วันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 19:34 น.

ภูมิภาค

ชมความงามพระพุทธภุชคารักษ์ เด่นสง่าบนยอดเขา ม.พะเยา

วันอาทิตย์ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562, 21.57 น.

ชมความงามพระพุทธภุชคารักษ์
เด่นสง่าบนยอดเขา ม.พะเยา


ชมความสวยงามพระพุทธภุชคารักษ์ พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยพะเยา ที่มีความสวยงามอลังการ ตั้งเด่นสง่าบนยอดเขาในมหาวิทยาลัยพะเยา ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นที่เคารพสักการระผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตนักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปรางนาคปรก ที่มีขนาดใหญ่ มีความสวยงามโดดเด่น ท่ามกลางทัศนียภาพที่สวยงาม

 

 

วันนี้จะพาไปชมความสวยงามอลังการของ “พระพุทธภุชคารักษ์”พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ตั้งเด่นสง่าสวยงามบนยอดเขา ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีทัศนียภาพ ท่ามกลางขุนเขาที่สวยงามโดดเด่น นอกจากนั้นพระพุทธรูปดังกล่าว ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นที่เคารพสักการะของผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิต ศิษย์เก่าตลอดจนประชาชนทั่วไป ซึ่งจะมีพุทธศาสนิกชนและนักศึกษาเดินทางมาสักการะกันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่มีเอกลักษณ์ที่สวยงาม ประกอบกับอยู่บริเวณทำเลที่ตั้งที่ประดิษฐานที่มีธรรมชาติที่สวยสดงดงาม ท่ามกลางขุนเขาโอบล้อม หากอยู่บริเวณองค์พระก็จะสามารถสัมผัสวิวทิวทัศน์ของสถานที่สำคัญโดยรอบอย่างสวยสดงดงาม ทั้งมหาวิทยาลัยพะเยา วัดป่าอุบาลี รวมทั้งขุนเขาที่สวยงาม

 


สำหรับ“พระพุทธภุชคารักษ์”ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช กุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2558 และพระราชทาน พระราชานุญาต ให้มหาวิทยาลัยพะเยาจัดสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ส.ธ. ให้เป็นพระพุทธรูปประจำ มหาวิทยาลัยพะเยา ต่อมาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานพระ นามาภิไธย ส.ธ. ว่า “พระพุทธภุชคารักษ์” ซึ่งหมายถึง พระพุทธรูปที่มพีญานาคคุ้มครองรักษา  พุทธลักษณะของพระพุทธภุชคารักษ์ เมื่อ เรากล่าวถึงพุทธลักษณะของพระพุทธภุชคารักษ์ จะเห็นว่าพระพุทธภุชคารักษ์ มีลักษณะ อ่อนโยนมีเมตตา ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะประจำพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม ราชกุมารี แฝงอยู่ในพระพุทธรูปประจำพระองค์ที่พระราชทานให้มหาวิทยาลัยพะเยา พระพุทธภุชคา รักษ์ได้มีการจำลองรูปแบบและแนวคิดศิลปะมาจากพระพุทธรูปพระนาคปรกสมัยศรีวิชัยตอนปลาย ผสมผสานกับศิลปะสมัยสุโขทัย ที่มีอิทธิพลของศิลปะขอมเข้ามาปะปน มีลักษณะสำคัญคือ

 

 

เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ ประทับนั่งบนขนดนาค 3 ชั้น มีเศียรนาค 7 เศียร พระ พักตร์ของพระพุทธภุชคารักษ์ มีศิลปะของสมัยสุโขทัยแฝงอยู่ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะหน้านาง หรือรูปไข่ ไม่เป็นสี่เหลี่ยมถมึงทึง พระเนตรหลบต่ำ เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ส่วนพระกรมีลักษณะเล่น นิ้วพระหัตถ์ มีลักษณะสวยงาม  นาคทั้งเจ็ดเศียรประดับด้วยเกล็ดเรียงซ้อนสวยงามแผ่พังพานพร้อม ปกป้ององค์พระพุทธภุชคารักษ์อย่างองอาจมีพลังอำนาจ และที่ฐานของขนดนาคได้ประทับด้วยพระ นามาภิไธย ส.ธ. ดูเด่นเป็นสง่า ชายจีวรมีความอ่อนช้อยพลิ้วไหว มีองค์ประกอบศิลปะที่สามารถ มองเห็นความงาม ให้ความรู้สึกที่อิ่มเอิบ ร่มเย็นเมตตา สูงส่ง สงบสุข มีขนาดความสูง 18.30 เมตร หน้าตักกว้าง 9 เมตร ประดิษฐานบนยอดเนินเขา ด้านหลังอาคารหอประชุมพญางำเมือง ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยงามอีกองค์หนึ่งของจังหวัดพะเยา ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้บูชาและท่องเที่ยว

 

 

 

 

หน้าแรก » ภูมิภาค