วันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 22:32 น.

ภูมิภาค

ชาวทับพริกบวงสรวงวางศิลาฤกษ์ศาลตาปู่ทองดำสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นสิริมล

วันอาทิตย์ ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563, 21.08 น.
เมื่อเวลา 09.9.น.วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ณ บริเวณข้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับพริก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว เขต 3 เป็นประธานในพิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์ศาลตาปู่ทองดำ โดยมี จ.ส.อ.ไชโย ขนบบวรกุล รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว นายวิชิต คำไกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับพริก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลทับพริก ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปร่วมพิธีในครั้ง
 
ปู่ทองดำเป็นทหารสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่ทราบถิ่นกำเนิดว่าอยู่ ณ ที่ใด ในครั้งราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ
 
เนื่องจากศาลตาปู่ทองดำตั้งอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านทับพริก หมู่ 2 ต.ทับพริก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว  โดยเฉพาะตาปู่ทองดำชาวบ้านจึงเรียกชื่อศาลนี้ว่า"ศาลตาปู่ทองดำมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของตาปู่ทองดำ บางครั้งมีการแสดงอิทธิฤทธิ์ให้ชาวบ้านแถวนี้พบเห็นอยู่เป็นประจำของชาวทับพริกปาฏิหาริย์ สมัยมีการสู่รบของเขมร 3 ฝ่าย เนื่องจากบ้านทับพริกอยู่ติดกับเขตแดนไทย-กัมพูชามีลูกกระสุนปืนใหญ่ยิงเข้ามาตกในหมู่บ้านทับพริกประมาณหลายลูกแต่แตกจึงทำให้ชาวทับพริกเคารพนับถือมาโดยตลอด หรือสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านหายไปตามหาเท่าไรก็ไม่เจอแต่ชาวบ้านจุดธูปบอกตาปู่ทองดำแล้วก็เดินหาสัตว์เลี้ยงที่หายก็เจอใกล้ๆกับศาลตาปู่ เรื่องราวของศาลตาปู่ทองดำตอกย้ำความเชื่อของชาวบ้านตำบลทับพริก อ.อรัญประเทศ ให้เชื่อมั่นว่าตาปู่ทองดำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถเป็นที่พึ่งได้เมื่อเกิดความทุกข์ร้อน และถ้าใครดูหมิ่นจะได้รับผลร้าย จึงร่วมกันจัดงานเซ่นไหว้พร้อมกัน ในวันที่28 ธ.ค.ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน 2 ของทุกปีและได้จัด ให้เป็นประเพณีสืบทอดกันมาทุกปี การจัดงานจะจัด ๒ วันทุกครั้ง
 
เนื่องจากศาลตาปู่ทองดำสร้างมานานเก่าเสื่อมโทรมชาวบ้านตำบลทับพริกจึงได้ปรึกษากันสร้างศาลตาปู่ทองดำให้มั่นคงถาวรไว้คู่บ้านคู่เมืองสืบทอดถึงลูกหลานจึงได้เชิญอาจารย์ญาณ พิณสวย เป็นพราหมณ์พิธีบวงสรวง ตั้งศาล ยกเสาเอก และพิธีวางศิลาฤกษ์ในขณะกำลังจะประกอบพิธีบวงสรวงนั้นก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้นโดยเครื่องเสียงจะจัดเตรียมไว้ในงานเกิดดับหมดชาวบ้านจึงไปให้ยายแพง ทำกิจการ อายุ 80 ปี เป็นญาติผู้ใหญ่หมู่นี้ที่เคารพนับถือไปจุดธูปตาปู่ทองดำเครื่องสียงที่นำมาก็ใช้ได้ไม่เชื่ออย่าลบลู่บริเวณหน้าศาลตาปู่ทองดำ ซึ่งชาวบ้านจะเข้ามาร่วมจุดธูปอธิฐานกันเป็นจำนวนมากมาย เนื่องจากอยากได้รางวัลเลขต่าง และทุกคนมีความประสงค์นำเครื่องเช่นไหว้ถวายตาปู่ทองดำ
 
ยายแพง ทำกิจการ อายุ 80 ปี กล่าวว่า ชาวบ้านทำพิธีบวงสรวงตาปู่ทองดำ โดยจะมีพิธีบวงสรวงแต่เช้าเครื่องบวงสรวงจะประกอบไปด้วย หัวหมู ไก่ เหมือนกับพิธีบวงสรวงอื่นๆ โดยทั่วไป แต่สิ่งที่เพิ่มเติมในพิธีบวงสรวงที่ตาปู่ทองดำชื่นชอบมาก ต่อจากพิธีบวงสรวงจะเป็นพิธีพระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ดังกล่าวจะมีผู้ที่เคารพศรัทธาตาปู่ทองดำจากทั่วทุกสารทิศ เป็นจำนวนมากที่มีการกล่าวขานกันว่าตาปู่ทองดำเป็นเอกของพระนเรศวนที่สู่รบชนะพม่ามาแล้วในอดีตที่ผ่านมา
 
นายวิชิต คำไกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับพริก กล่าวว่า ได้เชิญท่าน สุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว เขต 3 เป็นประธานในพิธีบวงสรวงตาปู่ทองดำ โดยนำพานข้าวตอกดอกไม้และผลไม้ 9 ชนิด พร้อมด้วยของไว้บูชาอื่น ๆ จำนวนมาก นอกจากนี้ภายในงานยังมีในวันนี้ คึกคักไปด้วยผู้คนและชาวบ้านจำนวนมาก ทั้งนี้เชื่อว่าการได้ร่วมกันบูชาตาปู่ทองดำจะเป็นสิ่งคุ้มครองชาวตำบลทับพริกให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขสืบไป
 
นายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว เขต 3 กล่าวว่ามีความชื่นชมชาวตำบลทับพริกที่มีความสามัคคีกันจัดพิธีกรรมในสมัยโบราณ นิยมกระทำตามความเชื่อ โดยมีความเชื่อว่า หากกระทำถูกต้องแล้วจะนำความสุขและความเป็นสิริมงคลมาให้แก่ตนเอง ครอบครัว และวงศ์ตระกูลปัจจุบันยังคงยึดถือสืบทอดต่อ ๆ กันมา เป็นการรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย และเป็นการเชื่อมโยงในเรื่องความเชื่อของคนในชาติที่มีความหลากหลายผสมผสานกัน พิธีกรรมที่คนไทยยึดถือปฏิบัติในโอกาต่าง ๆ นั้น บางอย่างเป็นความเชื่อดั้งเดิม ของท้องถิ่น บางอย่างเป็นความเชื่อเนื่องมาจากหลักปฏิบัติทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูหรือศาสนาอื่น ๆ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เห็นความสำคัญของพิธีกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริม สืบทอด เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติงานพิธีขึ้น เพื่อสร้างและส่งเสริมให้ผู้ประกอบพิธี มีความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมและประเพณีโบราณที่ถูกต้อง เป็นที่นิยมหรือมีความเชื่อสืบทอดต่อไป

หน้าแรก » ภูมิภาค