การเมือง
"ศาล รธน." สั่ง "ทวี" หยุดปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแล DSI - รอง ปธ.บอร์ดคดีพิเศษ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภาที่ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ผู้ถูกร้องที่ 1 และพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
จากกรณีผู้ถูกร้องทั้งสองมีมติให้การกระทำความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ ตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) เป็นการแทรกแซงหรือครอบงำหน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)โดยใช้กรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นเครื่องมือแทรกแซงกระบวนการ ตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา อันเป็นการกลั่นแกล้ง กดดัน ข่มขู่ และครอบงำสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็น ฝ่ายนิติบัญญัติ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจและฝ่าฝืนหลักนิติธรรม จึงถือได้ว่าผู้ถูกร้องทั้งสองไม่มี ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีพฤติกรรมเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม อย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลง เฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่
ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ ฉบับลงวันที่ 7 พ.ค.68 วันที่ 13พ.ค.68 และวันที่ 14 พ.ค.68 ศาลมีรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
สำหรับกรณีปรากฏข้อเท็จจริงตามคำร้องเพิ่มเติมของผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ 14 พ.ค.68 พร้อมเอกสารประกอบ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้งสองหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะมี คำวินิจฉัยถึงที่สุด ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่า นายภูมิธรรม ผู้ถูกร้องที่1 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ยังไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้องที่จะสั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หยุดปฏิบัติหน้าที่
ส่วนพันตำรวจเอกทวี ผู้ถูกร้องที่ 2 ดำรงตำแหน่ง รมว.ยุติธรรม มีหน้าที่และอำนาจ ในการสั่งและปฏิบัติราชการในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการกระทรวงยุติธรรมอันรวมไปถึงกรมสอบสวน คดีพิเศษ ตามคำร้องเพิ่มเติมและเอกสารประกอบ ปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่า พันตำรวจเอกทวี ผู้ถูกร้องที่ 2 มีกรณีตามที่ถูกร้อง จึงสั่งให้พันตำรวจเอกทวีผู้ถูกร้องที่ 2 หยุดปฏิบัติหน้าที่รมว.ยุติธรรมเฉพาะในฐานะผู้กำกับดูแลกรมสอบสวน คดีพิเศษและรองประธานกรรมการคดีพิเศษตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัย
ตีตกคำร้อง สว.สำรอง ขอสอบปม 92 สว.ยื่นสอบ "ทวี-ภูมิธรรม"
พร้อมกันนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์สั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาใน 2 คดีที่เกี่ยวกับการร้องเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.)คือคดีที่ พล.ต.ท คำรบ ปัญญาแก้ว และคณะสว.สำรอง ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ว่า พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร และสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 92 คน ผู้ถูกร้อง ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อ และยื่นหนังสือต่อประธานรัฐสภาขอให้ส่งคำร้องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้พิจารณาไต่สวนและดำเนินการกับพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และพ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จากเหตุเสนอเรื่องการขออนุมัติให้การดำเนินคดีความผิดฐานอั้งยี่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นสิทธิพิเศษ อีกทั้งการเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม และพ.ต.อ.ทวี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ เนื่องจากเป็นการใช้สถานะหรือตำแหน่งของการเป็นสมาชิกวุฒิสภากระทำการอันมีลักษณะต้องห้ามเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองในการปฏิบัติราชการหรือดำเนินการในหน้าที่ประจำของข้าราชการหรือของหน่วยงานราชการ ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 185 (1)
โดยศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ประกอบพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 7 (5) นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง เพื่อให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในคดีดังกล่าวได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคสี่ เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องปรากฎว่า ผู้ร้องเป็นเพียงผู้มีรายชื่อเป็นผู้ได้รับเลือกรับเป็นสมาชิกวุฒิสภา (บัญชีสำรอง) มิได้มีสถานะเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภา เมื่อส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และมิได้เป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้แต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
