วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 12:44 น.

ภูมิภาค

เกษตรกร ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลขอผ่อนผันแรงงานต่างด้าวตัดอ้อย

วันอังคาร ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 19.43 น.
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 25 ส.ค.63 ณ สำนักงานประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นายบำรุง ล้อเจริญวัฒนชัย ประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว ให้ต้อนรับ นายมนตรี คำพล นายกสมาคมเกษตรกร ชายแดนบูรพา พร้อมคณะมายืนเพื่อผ่านไปยังรัฐบาลขอความอนุเคราะห์ผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าวเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานตัดอ้อยในฤดูกาลที่จะมาถึงนี้
 
นายมนตรี คำพล นายกสมาคมเกษตรกร ชายแดนบูรพา เปิดเผยว่า ด้วยในขณะนี้เกษตรกรชาวไร่อ้อยในจังหวัดสระแก้ว ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานตัดอ้อยอย่างจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งกรมการจัดหางานมีคำสั่งถึงจัดหางานจังหวัดไม่ให้พิจารณาคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวทั้งการนำเข้าตาม MOU และการเข้ามาทำงานลักษณะไป- กลับหรือตามฤดูกาล ตามมาตรา ๖๔ ซึ่งในขณะนี้เข้าสู่ฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากไร่ข้าวโพด และตัดอ้อยแต่เกษตรกรไม่สมารถหาแรงานมาช่วยเก็บผลิตผลได้ เนื่องจากคำสั่งดังกล่าว ไม่สามารถหาแรงงานคนไทยได้เนื่องจางดังกล่าวเป็นงานหนัก และในขณะนี้เข้าสู่ฤดูการตัดอ้อย หากเกษตรกรไม่สามารถหาแรงงานได้จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวโพดและไรอ้อยของเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ซึ่งในจังหวัดสระแก้วมีเกษตรกรปลูกข้าวโพดประมาณ 50,000 ไร่ และอ้อยประมาณ 300,000 ไร่ จะถึงฤดูการเปิดหีบอ้อยใน ระหว่างเดือนธันวาคม - มีนาคมของปีถัดไปสมาคมเกษตรกร ชายแดนบูรพาในฐนะหน่วยงานซึ่งดูแลพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อย จึงขอความอนุเคราะห์จากท่านในการนำเรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกร พิจารณาหาทางช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการขาตแคลนแรงงนหรือผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานได้ โดยสมาคมฯ มีมาตรการระวัง ป้องกันการแหรระบาดขอไวรัสโควิด 19 โดยจะให้กักตัวแรงงานเป็นเวลา 14 วัน และตรวจโรคก่อนเข้าประเทศไทยใช้โรงพยาบาลที่ได้รับรับรองตามมาตรการของรัฐ และเกษตรจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และหาสถานที่กักตัวในการดูแลแรงงานของตัวเอง ทั้งนี้ได้สอบถามไปยังกระทรวงแรงงานแล้ว แต่ไม่ได้รับความคืบหนแต่ประการใด
 
นายบำรุง ล้อเจริญวัฒนชัย ประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ได้หนังสือขอความอนุเคราะห์พื้นที่จังหวัดสระแก้ว ถือเป็นพื้นที่มีการปลูกอ้อยมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศ และแรงงานที่เข้ามาตัดอ้อยตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว สมัครใจมาทำงานด้วยค่าจ้างที่สูงขึ้น เนื่องด้วยภาครัฐขอความร่วมมือ ในการตัดอ้อยสด ส่งโรงงานน้ำตาล ลดการเผา สร้างความยากลำบากในการตัดมากขึ้น แต่แค่แรงงานก็สูงขึ้นเป็นแรงจูงใจให้เข้ามาทำงานมากขึ้น แม้จะฟังไม่เข้าใจ แต่เชื่อว่า เป็นเสียงเรียกให้มากินข้าวเที่ยง ของกลุ่มแรงงานชาวกัมพูชากลุ่มนี้ ที่เดินทางมาจากละแวกบ้านใกล้เคียงกัน เพื่อมาเป็นคนงานตัดอ้อย ในช่วงฤดูหีบอ้อยของทุกปี ที่มีช่วงเวลาไม่นานนัก ที่เป้าหมายเดียวกันของแรงงานเหล่านี้ คือการเก็บเงิน เพื่อส่งกลับทางบ้าน ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ในช่วงระยะเวลา ไม่เกิน 4 เดือน การกินอยู่ประหยัด จึงถือเป็นหัวใจสำคัญ 

หน้าแรก » ภูมิภาค