วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 13:13 น.

ภูมิภาค

รักและผูกพัน! ไอ้น้อง-ค่างแว่นเขาบูโด แสนรู้สุดเชื่อง อยู่ร่วมกับชาวบ้าน

วันอาทิตย์ ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562, 18.34 น.
จากกรณีที่ น.ส.พรพรรณ พลูกลับ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค จาก “Phuornphan Phulklab”ข้อความว่า ไม่รู้ว่าชาติที่แล้วเราเป็นอะไรกันชาตินี้ถึงได้มาพบกันและผูกพันธ์มากๆขอบคุณดีใจที่อยากเจอและตามมาหากัน 2-3วันไม่ได้ไปหาบนเขาปล่อยให้เป็นหน้าที่แม่ให้อาหารเค้ามาตามถึงบ้านที่หน้าจะไปเจอทุกวันนะจะได้ไม่เหนื่อยตามมา “ มีผู้ติดตามและแชร์จำนวนมาก มีลิงป่า (ค่างแว่น) ชื่อว่า ไอ้น้อง มีอายุประมาณ 1 ปี ถึงปัจจุบัน ตามที่น้องปุ้มปุ้ย เรียกขาน ที่ในประเทศไทยคงเหลือน้อย หลงฝูงจากแม่ลิง ลงมาอาศัยอยู่กับชาวบ้าน แบบสนิท สนม กันอย่างคาคไม่ถึง เพื่อความอยู่รอด จนรักและผูกพัน ระหว่างชาวบ้าน กับ ลิงป่า
 
ต่อมาวันที่ 15 ธค. 2562 นายธีระพงษ์ ช่วยชู นายอำเภอขนอม จ.นครศรีธรรมราชได้มอบหมายให้ นายสุนทร ขนอม กำนันตำบลควนทอง นายไตรรงค์ ใจสบาย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนทองนายมานะ เพชรรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ ม.12 ต.ควนทอง ว่าที่ ร.ต.ธงชัย ใจสบาย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 10 ต.ควนทอง พร้อม เจ้าหน้าที่ นายพีระชัย คงแก้ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดขนอมหมู่เกาะทะเลใต้ นายวินิต รัตนชู เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เข้าสำรวจพื้นที่เพื่อหาแนวทางป้องกันและรักษา ลิงป่าหรือค่างแว่นตัวดังกล่าว ที่บริเวณเขาบูโดหรือเขาช่องเนียง อยู่ในท้องที่ หมู่ 8,10และหมู่ 12 ต.ควนทอง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช 
 
โดยเมื่อคณะได้เดินทางพร้อมคณะ พบกับ น.ส.พรพรรณ พลูกลับ ชื่อเล่น (น้องปุ้มปุ้ย) อายุ 30 ปี บ้านเลขที่ 174/1 ม.12 ต.ควนทอง อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ชึ่งอาศัยอยู่กับ บิดา มารดา เล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณเดือนมีนาคม2562ตนได้เจอลูกลิงป่า (ค่างแว่น) นั่งอยู่บนต้นไม้ บริเวณริมภูเขา บูโดหรือภูเขาช่องเนียง บนภูเขาสูงใหญ่ บนเนื้อที่ 3 หมู่บ้าน บ้านนานนท์ บ้านเขาหัวช้าง บ้านคลองวัง ใกล้กับสวนยางพาราของตน มองไปเห็นลูกลิง มีสภาพที่อิดโรย หิวโซ เพราะช่วงนั้นเป็นฤดูแล้ง ลูกลิงได้โหนไต่ต้นไม้ที่อยู่ตามธรรมชาติ และติดตามตนเองตลอดเวลา 
 
ปกติตนเอง เป็นคนนิสัยชอบอนุรักษ์สัตว์ป่า รักแมว รักสุนัข กลับมาบ้านเปิดดูหาข้อมูล เพื่อศึกษาชีวิตของลิงป่าหรือค่างแว่น การใช้ชีวิต และกินอาหาร หลังจากนั้น ตนเองก็นำปลีกล้วยป่า มะเขือ กล้วยน้ำหว้าสุก หรือผลไม้ที่รสฝาด นำไปให้ (ไอ้น้อง) ลิงป่า ด้วยความที่ไม่คุ้นเคย ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยตั้งอาหารเอาไว้ให้ เจ้าลิงก็มากิน แล้วก็เข้าป่าไป พอถึงเวลา ที่ตนเองมากรีดยาง เจ้าลิงก็จะโหนต้นยางพาราออกมาตามตลอด และเริ่มสนิทกัน ตนเองจะตะโกนเรียก ไอ้น้อง พร้อม ตบมือ ไอ้น้องก็จะมาทันทีจากบนภูเขา เพื่อกินอาหาร บางครั้ง ไอ้น้องก็จะเดินตาม ไปบนถนนดินด้วย ลงไปถึงบ้านที่ตนอาศัยอยู่ เป็นระยะทาง 2-3กิโลเมตร แต่ที่บ้านมีสุนัข หลายตัว ลิงจึงไม่กล้าเข้า บางครั้งลูกลิงก็หยอกล้อกับสุนัขที่บ้าน ไม่ดุร้าย 
 
