื่องจากยังคงมีฝนตกในพื้นที่ ส่งผลให้ระดับน้ำในคลองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาระโนด-กระแสสินธุ์  และโครงการชลประทานสงขลา ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำรวมทั้งสิ้น 8 เครื่อง เครื่องสูบน้ำระบบไฮโดวโฟวล์ 5 เครื่อง และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำอีก 23 เครื่อง เร่งระบายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น จังหวัดตรัง มีพื้นที่ลุ่มต่ำที่ได้รับผลกระทบจำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อ.นาโยง และอ.เมือง          สถานการณ์น้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโครงการชลประทานจังหวัดตรัง ทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 23 เครื่อง พร้อมติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด จังหวัดนราธิวาส ได้รับผลกระทบ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอบางเจาะ อำเภอแว้ง อำเภอยี่งอ และอำเภอสุไหงปาดี โครงการชลประทานนราธิวาส ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง  เครื่องผลักดันน้ำ 6 เครื่อง  และเครื่องสูบน้ำระบบไฮโดวโฟวล์อีก 6 เครื่อง เร่งผลักดันน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ยังคงให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หากประชาชนหรือหน่วยงานใด ต้องการความช่วยเหลือ สามารถร้องขอไปได้ที่โครงการชลประทานในพื้นที่ หรือโทร.สายด่วนกรมชลประทาน หมายเลข 1460 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

หน้าแรก » การเมือง