ภูมิภาค
เปลี่ยนฤดูกาล "วันศารทวิษุวัต" กลางวันยาวเท่ากลางคืน 22 ก.ย.นี้
วันศุกร์ ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563, 20.43 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 22 กันยายน 2563 เป็นวัน “ศารทวิษุวัต” ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตกพอดี ทำให้ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้
นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า วันที่ 22 กันยายนนี้ เป็นวัน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน คำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ซึ่งตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า "จุดราตรีเสมอภาค" โดยวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งต่อปี คือในช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)
.jpg)
ในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ดวงอาทิตย์ค่อยๆ เคลื่อนที่จากจุดเหนือสุดลงมาทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06:07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:14 น. นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้ จากนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนลงทางใต้เรื่อย ๆ จนดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ในวันที่ 22 ธันวาคม 2563 จากนั้นจะค่อยๆ เคลื่อนกลับทางเหนืออีกครั้ง
.jpg)
นายศุภฤกษ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ในหนึ่งปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี โลกจึงมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ช่วงใกล้ที่สุดประมาณต้นเดือนมกราคม (147 ล้านกิโลเมตร) และช่วงไกลที่สุดประมาณต้นเดือนกรกฎาคม (ระยะห่างเฉลี่ย 152 ล้านกิโลเมตร) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางใกล้-ไกล ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ถือเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก ไม่ส่งผลต่อการเกิดฤดูกาลแต่อย่างใด แต่การที่แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงรับแสงอาทิตย์ได้ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก จะสังเกตได้ว่า ในฤดูร้อน เวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า ส่วนในฤดูหนาว เวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว
ปรากฏการณ์ต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ของดวงอาทิตย์ คือ “วันเหมายัน” (Winter Solstice) ในวันที่ 21 ธันวาคม 2563 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” สำหรับประเทศทางซีกโลกเหนือ นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้ ช่วงกลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » ภูมิภาค
Top 5 ข่าวภูมิภาค
![]()
- ฝนถล่มทั่วไทย! เหนือ-อีสานอ่วม เสี่ยงท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก 12 ก.ค. 2568
- บุรีรัมย์กวาดรถซิ่ง 43 คัน ผู้การฯเตือนแข่งต้องอยู่ในสนาม 12 ก.ค. 2568
- “อุ๊งอิ๊ง”เปิดงานแห่เทียนโคราช วัดใหม่สระประทุมซิวแชมป์ 3 ปีซ้อน 12 ก.ค. 2568
- ช่วยเหลือผู้ยากไร้ "พระเยี่ยมโยม" โครงการดีๆ ที่สวรรคโลก 12 ก.ค. 2568
- จับหนุ่มขโมยจยย.กลางป่า อ้างไม่ได้อยากได้คันนี้ แค่เอาไปต่อทุนหารถตามใบสั่ง 12 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดภูมิภาค
![]()
“ปู่เดือนชัย” สับ! พระมีเมียไม่ใช่เรื่องใหม่ แนะสึกดีกว่าทำเสื่อม 21:55 น.
- โจรบุกวัดฉกตู้บริจาค ทิ้งไว้แค่หมวกไอ้โม่ง! 21:16 น.
- พะเยา คณะสงฆ์แห่เครื่องสักการะกลางเมืองถวายมุทิตา 90 ปี พระเทพญาณเวที 20:53 น.
- หยุดยาว! นนท.ทั่วสารทิศ ขอพรโชคลาภปู่ท้าวเวชสุวรรณแน่นวัดประทุมบูชา เผยงวดที่ผ่านมามีคนถูกรางวัลที่ 1 20:05 น.
- บุรีรัมย์กวาดรถซิ่ง 43 คัน ผู้การฯเตือนแข่งต้องอยู่ในสนาม 19:14 น.