เมื่อลูกลิงจะกลับตนก็จะขึ้นไปส่งด้วยความเป็นห่วงทุกครั่งที่ตามมา ตลอดระยะเวลา 9 เดือน ที่ผ่านมาเป็นประจำ ไอ้น้องจะมีความสนิทมากขึ้นไม่กลัวผู้คน ชาวบ้านละแวกนั้น จนชาวบ้านเริ่มเป็นห่วง ในความปลอดภัย จึงได้ประสานผู้ใหญ่บ้าน และจนท.ป่าไม้ให้ช่วยเข้ามาดูแล และประชาสัมพันธ์ กับชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง ช่วยกันดูแลอย่าทำร้าย ไอ้น้อง เพราะในพื้นที่ดังกล่าว ปกติเป็นพื้นที่อนุรักษ์ห้ามล่าสัตว์ อย่างเด็ดขาด บนภูเขาบูโดหรือเขาช่องเนียง มีฝูงลิงป่าหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะฝูงค่างแว่น มีอยู่ประมาณ 30 ตัว ลงมาด้านล่างบ่อย แต่ไม่เคยทำร้าย ทรัพย์สินของชาวสวนเลย ตนเองอยากขอวิงวอน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาดูแลติดสัญญาณหรือฝังชิปเพื่อจะได้ติดตาม วิจัย การใช้ชีวิตของฝูงลิงป่า ป้องกันการล่า รักษาระบบนิเวศน์คนกับป่า สัตว์ป่าอยู่ร่วมกันได้ โดยไอ้น้อง เป็นแบบอย่าง ที่ชาวบ้าน มีความสนิท มีความคุ้นเคย ช่วยหาเหาตามประสาลิงเด็กน้อย เวลานอนไอ้น้องก็จะขึ้นภูเขาหรือ ในขนำในสวนยางพารา ตามต้นไม้ของชาวสวนในละแวกนั้น เป็นอย่างดี 
 
ในโอกาสนี้ นายบัญญัติ ใจสบาย อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ กองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้าขนอม ได้เดินทางมาดู ด้วยตนเอง และมอบเงินส่วนตัวให้แก่ผู้ใหญ่บ้าน เป็นเงินจำนวน 1000บาทเพื่อจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ อนุรักษ์สัตว์ป่าบนภูเขาบูโด หรือ เขาช่องเนียง หลายๆพื้นที่ ในตำบลควนทอง ต่อไป
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับค่างแว่นถิ่นใต้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachypithecus obscurus) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกค่างลักษณะทั่วไปคล้ายค่างแว่นถิ่นเหนือ (T. phayrei) คือมีวงกลมสีขาวรอบตาเหมือนกับใส่แว่นอันเป็นที่มาของชื่อมีขนาดของลำตัวยาว 45-57 เซนติเมตรหางยาว 66-78 เซนติเมตรมีน้ำหนัก 6-9 กิโลกรัมค่างโตเต็มวัยมีขนบริเวณด้านหลังสีเทาเข้มเกือบดำขนบริเวณด้านข้างใบหน้าบริเวณปลายมือและปลายเท้ามีสีเทาเข้มโคนขาและโคนแขนด้านนอกเป็นสีเทาจางลักษณะสำคัญที่ใช้จำแนกค่างชนิดนี้คือสีขนหางสีดำลูกที่เกิดใหม่สีขนจะเป็นสีทอง
 
อาศัยอยู่ตามป่าเขาหินปูนที่มีโขดหินสูงชันนอกจากนี้ยังอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบหรือสวนยางพาราพบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า, ไทย, มาเลเซียในประเทศพม่าพบบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปทางใต้นอกจากนี้ยังพบตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศมาเลเซียเช่นเกาะลังกาวีเกาะปีนังส่วนในประเทศไทยพบได้ที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดและเขาล้อมหมวกใกล้กับอ่าวมะนาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, อุทยานแห่งชาติตะรุเตาและอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราจังหวัดสตูล, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงจังหวัดสุราษฎร์ธานี, วัดถ้ำเขาพลูอำเภอปะทิวจังหวัดชุมพรเป็นต้น
 
พฤติกรรม มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่มีสมาชิกประมาณ 4-30 ตัวสามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลายประเภทตั้งแต่เทือกเขาสูงจนถึงชายป่าที่ติดริมทะเลโดยมักเข้าไปอาศัยในป่าที่มีต้นไม้สูงกินอาหามากถึงวันละ 2 กิโลกรัมเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับมนุษย์มากนักมักขี้อายและจะหลบหนีเมื่อพบกับมนุษย์ในขณะที่ออกหากินเป็นฝูงจะมีอยู่ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เฝ้าคอยระวังภัยโดยนั่งดูเหตุการณ์บนต้นไม้เงียบ ๆ ค่างแว่นถิ่นใต้ที่อาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ของไทยจะมีระยะเวลาออกลูกประมาณเดือนมกราคม-มีนาคมใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 140-150 วัน

หน้าแรก » ภูมิภาค