ขณะเดียวกันก็มีมติเอกฉันท์สั่งไม่รับคำร้องของพลโท ยอดชัย ยั่งยืน อดีตรองผอ.กอ.รมนภาค1 ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา อ้างถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพจากการกระทำ ของกกต. ผู้ถูกร้อง ที่ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือก เป็นสมาชิกวุฒิสภาตามหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร (สว.4) อีกทั้งการที่กกต.ออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การมีลักษณะอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ตามมาตรา 11 วรรคสอง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 2561 ลงวันที่ 11 เม.ย.67 กำหนดให้ลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐสามารถลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภากลุ่มการบริหาร ราชการแผ่นดินและความมั่นคงได้ ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในกลุ่มที่สมัคร การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม และเป็นโมฆะ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 มาตรา 108 และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง (1) และ (2 )
โดยศาลฯเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบ คำร้อง ปรากฏว่าการกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย หากผู้ร้องเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพ ผู้ร้องอาจใช้สิทธิทางศาลได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม ส่วนกรณีขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นโมฆะนั้น รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดกระบวนการร้อง หรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณา ของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 47 (2) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213
ศาล รธน.ขีด 15 วันให้พยานส่งข้อมูลเพิ่ม ปมอำนาจหน้าที่สภาแก้ รธน.
พร้อมกันนี้ศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสาร เรื่องพิจารณาที่ 9/2568 กรณีประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) โดยในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 6 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2568 พิจารณาญัตติด่วนกรณีที่นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส. พรรคเพื่อไทย) เป็นผู้เสนอให้รัฐสภาพิจารณามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2)
โดยผลการลงมติในญัตติดังกล่าวว่า ที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นด้วยให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามญัตติ ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 ประธานรัฐสภา (ผู้ร้อง) ส่งเรื่องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2)
ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้นำความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญที่ได้จากการไต่สวนในคดีดำวินิจฉัยที่ 4/2564 (เรื่องพิจารณาที่ 4/2564) มารวมสำนวนเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และให้พยานผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นเป็นหนังสือตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การเมือง
Top 5 ข่าวการเมือง ![]()
- "ศาล รธน." สั่ง "ทวี" หยุดปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแล DSI - รอง ปธ.บอร์ดคดีพิเศษ 14 พ.ค. 2568
- "นายกฯ แพทองธาร" สั่งช่วยลดภาระผู้ปกครองรับเปิดเทอม ออมสิน ให้กู้ 1 หมื่น-ดอกต่ำ 14 พ.ค. 2568
- "รมช.คมนาคม" ลงพื้นที่เชียงใหม่ – ลำพูน เปิดโครงการสร้างความปลอดภัยในการใช้ถนน 14 พ.ค. 2568
- "รมว.คลัง" แถลงยันยื่น 5 ข้อเสนอไทยเจรจาภาษีทรัมป์ 14 พ.ค. 2568
- "เผ่าภูมิ" บุก "นครปฐม" ปราบบุหรี่เถื่อน 35,000 ซอง สั่งเข้มตรึงชายแดนกาญจน์-ประจวบ 5 จุด ลั่นกำจัดให้สิ้นซาก 14 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดการเมือง ![]()
"อัครา" เร่งพัฒนาลุ่มน้ำอิงตอนบน นำร่องใช้โซล่าเซลล์กระจายระบบน้ำสู่แปลงเกษตรกร 19:08 น.
- “อนุทิน” สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ “ในหลวง -พระราชินี” ทรงให้ผู้แทนพระองค์อัญเชิญแจกันดอกไม้และของขวัญพระราชทานเยี่ยมไข้ 16:56 น.
- ปมฮั้วเลือก สว. สะเทือนรัฐสภา "สรชาติ-บุญจันทร์" ยันไร้มลทิน "เพื่อไทย" ชี้ความเชื่อมั่นใกล้หมด 16:04 น.
- "ธรรมนัส" รับฟังปัญหาหนองน้ำสาธารณะหนองหลวงเชียงราย 15:36 น.
- การอำนวยความสะดวกแก่คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ในการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี 14:40 น.