วันพฤหัสบดี ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 13:35 น.

ภูมิภาค

อำนาจเจริญ จัดเทศกาลแห่ยักษ์คุ บูมแหล่งท่องเที่ยวริมโขง กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน

วันพฤหัสบดี ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 14.51 น.
อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (สปป.ลาว) ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทางการเกษตร ด้วยการทำนาปลูกข้าวปีละ 1 ครั้ง เรียกว่า นาปี ทว่า บางคน มีที่นาติดแหล่งน้ำ ซึ่งมีน้ำตลอดปี จะทำนาปีละ 2 ครั้ง ที่สำคัญ เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาปลูกข้าว จะมีการจัดงานบุญประเพณี เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ หลังเหน็ดเหนื่อยจากการทำนาปลูกข้าวมาหลายเดือน 
 
สำหรับ เทศกาลแห่ยักษ์คุ ชานุมาน หนึ่งในงานบุญประเพณี ซึ่ง ชาวชานุมาน จัดขึ้นทุกปี โดยความร่วมมือหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ พ่อค้า ประชาชน ห้างร้าน บริษัท โดยมีการ จัดงานแห่ยักษ์คุ ชานุมานก่อนเทศกาลสงกรานต์ เดือนเมษายน เป็นประจำทุกปี ณ.บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ เพื่ออนุรักษ์ประเพณีโบราณ ที่มีมากว่า 100 ปี รวมถึงส่งเสริมากรท่องเที่ยว สร้างความสามัคคีปรองดองในชุมชนและสร้างรายได้แก่ชุมชนอีกด้วย
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนเมษายน 63  ที่ผ่านมา อยู่ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัศโคโรนา 2019(COVID 19) จึงต้องยกเลิกการจัดงานแห่ยักษ์คุ เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019(COVID 19) ภายในประเทศลดลงและไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 มาร่วม 2 เดือนแล้ว ประกอบกับ มีการผ่อนคลาย เปิดให้มีการท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆมากขึ้น โดยการท่องเที่ยวแบบชีวิตวิถีใหม่(NEWNORMAL) เช่น คัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยครั้ง เว้นระยะห่างทางสังคม ฯลฯ อย่างเคร่งครัด และที่สำคัญ รัฐบาล สนับสนุน ส่งเสริม ให้ประชาชน เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ภายใต้โครงการ  “ เราเที่ยวด้วยกัน “  เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้มีการใช้จ่าย เงินสะพัดทั่วประเทศ
 
ซึ่ง จังหวัดอำนาจเจริญ ตระหนักถึงปัญหา การระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้หลายคนขาดรายได้ ไม่มีงานทำ จึงได้มีการประชาสัมพันธ์ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ในพื้นที่ ชายแดนแม่น้ำโขง เพื่อให้ผู้คนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ หวังโกยเงินเข้าชุมชน เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว จึงจัดให้มี แถลงข่าว อัตลักษณ์ หมอลำ ตำนานยักษ์คุ ขึ้น ที่บริเวณศาลาริมน้ำ เทศบาลตำบลชานมุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ โดยมี นายธนูสินธ์ ไชนสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานแถลงข่าว ประชาสัมพันธ์ อัตลักษณ์หมอลำ ตำนานยักษ์คุ ภายใต้โครงการเทศกาลศิลปร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง
 
โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย พระมหาทินกร อิสสโร เจ้าคณะอำเภอชานุมาน ในหัวข้อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา วิถีวัฒนธรรมชาวชานุมาน ที่สัมพันธ์กับตำนานยักษ์คุ นางสาววาสนา ไชยคำ วัฒนธรรมจังหวัดอำนาจเจริญ ในหัวข้อ โครงการศิลปร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง และกิจกรรมผลิตสื่ออัตลักษณ์หมอลำ ตำนานยักษ์คุ นายสกนธ์ บุญวิทย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดอำนาจเจริญ ในหัวข้อ การส่งเสริมให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และผู้แทนนายอำเภอชานุมาน ในหัวข้อ การจัดเทศกาล ประเพณีแห่ยักษ์คุอำเภอชานุมาน โดยผู้เข้าร่วมงาน แต่งกายชุดพื้นเมืองชานุมาน พร้อมกับมีการแต่งหน้ายักษ์ให้เข้ากับบรรยากาศด้วย
 
สำหรับจังหวัดอำนาจเจริญ มีพรมแดนติดฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) โดยมีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนขวางกั้น  ด้านอำเภอชานุมาน  มีอารยะธรรมวิถีชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และมีความเชื่อตำนานเรื่องเล่าที่คล้ายกันผ่านมุมมองของศิลปวัฒนธรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง เป็นการสานประโยชน์และสานสัมพันธ์ร่วมกัน โดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรม ที่หลากหลาย นำมาซึ่งการประยุกต์ ต่อยอดและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงสร้างสรรค์เกิดคุณค่าทางจิตใจ เกิดตระหนักรู้ของคนในชาติและภูมิภาคอาเซียน พร้อมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากมนต์เสน่ห์ดึงดูดในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการใช้สินค้าหรือบริการของไทย นำไปสู่ความเข้าแข้ง ยั่งยืน
 
โครงการเทศกาลศิลปร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง (ยักษ์คุจังหวัดอำนาจเจริญ) บูรณาการร่วมกับประเพณีชุมชนท้องถิ่นที่จัดขึ้นทุกปี โดยมีประชาชนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีเป็นประจำทุกปี
 
โดยจังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่พรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ สามารถไปมาหาสู่และร่วมกิจกรรมระหว่างสองฝั่งโขงได้ตามปกติ งานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จึงเป็นกิจกรรมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อกลางสร้างมิตรภาพ เชื่อความสัมพันธ์ ความเข้าใจอันดีในทุกระดับและถือเป็นต้นทุนสำคัญในการสร้างรายได้และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย และประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขงรวมถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียนให้เป็นที่ประจักษ์สายตาสู่ระดับนานาชาติต่อไป
 
สำหรับ ตำนานยักษ์คุ อำนาจเจริญ  จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่มาหลายชั่วอายุคน นับเป็นเวลากว่า 100 ปี ของคำว่า ยักษ์คุ หรือ ยักษ์คุกเข่า นั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจในความสอดคล้องของเรื่องราว ท่าสีดา บ้านนาสีดา( ปัจจุบันเป็นท่าเรือข้ามแม่น้ำโขง ไป สปป.ลาว ) ซึ่งนางสีดาแต่งกายรอพระลักษณ์ พระราม เพื่อเดินทางไปด้วยกัน และมียักษ์คุกเข่ารออยู่ด้วย  โดยมีหลักฐานซากสลัก หักพัง ของปราสาทโบราณ “เฮือนหิน” เป็นสิ่งยืนยันเหลือไว้เป็นตำนาน ชีวิตวิถีเรียบง่าย ตามแบบของคนลุ่มน้ำโขงนั่นเอง.

หน้าแรก » ภูมิภาค