ภูมิภาค
กะละแมโบราณเมิงมาง อร่อย หอม หวานเหนียวนุ่มลิ้น
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

กะละแมโบราณเมิงมาง
อร่อย หอม หวานเหนียวนุ่มลิ้น
กลุ่มแม่บ้าน บ้านมาง ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา รวมตัวผลิตกาละแมโบราณ ที่ใช้วิธีการคล้ายขนมปาดของชาวไทลื้อ โดยนำแป้งข้าวเหนียว กะทิจากมะพร้าว น้ำตาลจากน้ำอ้อย ทำการผลิตกาละแมโบราณ
กลุ่มแม่บ้าน ชาวบ้านชุมชนวัดแสนเมืองมา ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ต่างร่วมกันทำการผลิตกาละแมสูตรโบราณ ที่เป็นสูตรเฉพาะของชาวไทลื้อ ซึ่งกรรมวิธีของการผลิตหรือการกวนกะละแม ก็จะทำคล้ายกับการกวนขนมปาด ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของคนไทลื้อและคนไทยยวนหรือคนเมือง เพื่อนำออกจำหน่าย และถือเป็น ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านบ้านมาง ที่ได้ทำกันมาเป็นเวลาหลายปี โดยชาวบ้านจะร่วมกันทำขึ้น โดยใช้เวลาในการกวนกว่า 5 ชั่วโมง ซึ่งเป็นกาละแมที่เป็นสูตรเฉพาะ ซึ่งใช้วิธีการทำลักษณะคล้ายขนมปาด ซึ่งมีวิธีการกวนเหมือนกัน ต่างกันที่ขนมปาดใช้แป้งข้าวจ้าว ส่วนกะละแมใช้แป้งข้าวเหนียว โดยเติมสีดำจากกากมะพร้าวเผา ซึ่งการทำกะละแมโบราณดังกล่าว จะเน้นให้เป็นของฝากให้กับผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวยังวัดแสนเมืองมา
โดยนางรัตติกาล พุทธิมา ประธานกลุ่มกาละแมโบราณเมิงมาง บอกว่า กาละแมของกลุ่มนั้นจะใช้เวลาในการกวนประมาณ 5 ชั่วโมง จากนั้นก็จะนำไปพักให้เย็นประมาณ 1 คืน จากนั้นก็จะนำมาตัดเป็นชิ้นๆ และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีชนิดเป็นถุง นำหนัก 100 กรัม จะขาย ถุงละ 25 บาท และบรรจุในชลอมก็จะขายที่ 50 บาท สำหรับคนที่นิยมนำไปเป็นของฝาก ซึ่งกาละแมที่นี่จะใช้การทำแบบวิธีการธรรมชาติ ไม่หวานมากจนเกินไป ไม่ใส่สารกันบูด สามารถเก็บได้เพียง 5 วัน ซึ่งในแต่ละวันจากการที่ทำแล้วก็จะจำหน่ายหมดวันต่อวัน โดยเฉลี่ยแล้วจะจำหน่ายได้วันละ 1,000-2,000 บาท ซึ่งจะนำไปจำหน่ายในร้านค้าของฝากและสถานที่ท่องเที่ยวของวัดแสนเมืองมาแห่งนี้
สำหรับความเป็นมา กะละแมโบราณ เป็นสูตรที่พัฒนามาจากขนมปาดของชาวไทลื้อ ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งใช้วิธีการกวนเหมือนกัน ต่างกันที่ขนมปาดใช้แป้งข้าวจ้าว ส่วนกะละแมใช้แป้งข้าวเหนียว มีสีดำจากกากมะพร้าวเผา การทำกะละแมโบราณเน้นความหอมจากใบตอง และกรรมวิธีโบราณ ซึ่งในแต่ละวันสามารถผลิตและจำหน่ายสร้าง รายได้เป็นอย่างดีกับชุมชนที่นี่
ซึ่งส่วนประกอบที่สำคัญของกะละแมโบราณ มีแป้งข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล สีจากกากมะพร้าวเผา เกลือ น้ำเปล่า และผ่านกระบวนการการผลิตที่เน้นความดั้งเดิมแบบโบราณ ซึ่งจะเผากากมะพร้าวให้เป็นสีดำ เพื่อคั้นเอาน้ำนำมาผสมในเนื้อกะละแม แล้วห่อด้วยใบตองที่ผ่านการรีดให้หอม ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่ใส่สี ไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ เป็นกะละแมที่กินแล้วอร่อย หอม หวานเหนียวนุ่มลิ้นถูกปากดี หากว่าใครได้เดินทางมาเที่ยวที่ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ขอแนะนำเลยว่าต้องแวะมาที่วัดแสนเมืองมา บ้านมาง ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัด พะเยา แล้วซื้อกะละแมโบราณ เป็นของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านก็จะถือว่ามาถึงพื้นที่ อำเภอเชียงคำ
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » ภูมิภาค
Top 5 ข่าวภูมิภาค
![]()
- รองผู้ว่าฯนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ขออนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ 17 ก.ค. 2568
- เทศบาลนครเชียงรายติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำกก พบระดับน้ำสูงขึ้นต่อเนื่อง 17 ก.ค. 2568
- ออกบ้านพกร่ม! ฝนถล่มไทย เหนือ-อีสาน-กลาง-ออก-กทม. ระวังน้ำท่วมฉับพลัน 17 ก.ค. 2568
- จับหนุ่มมะกัน ซุกเฮโรอีนคาสนามบิน 17 ก.ค. 2568
- สวรส.-มข.ลุยอีสาน ตรวจกลุ่มเสี่ยง หวังหยุดวงจรโรคตับร้าย 17 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดภูมิภาค
![]()
“ปู่เดือนชัย” สับ! พระมีเมียไม่ใช่เรื่องใหม่ แนะสึกดีกว่าทำเสื่อม 21:55 น.
- โจรบุกวัดฉกตู้บริจาค ทิ้งไว้แค่หมวกไอ้โม่ง! 21:16 น.
- พะเยา คณะสงฆ์แห่เครื่องสักการะกลางเมืองถวายมุทิตา 90 ปี พระเทพญาณเวที 20:53 น.
- หยุดยาว! นนท.ทั่วสารทิศ ขอพรโชคลาภปู่ท้าวเวชสุวรรณแน่นวัดประทุมบูชา เผยงวดที่ผ่านมามีคนถูกรางวัลที่ 1 20:05 น.
- บุรีรัมย์กวาดรถซิ่ง 43 คัน ผู้การฯเตือนแข่งต้องอยู่ในสนาม 19:14 น.