วันศุกร์ ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 05:18 น.

ภูมิภาค

กฟภ.เปิดจ่ายระบบไฟฟ้าใต้ดิน “โคราชมหานครไร้สาย”

วันศุกร์ ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563, 19.35 น.

นครราชสีมา วันนี้ (วันที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 18.00 น.) นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมด้วยนายจรัสชัย โคเรืองสกุล รอง ผวจ.นครราชสีมาร่วมเป็นประธานเปิดจ่ายระบบไฟฟ้าใต้ดิน “โคราช มหานครไร้สาย” บริเวณถนนราชดำเนิน เขตเทศบาลนคนครราชสีมา ช่วงที่ 1 ตามโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ ระยะที่ 1 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา, พล.ต.ต.สุจินต์ นิจพานิชย์ ผบก.ภ.นครราชสีมา และนายกิติพงศ์ พงศ์สุรเวศ ส.จ.นครราชสีมา ร่วมเปิดงาน มีนายณัฐวรรธน์ อัครรุ่งเรืองกุล ผอ.กฟภ.เขต 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จ.นครราชสีมากล่าวรายงาน โดยได้กราบสักการะ ถวายพวงมาลัยดอกดาวเรืองบูชาอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เพื่อความเป็นสิริมงคล มีภาคเอกชนลูกค้ารายใหญ่ร่วมงานจำนวนมาก อาทิ ผู้แทนห้างบิ๊กซึ ซุปเปร์มาร์เก็ต , ผู้แทนศูนย์การค้าเดอะมอล์  กรุ๊ป เป็นต้น นอกจากนี้ได้ร่วมกันทำการถอนเสาไฟฟ้าต้นสุดท้ายบนถนนราชดำเนิน บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อไฟ

 

 

ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 60 ปี ของการดำเนินงาน  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้มุ่งมั่นพัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง PEA จัดทำโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ ระยะที่ 1 ก่อสร้าง ปรับปรุงระบบไฟฟ้า พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในพื้นที่ 4 เมือง ประกอบด้วย เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครนครราชสีมา เมืองพัทยา และเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยในเทศบาลนครนครราชสีมา PEA เริ่มนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินเมื่อเดือนกันยายน 2562 บนถนน 21 สายในพื้นที่เทศบาลนครนครราชสีมา รวมระยะทาง 17.37 กิโลเมตร ช่วงที่ 1 บริเวณถนนชุมพล  ถนนราชดำเนิน (รอบอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี) ถนนสุรนารี ถนนบุรินทร์ ถนนพิบูลละเอียด ถนนจอมสุรางค์ยาตร์และถนนโพธิ์กลาง แล้วเสร็จเดือนกันยายน 2563

 

 

สำหรับงานก่อสร้างส่วนที่เหลือ PEA จะทยอยดำเนินการรื้อถอนสายไฟฟ้า สายสื่อสารโทรคมนาคม และเสาไฟฟ้า ที่อยู่เหนือพื้นดินออก ในช่วงที่ 2 (ถนนราชสีมา-โชคชัย ถนนพลแสน ถนนไชยณรงค์ ถนนราชนิกูล) และช่วงที่ 3 (บริเวณถนนจักรี ถนนมนัส ถนนยมราช ถนนอัษฎางค์ ถนนจอมพล ถนนมหาดไทย ถนนสรรพสิทธิ์ ถนนกำแหงสงคราม) ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับจากภัยธรรมชาติและอุบัติภัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเสียหายและอันตราย ปรับปรุงให้มีทัศนียภาพสวยงาม เพิ่มความน่าเชื่อถือและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสู่สายตาชาวต่างชาติ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาอย่างยั่งยืน ส่วนการดำเนินการก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน PEA ได้รับความร่วมมือจากจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา ตำรวจภูธรเมืองนครราชสีมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และผู้ประกอบการสายสื่อสารโทรคมนาคมในพื้นที่ เพื่อมุ่งสู่การเป็น “โคราช มหานครไร้สาย”

 

 

นายสมพงษ์ ปรีเปรม ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุน 2,400 ล้านบาท จ.นครราชสีมาเป็นเมืองสำคัญ 1 ใน 4 หัวเมืองใหญ่ เคเบิ้ลใต้ดินระยะทาง 14 กม. 21 เส้นทาง ขณะนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วในเส้นทางถนนราชดำเนินเส้นแรกจึงมีการเปิดใช้กระแสไฟฟ้า และถอนเสาไฟฟ้าต้นสุดท้ายที่ตั้งอยู่ห้างศาลเจ้าพ่อไฟ โครงการนี้จุดเด่นคือโอกาสที่จะเกิดไฟดับน้อยลง มีความปลอดภัย สภาพบ้านเรือนมีความสวยงามขึ้น ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงและปลอดภัยขึ้น ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ต้องห่วงเรื่องอุบัติเหตุวิ่งชนเสาไฟฟ้าจนทำให้มีสายสื่อสารขาดโดนชาวบ้านหรือทรัพย์สิน จ.นครราชสีมาถือว่าทำเคเบิ้ลใต้ดินมากที่สุดเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ซึ่งตอนนี้เราทำไปแล้วทั้งหมด 17 จังหวัด และกำลังมีโครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติของกระทรวงมหาดไทยที่จะทำให้ทั้ง 74 จังหวัดในส่วนรับผิดชอบ กฟภ.มีถนนที่เป็นถนนหลักของเมืองเปนที่เชิดหน้าชูตาระยะทางสั้น 1-2 กม.โดยไม่มีเสาไฟฟ้าเป็นเคเบิ้ลใต้ดินทั้งหมดจะเสร็จใน 2-3 ปีนี้

 

 

“ผมฝากเรียนพี่น้องประชาชนว่าในช่วงก่อสร้างสายเคเบิลใต้ดินใช้เวลาในการทำงานนานและยากต่อการตัดเสาตัดสานปรกติ มีการขุดเจาะพื้นถนนวางท่อเคเบิ้ลใต้ดินและมีการกรัดขวางการจราจรบ้างอาจจะทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่สะดวก กฟภ.ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ซึ่งเราจะทำเคเบิ้ลใต้ดินนี้ให้เร็วที่สุด และเมื่อเสร็จแล้วก็จะกลับคืนผิวถนนเรียบ บ้านเมืองก็จะน่าอยู่ขึ้นมาก ผมยืนยันว่าโครงการนี้คุ้มค่ากับการลงทุนแน่นอน และเราจะมองแค่เงินลงทุนอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องมองในแง่ของความรู้สึกของคนในชุมชนนั้นๆ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น พัทยาคนไปท่องเที่ยวและถ่ายรูปและอัพโหลดสื่อสารไปทั่วโลก เช่นเดียวกับ จ.นครราชสีมาเช่นเดียวกัน พื้นที่ลานย่าโม อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีก็จะเป็นที่ถ่ายภาพ เซลฟี่มากขึ้น เรามองมิติของสังคมอื่นๆด้วย  “

หน้าแรก » ภูมิภาค