วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 11:20 น.

การเมือง

สถาบันพระปกเกล้าขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรมเชิงรุก นำร่องพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในสถานศึกษา

วันพุธ ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565, 16.05 น.

เมื่อวันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2565 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร.วิทยากรต้นแบบสันติภาพ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า  เข้าร่วมแลกเปลี่ยนโครงการสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ณ สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันพระปกเกล้ากับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรมสู่สถานศึกษา: กรณีศึกษาสถาบันการศึกษานำร่องเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษานำร่อง ซึ่งจะนำรูปแบบการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาไปประยุกต์ด้วยการฝึกอบรมในสถานศึกษานำร่อง พร้อมนำผลการสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ณ ห้องสุโขทัยธรรมราชา สถาบันพระปกเกล้า 

กล่าวต้อนรับโดย อาจารย์ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กล่าวประเด็นสำคัญว่า ทุกท่านส่วนใหญ่มาจากสถานศึกษาซึ่งเคยเจอความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรง พยายามจะหาทางแก้ไขให้เกิดความขัดความยั่งยืน ผ่านการแก้ปัญหาผ่านองค์รวม ซึ่งสอดรับกับสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ซึ่งเราทำสันติวัฒนธรรมไม่ใช่ไม่มีความขัดแย้ง เราไม่สามารถขจัดความขัดแย้งออกไปได้แต่เราสามารถบริหารไม่ให้เกิดความขัดแย้ง เราจึงต้องทำ 3 มิติ ประกอบด้วยคือ การป้องกัน การจัดการ การเยียวยารักษาสันติภาพ โดยมุ่งการเคารพยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย เช่น ความแตกต่างทางเพศ ความแตกต่างทางศาสนา  สันติวัฒนธรรมต้องไม่ใช้ความรุนแรงทางตรงและทางอ้อม สร้างวัฒนธรรมที่ไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมถึงสันติวัฒนธรรมจากการฟังกันอย่างจริงจัง สร้างความเข้าใจเกิดฉันทามติ เพราะเสียงส่วนใหญ่อาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ จะต้องสร้างความถูกต้องมากกว่าความถูกใจ

จึงมองว่าสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1)วัฒนธรรมเคารพยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย 2)วัฒนธรรมไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ 3)วัฒนธรรมการฟังนำไปสู่ฉันทามติ โดยเริ่มจากตัวเราผ่านการแง้มใจ จึงต้องวิเคราะห์ความขัดแย้ง บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างสันติวัฒนธรรม ซึ่งสันติวัฒนธรรมอาจจะไม่มีสูตรสำเร็จแต่เราสามารถนำไปบูรณาการกับสถานศึกษาแต่ละสถานที่ให้มีความเหมาะสม               

ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา นักวิชาการชำนาญการ สะท้อนประเด็น TUNA ACT Model เพื่อขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรม สันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา : ความหมายหลักการสำคัญ ธรรมชาติ พลวัต ประเภท การจัดการความขัดแย้ง สะท้อนว่า การขับเคลื่อนสันติวัฒนธรรมเดิตามกรอบของTUNA ACT Model จึงประกอบด้วย  1)สภาพแวดล้อมสำหรับการคิด (Thinking Environment) 2)เข้าใจตนเองและผู้อื่น (Understand Youself / Other) 3)ไม่ใช้ความรุนแรง (Non -violence) 4)ยอมรับความหลากหลาย (Accept Diversity)
5)ลงมือทำ (Action) 6)การวิเคราะห์ความขัดแย้ง (Conflict Analysis) 7)เครื่องมือสำหรับการจัดการความขัดแย้ง  (Tools for Conflict Resoluton)

โดยสันติวัฒนธรรมเป็นการปฏิเสธความรุนแรง ป้องกันความขัดแย้งไม่ให้ขยายตัวออกไป มุ่งสร้างสันติทางกายภาพ สร้างสันติภาพเชิงบวก โดยการล้อเลียนซึ่งนำมากระตุ้นในการใช้ความรุนแรง โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรมในทักษะในการแก้ปัญหา ซึ่งทักษะที่สำคัญคือ 1)ทักษะการสื่อสาร  มีการตีความที่แตกต่างกันเพราะคำสั่งมีความแตกต่างกัน 2)ทักษะการเจรจา เริ่มต้นจากเจรจากับตนเอง 3)ทักษะการตัดสินใจ ซึ่งการตัดสินใจจะต้องการมีส่วนร่วม ไม่ใช่เราตัดสินเพียงคนเดียวแต่จะต้องสร้างการมีส่วนร่วม จึงต้องใช้ Fa เป็นกระบวนกร การตัดสินใจจะต้องคิดนอกกรอบ ซึ่งต้นเหตุหรือสาเหตุของความขัดแย้งประเด็นของเก้าอี้คืออะไร ? เก้าอี้คือผลประโยชน์ที่มีจำกัดมากผู้คนจะใช้แย่งซึ่งได้มาเพื่อต้องการทรัพยากร  

การสร้างสันติวัฒนธรรมจะต้องมองเป้าหมายและวิธีการ โดยเป้าหมายจำเป็นต้องมี แต่จงใส่ใจวิธีการซึ่งเป็นกระบวนการ คือ กระบวนการฟังกันอย่างจริงจัง สร้างการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ในตามอริยสัจ นิโรธคือเป้าหมาย  มรรคคือวิธีการกระบวนการ  โดยการแก้ปัญหาความขัดแย้งความไว้วางใจสำคัญมาก ซึ่งจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี เพราความสัมพันธ์ดีทุกอย่างจะดีหมดเลย ซึ่งในการบริหารความขัดแย้งหรือเผชิญกับการความขัดแย้งจะใช้แนวทาง 5 วิธีการ ประกอบด้วย "แข่งขัน ร่วมมือ  ประนีประนอม หลีกเลี่ยง  ยอมตาม" และโอกาสนี้ได้รับมอบหนังสือการจัดการความขัดแย้งและการขอโทษ จากอาจารย์ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเขียนโดย Catherine Morris โดยสันติวิธีมีสองมิติคือ เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง และ เป็นการเรียกร้องจำนวน ๑๐๘ วิธีในกระบวนการสันติวิธี โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันแบบมีส่วนร่วม                

หน้าแรก » การเมือง

Top 5 ข่าวการเมือง