วันอาทิตย์ ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 13:01 น.

การเมือง

นายกฯหารือนายกฯ สปป. ลาว ร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565, 11.54 น.

นายกฯ หารือนายกฯ สปป. ลาว ในโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วมในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 เชื่อมั่นสะพานแห่งนี้จะเป็นอีกช่องทางให้ประชาชนไปมาหาสู่กัน

วันที่ 28 ตุลาคม 2565  เวลา 10.00 น. ณ บริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้หารือทวิภาคีกับ นายพันคำ วิพาวัน นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ซึ่งภายหลังการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้   

นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้ร่วมเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้าง สะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 5 ซึ่งเป็นไปตามที่ได้หารือกับนายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ที่ไทย เชื่อมั่นว่าสะพานแห่งนี้จะเป็นอีกช่องทางให้ประชาชนตามแนวชายแดนไปมาหาสู่กันได้สะดวกมากขึ้น และเชื่อว่าจะมีสะพานแห่งอื่นๆ เพิ่มอีก และขอให้ดูแลคนไทยในประเทศลาว ซึ่งคนไทยก็จะดูแลคนลาวในไทยเช่นกัน
 
นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว กล่าวว่า  "มีความยินดี ที่ได้รับเกียรติ เป็นประธานร่วมกับนายกรัฐมนตรีของไทย และมีคณะรัฐมนตรีเข้าร่วม ในพิธีวางศิลาฤกษ์ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย- ลาวเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งการวางศิลาฤกษ์ล่าช้า เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 แต่ในส่วนของการก่อสร้างได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้ และเป็นที่น่าพึงพอ ซึ่งเกินความคาดหมาย ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในความพยายาม ในการพัฒนาของ 2 รัฐบาล รายการตั้งเงื่อนไขอำนวยความสะดวกในการสัญจรไปมาของประชาชนทั้งสองฝั่ง รวมไปถึงภาคการขนส่งระหว่างประเทศ ส่งเสริมการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว โดยใช้ที่ตั้งยุทธศาสตร์อันสำคัญของทั้งสองประเทศ เกี่ยวกับอนุภาคพื้นลุ่มแม่น้ำโขงและภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นการอำนวย ความสะดวกสนับสนุนการเชื่อมโยงการขนส่ง ทั้งฝั่งไทยลาวและอนุภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค ให้เกิดผลประโยชน์สูง

ซึ่งโครงการนี้ได้มีการวางแผนการปฏิบัติงาน ว่า ด้วยการเป็นผู้ร่วมยุทธศาสตร์ การเจริญเติบโตและการพัฒนา ในระยะ 5 ปี 2022-2026 ซึ่งได้มีการลงนามข้อตกลง เมื่อ เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์ ของประชาชนทั้งสองชาติ ในการเป็นบ้านใกล้เรือนเคียงกัน และสายผูกพันมิตรภาพการร่วมมือ ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยโครงการสะพานมิตรภาพไทย- ลาวแห่งที่ 5จะเป็นการตอบสนอง ให้แก่กันปฏิบัติเป้าหมายที่ 5 ในการร่วมมือเชื่อมโยง ภายในภาคพื้นสากลให้มีความทันสมัย เข้มแข็ง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติตั้งแต่ปี 2021-2025และยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในระยะ 10 ปี 2016-2025 โดยการนำเอาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่มีชายแดนติดต่อกันเป็นการเชื่อมโยงศูนย์กลางการเชื่อมโยง

ตนและประชาชนชาวลาวขอขอบคุณรัฐบาลไทยด้วยความจริงใจ ที่ได้มีการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งนี้ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่รับผิดชอบโครงการก่อสร้าง โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคมของไทย และส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึง แขวงบอลิคำไซ จนทำให้โครงการดังกล่าวนั้นสำเร็จตนหวังว่า ทุกคนจะปฏิบัติให้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถเปิดใช้ ในต้นปี 2024

ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ มีภาษาที่สามารถพูดคุยกันรู้เรื่องและเข้าใจกัน และมีหลายอะไรหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน มีความเกี่ยวดองกัน เรากินข้าวร่วมนากินปลาร่วมน้ำและพึ่งพาอาศัยกัน มาตั้งแต่โบราณกาล ตนขอย้ำว่า สายความผูกพันและความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศ ไม่สามารถตัดขาดกันได้" 
 
นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นว่าสะพานแห่งนี้ จะเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่แสดงถึงความเป็นมิตรที่ใกล้ชิด และยิ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ของประเทศและประชาชนทั้งสองประเทศใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น และจะเป็นสะพานที่เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ทั้งสองประเทศ เนื่องจากจะเป็นทางเลือกการขนส่งระหว่างไทยกับ สปป. ลาว รวมทั้งส่งเสริมการขนส่งเส้นทางหมายเลข 8 (R8) ระหว่างไทย–ลาว–เวียดนามให้สะดวกยิ่งขึ้น
 
ในส่วนของประเด็นเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบรางของไทยกับรถไฟลาว – จีน นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายพร้อมสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายหารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อลดอุปสรรคในการขนส่งและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีให้เต็มที่ ซึ่งต้องการเห็นความคืบหน้า อำนวยความสะดวก ขจัดอุปสรรคต่างๆ 
 
ในโอกาสนี้ ภายหลังการหารือนายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ได้กล่าวแสดงความยินดี และความร่วมมือโครงการฯ ยินดีและเป็นเกียรติ ที่ได้มาร่วมงานที่มีความหมายเป็นสิริมงคลในวันนี้การก่อสร้างนี้เป็นความพยายามมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้งสองประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนทั้งสองฝั่ง การขนส่ง ส่งเสริมการค้า การลงทุน ท่องเที่ยว สนับสนุนการพัฒนาในทั้งสองประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุด ของประเทศและประชาชน และในตอนท้ายได้อวยพรให้สองประเทศเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

หน้าแรก » การเมือง